ดัชนีชี้วัดดังกล่าวมีการจัดอันดับทั้งสิ้น 57 ประเทศ โดยไต้หวันก็อยู่ในกลุ่มรั้งท้าย สำหรับญี่ปุ่นนั้นอยู่ในลำดับที่สี่รองจากเกาหลีใต้ ดัชนีนี้ยังอ้างอิงถึงความไร้ประสิทธิภาพด้านกลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกในญี่ปุ่นที่สามารถนำไปใช้ลดปริมาณก๊าซเรื่อนกระจกได้อีกด้วย
ในปีนี้ สามลำดับแรกของดัชนีชี้วัดถูกเว้นว่างไว้อย่างมีนัยยะสำคัญ ญี่ปุ่นจึงอยู่ในลำดับที่ 58 ซึ่งต่ำลงจากปีที่แล้ว 3 ลำดับ สำหรับประเทศที่รั้งท้ายสุดคือ ออสเตรเลีย คาซัคสถาน และซาอุดิอาระเบีย
เดนมาร์คซึ่งอยู่ในอันดับที่สี่ของดัชนี้นั้นเป็นประเทศที่จัดการกับภาวะโลกร้อนได้ดีที่สุดจากประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานด้านพลังงานทดแทน ตามมาด้วยอังกฤษ และสวีเดน สำหรับประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ได้แก่ จีน อังกฤษ และอินเดีย ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 47, 34 และ 25 ของดัชนีตามลำดับ
ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าววิเคราะห์จากปัจจัยอันหลากหลาย อาทิ ระดับการดักจับความร้อนก่อนปล่อยก๊าซ การใช้พลังงานทดแทน และการดำเนินนโยบายของแต่ละประเทศ ซึ่งมีกลุ่มอนุรักษ์สภาพอากาศเครือข่ายยุโรปให้ความร่วมมือด้วย
ญี่ปุ่นถูกวิพากษ์วิจารณ์ด้านการวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแทนที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะซึ่งระเบิดเมื่อ พ.ศ. 2554 มาโดยตลอด เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลสู่บรรยากาศ