นายเฉิงกล่าว หลังสื่อรายงานก่อนหน้านี้ว่า ไทยและจีนได้ระงับความร่วมมือในโครงการรถไฟความเร็วสูงแล้ว อันเนื่องจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในไทย และการแข่งขันจากบริษัทคู่แข่งในต่างประเทศ
"ความร่วมมือของเราเป็นไปด้วยดี และเรากำลังเพิ่มความร่วมมือกันมากขึ้น" เขากล่าว
ทั้งนี้ ในการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนในโครงการการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน(Standard Gauge) 1.435 เมตร ระหว่างไทย-จีน เส้นทาง หนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 734 กม. และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ 133 กม. ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้รับทราบกรอบเวลาการทำงานที่คณะกรรมการบริหารโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย (คบร.) ที่มี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เป็นประธาน กำหนดเบื้องต้น
โดยรูปแบบการลงทุนนั้นคณะอนุฯด้านการเงิน เห็นว่าควรนำผลการศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ) เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งขณะนี้ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ดำเนินการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว และผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ส่วนต่อขยาย กรุงเทพฯ-ระยอง เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีน ก่อน เนื่องจากแนวเส้นทางและที่ตั้งสถานีของรถไฟความเร็วสูง มีความสอดคล้องกับรถไฟทางคู่ และหลังจากทั้ง 2 ฝ่ายตั้งคณะทำงานลงสำรวจออกแบบในเดือนมีนาคม 2558 ก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงการประเมินเรื่องจำนวนผู้โดยสาร เนื่องจากจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อรายได้และการพัฒนาเชิงพาณิชย์