อียูได้ออกมาแสดงความเห็นหลังจากพบผู้ติดเชื้ออีโบลารายที่ 2 ครั้งแรกในยุโรป ซึ่งได้รับการยืนยันเมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้เกิดความวิตกกังวลมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการแพร่เชื้ออีโบลาในยุโรป
ผู้ป่วยรายล่าสุดเป็นพยาบาลที่ดูแลรักษาผู้ป่วยอีโบลาซึ่งถูกส่งตัวกลับสเปนเพื่อเข้ารับการรักษา หลังจากติดเชื้อไวรัสในไลบีเรีย และเสียชีวิตลงในเวลาต่อมา
“กรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การนำตัวผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลากลับมารักษาในยุโรปนั้น ไม่ได้ช่วยกำจัดความเสี่ยงอย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งยุโรป (ECDC) พิจารณาแล้วว่า ความเสี่ยงในการระบาดของโรคอีโบลาจากผู้ป่วยที่เดินทางมากลับมารักษาตัวในยุโรปยังคงอยู่ในระดับต่ำ"
ลินดา แม็คเอแวน ประธานคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาแห่งสภายุโรประบุว่า การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสอีโบลาในประเทศที่เป็นแหล่งแพร่ระบาดใหญ่อาจมีสาเหตุหลักมาจากความยากจน และการรักษาที่ไม่ทั่วถึง
นางแม็คเอแวนกล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันในยุโรปว่า “เราสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรที่เหนือกว่าประเทศแอฟริกาตะวันตกเหล่านั้นอยู่มาก"
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การแพร่ระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกในปัจจุบันนับเป็นการระบาดที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า ได้รับรายงานผู้ติดเชื้อมากกว่า 8,399 ราย ซึ่งรวมถึงผู้เสียชีวิต 4,033 รายจากโรคดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค. ที่ผ่านมา และมีผู้ป่วย และผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ 10 รายถูกส่งตัวกลับมายังยุโรป โดยผู้ป่วยโรคอีโบลารายที่ 2 ในยุโรปได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อในวันที่ 6 ต.ค.