มติดังกล่าวต้องการให้มีการระบุเงื่อนไขของการใช้กำลังทางทหารเป็นมาตรการลงโทษหากนายบาชาร์ อัล-อัสซาด ประธานาธิบดีซีเรีย ไม่ทำตามข้อตกลงในการเปิดเผยข้อมูลคลังอาวุธเคมี
อย่างไรก็ตามหลังจากการประชุมของ 5 ประเทศสมาชิกถาวรแห่งคณะมนตรีความมั่นคงที่มีอำนาจในการคัดค้าน ซึ่งจัดขึ้นเป็นระยะเวลาสองวันเพื่อหารือเกี่ยวกับร่างมติที่ฝรั่งเศส สหรั ฐและอังกฤษได้เสนอขึ้นนั้น ทางรัสเซียและจีนต่างแสดงความเห็นสวนทางกัน โดยทั้งสองประเทศต่างถกเถียงว่ามาตรการดังกล่าวจะถูกใช้เป็นการขมขู่เพื่อใช้กำลังทางทหารหรือไม่ อีกทั้งรัฐบาลซีเรียจะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการในเหตุโจมตีด้วยอาวุธเคมีหรือไม่
นักการทูตจากยูเอ็นรายหนึ่งเปิดเผยว่า สหรัฐ ฝรั่งเศส และอังกฤษหวังว่า คณะมนตรีบริหารขององค์การห้ามอาวุธเคมี ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบขั้นตอนการทำลายอาวุธเคมีของรัฐบาลซีเรีย จะอนุมัติกรอบการดำเนินงานที่เจนีวาในวันนี้ ซึ่งน่าจะทำให้คณะมนตรีความมั่นคงสามารถลงมติเป็นอันเสร็จสิ้นในวันที่ 22 ก.ย.นี้