นายหยาง ไค-ฮวง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยระหว่างช่องแคบ มหาวิทยาลัยหมิงฉวน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซินหัวว่า หากไม่มีฉันทามติ 1992 การพัฒนาความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ปี 2551 จะหยุดชะงัก
นายหยางกล่าวว่า ตลอดช่วงศึกเลือกตั้งครั้งนี้ นางไช่ยังคงมีท่าทีกำกวมเกี่ยวกับฉันทามติ 1992 และกล่าวว่า เธอควรทบทวนกลยุทธ์ด้านนี้ใหม่หลังชนะการเลือกตั้ง
เขากล่าวว่า ไต้หวันเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออก เนื่องจากไต้หวันมีตลาดในประเทศที่จำกัด และศักยภาพการแข่งขันก็น้อยลง โดยนายหยางเสริมว่า ตลาดจีนแผ่นดินใหญ่มีความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไต้หวัน
เฉา เฉียน-หมิน จากมหาวิทยาลัยวัฒนธรรมจีนกล่าวในงานสัมมนาเมื่อวันอาทิตย์ว่า นางไช่ให้สัญญาในระหว่างประกาศชัยชนะการเลือกตั้งว่าจะไม่ยั่วยุในประเด็นช่องแคบไต้หวัน อย่างไรก็ตาม เขาระบุว่าว่าการปฏิเสธฉันทามติ 1992 ก็มองเป็นการยั่วยุได้
ในระหว่างการหาเสียงหลายครั้ง นางไช่กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายควรได้ข้อสรุปเดียวกันและพักเรื่องความแตกต่างไว้ก่อน ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญในการหารือข้ามช่องแคบไต้หวันเมื่อปี 2535
เชา ชุน-ซาน ประธานมูลนิธิการศึกษาสันติภาพเอเชียแปซิฟิก เรียกร้องให้นางไช่อธิบายให้ชัดเจนที่เธอพูดว่า "สองฝ่ายควรหาข้อสรุปเดียวกันให้ได้ตอนนี้" และความแตกต่างอะไรบ้างที่ควรหยุดพักไว้ก่อน
นายเชาแนะนำว่า ไต้หวันไม่ควรปฏิเสธความเชื่อมโยงด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกับจีน และเตือนว่าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) จะจุดปะทุให้เกิดความไม่สงบ หากไม่การจัดการประเด็นระหว่างช่องแคบอย่างถูกต้อง
นายเชากล่าวว่า ทั้งที่พรรค DPP ควรจะกำหนดนโยบายระหว่างช่องแคบให้ชัดเจนระหว่างหาเสียง แต่พรรคก็เลี่ยงไม่ทำ
"ผู้ใช้สิทธิ์ไม่มีตัวเลือกที่สอง" เขากล่าว
ด้านหยัน อันหลิน รองผู้อำนวยการสถาบันเซี่ยงไฮ้ด้านวิเทศศึกษาเผยในงานสัมมนาเมื่อวันอาทิตย์ว่า ประเด็นเศรษฐกิจชะลอตัว ธรรมาภิบาล และความแตกต่างด้านฐานะที่เพิ่มขึ้นเป็นประเด็นหลักในการหาเสียงครั้งนี้ ขณะที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจาก 3 พรรค ได้ให้คำมั่นในการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างช่องแคบไต้หวันต่อไป สำนักข่าวซินหัวรายงาน