นายซิลาสมาให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ Yle ว่า "เว้นเสียแต่ว่าเราจะสร้างอะไรที่เป็นการปฏิวัติวงการจริงๆ" เขากล่าวเสริม พร้อมกับระบุว่าตนยังไม่พบอะไรเช่นนั้นในขณะนี้ อย่างไรก็ดี โนเกียอาจให้สิทธิ์ในแบรนด์แก่บริษัทผู้ผลิตต่างๆ"
เมื่อวานนี้ถือเป็นวันแรกที่นิว โนเกียเริ่มดำเนินงาน หลังบริษัทฮุบกิจการของบริษัทอัลคาเทล-ลูเซน ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่งสัญชาติฝรั่งเศส-อเมริกัน
สำหรับพนักงานทั้งหมด 113,000 คนของบริษัทอยู่ในภูมิภาคเอเชียหรือแปซิฟิก 37.5% และอยู่ในยุโรป 36.5%
สำหรับอเมริกาเหนือจะเป็นทวีปที่สำคัญที่สุดของบริษัทในแง่รายได้
ทั้งนี้ พนักงาน 1 ใน 3 ของโนเกียทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการวิจัยและพัฒนา โดยมีงบประมาณด้านนวัตกรรม 4.2 พันล้านยูโร ขณะที่ Yle รายงานว่า หัวเว่ยและซิสโก ซึ่งเป็นคู่แข่งรายใหญ่ของโนเกีย ลงทุนในด้านการพัฒนามากขึ้น
ขณะเดียวกัน นายซิลาสมาย้ำว่าบริษัทประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านจิตใจภายในองค์กรแล้ว โดยเขาได้ส่งเสริมความรู้สึกความเป็นเจ้าของในองค์กรนิว โนเกีย เขาระบุว่า แนวทางนี้จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ดำรงอยู่ได้
ซิลาสมาระบุถึงครั้งบริษัทรวมกิจการกับซีเมนส์และเกิดปัญหาว่า "นั่นเป็นเรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องความพยายามที่จะเพิ่มมูลค่าบริษัท" ประธานโนเกียระบุว่าโนเกียได้รับบทเรียนแล้ว
ขณะที่ประธานโนเกียพูดถึงระยะสุดท้ายที่สุดสาหัสของบริษัทโนเกียเดิมว่า การหารือกับไมโครซอฟท์เกี่ยวกับธุรกิจมือถือเป็นเรื่องที่ยากและเจ็บปวดอยู่หลายครั้ง สำนักข่าวซินหัวรายงาน