นอกจากนี้ เขายังกล่าวย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
ทางด้านนายฟาร์ฮาน ฮัก โฆษกประจำสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เปิดเผยว่า UNHCR ได้ออกมาขานรับมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ที่แสดงความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยโรฮิงญาที่ติดอยู่ในเรือซึ่งลอยลำในอ่าวเบงกอล นอกชายฝั่งประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โฆษก UNHCR ระบุว่า มาตรการของสามประเทศถือเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกที่นำไปสู่การหาทางออกของปัญหา และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเป้าหมายในการช่วยชีวิต
รายงานของ UNHCR เมื่อเร็วๆนี้ ระบุว่าในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.ของปีนี้ มีผู้ลี้ภัยราว 25,000 คนที่โดยสารมากับเรือของขบวนการลักลอบค้ามนุษย์ในอ่าวเบงกอล ซึ่งเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปีที่แล้ว ขณะที่สถานการณ์การลักลอบค้ามนุษย์อยู่ในขั้นรุนแรงมาก โดยมีการกักขังและกดขี่ผู้ลี้ภัยเพื่อเรียกค่าไถ่จากญาติ
*หมายเหตุ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภาใช้คำว่า "โรฮีนจา"