"หนังสือเหล่านี้สามารถพบเจอได้ตามร้านหนังสือเอกชน ซึ่งหากต้องการจะซื้อก็สามารถซื้อได้" นายลีกล่าวกับผู้สื่อข่าว หลังถูกถามถึงการนำหนังสือและสารคดีเกี่ยวกับการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินออกจากห้องสมุดสาธารณะ
"สิ่งที่ห้องสมุดต้องทำคือ ต้องไม่ให้มีการละเมิดกฎหมายใด ๆ ก็ตามของฮ่องกง รวมถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ และการเผยแพร่เนื้อหาประเภทใดก็ตามที่ขัดต่อผลประโยชน์ของฮ่องกง" นายลีกล่าว โดยไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ฮ่องกง ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษและส่งคืนกลับสู่การปกครองของจีนเมื่อปี 2540 นั้น ได้เคยให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้เสรีภาพในวงกว้าง แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ฮ่องกงได้จำกัดเสรีภาพส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่จีนบังคับใช้อย่างกว้างขวาง
ทางการจีนกล่าวว่า กฎหมายด้านความมั่นคงดังกล่าวได้สร้างเสถียรภาพ หลังจากการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งใหญ่เมื่อปี 2562
ทั้งนี้ อนุสรณ์สถานและการรำลึกถึงเหตุนองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ครั้งหนึ่งเคยได้รับอนุญาตให้มีขึ้นได้ในฮ่องกง แตกต่างจากในจีนแผ่นดินใหญ่ที่เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นประเด็นต้องห้ามและถูกเซนเซอร์
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทางการฮ่องกงได้สั่งห้ามกิจกรรมจุดเทียนรำลึกถึงเหตุการณ์เทียนอันเหมินในวันที่ 4 มิ.ย.ของทุกปี โดยอ้างว่าต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันโรคโควิด-19
ด้านหนังสือพิมพ์หมิงเป้าของฮ่องกงรายงานว่า มากกว่า 40% ของสื่อวิดีโอและหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ "ธีมการเมือง" ได้ถูกนำออกจากห้องสมุดสาธารณะมาแล้วตั้งแต่ปี 2563