นางเจเน็ต เยลเลน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังสหรัฐคนใหม่ กล่าวต่อคณะกรรมาธิการด้านการเงินแห่งวุฒิสภาสหรัฐในระหว่างการรับฟังเพื่อยืนยันการแต่งตั้งว่า การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจาก 7.25 ดอลลาร์เป็น 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจมากกว่าผลร้าย
นางเยลเลนกล่าวว่า "ปัจจุบันมีแรงงานชาวอเมริกันหลายล้านคนที่กำลังทุ่มเทชีวิตของพวกเขาเพื่อให้ธุรกิจในชุมชนสามารถดำเนินต่อไปได้ และบางครั้งแม้จะมีงานหลายงานที่ต้องทำ แต่พวกเขาก็ยังคงไม่เงินเพียงพอสำหรับการจัดหาอาหารและที่พักอาศัยให้กับตัวของพวกเขาเอง"
นางเยลเลนระบุต่อไปว่า "การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะช่วยแรงงานได้เป็นจำนวนมาก ส่วนการสูญเสียงานที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากมีอะไรเกิดขึ้น"
ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐได้ลงนามในคำสั่งบริหาร 2 ฉบับในวันศุกร์ (22 ม.ค.) เพื่อเพิ่มความช่วยเหลือด้านอาหารให้กับชาวอเมริกันที่มีรายได้ต่ำ และเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้กับพนักงานของรัฐบาลกลางเป็น 15 ดอลลาร์สหรัฐ โดยพนักงานระดับดังกล่าวมีรายได้ประมาณ 15,000 ดอลลาร์ต่อปีหากพวกเขาทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
อย่างไรก็ตาม คำให้การของว่าที่รัฐมนตรีคลังสหรัฐ มีความย้อนแย้งกับงานวิจัยของคณะกรรมาธิการด้านการเงินแห่งวุฒิสภาสหรัฐที่ตีพิมพ์ออกมาในปี 2552 ซึ่งมีการระบุถึงผลกระทบของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น15 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมง
คณะกรรมาธิการคาดการณ์เอาไว้ในงานวิจัยว่า การปรับขึ้นค่าแรงจะเป็นการช่วยเหลือแรงงานมากถึง 17 ล้านคน แต่จากค่ามัธยฐานพบว่า การขึ้นค่าแรงเป็น 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงจะส่งผลให้แรงงาน 1.3 ต้องตกงานในปี 2568 แม้ผู้คนในจำนวนเท่าเดิมจะไม่ต้องใช้ชีวิตในระดับที่ต่ำกว่าความยากจนอีกต่อไป
งานวิจัยยังระบุด้วยว่า มีโอกาสถึง 2 ใน 3 ที่จะเกิดการสูญเสียงานสูงถึง 3.7 ล้านตำแหน่ง จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 15 ดอลลาร์