นาเตลา เบนาบเด ผู้อำนวยการบริหาร WHO ในนิวยอร์ก กล่าวกับประเทศสมาชิกสหประชาชาติ (UN) ระหว่างการสรุปต่อคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) ว่าบราซิลพบผู้ป่วยกว่า 4,700 รายซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นศีรษะเล็กผิดปกติพิการแต่กำเนิด โดยก่อนที่ไวรัสซิกาจะแพร่ระบาด บราซิลมีค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้ป่วยโรคด้วยโรคดังกล่าว 163 รายต่อปี
"จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้คือสัญญาณบ่งบอกว่าเราต้องเฝ้าระวังอย่างจริงจัง" เบนาบเดกล่าว
ช่วงที่เชื้อไวรัสซิการะบาด WHO ได้ออกมาตรการระดับโลกเพื่อเป็นแนวทางให้นานาชาติรับมือกับการแพร่ระบาดดังกล่าว รวมถึงความผิดปกติของทารกแรกเกิด และภาวะทางระบบประสาทอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ดังกล่าว ซึ่งรู้จักกันในชื่อกรอบการรับมือเชิงกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานร่วมกัน ได้มุ่งเน้นไปที่การผนึกกำลังและประสานงานระหว่างพันธมิตร ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงทรัพยากรเพื่อให้หลายประเทศยกระดับการเฝ้าระวังไวรัสซิกา และความผิดปกติที่อาจเชื่อมโยงกับเชื้อดังกล่าว, ปรับปรุงการควบคุมพาหะ, ความเสี่ยงในการติดต่ออย่างมีประสิทธิภาพ, แนะนำแนวทางและมาตรการป้องกัน, ให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ, ติดตามการวิจัยและพัฒนาวัคซีน การวินิจฉัย ตลอดจนการบำบัดรักษาอย่างฉับไว
เบนาบเด เพิ่มเติมว่า ต้องใช้งบประมาณกว่า 56 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าว โดย 25 ล้านดอลลาร์จะเป็นกองทุนให้กับ WHO, สำนักงานภูมิภาคเพื่อทวีปอเมริกา (AMRO) และองค์การสุขภาพแห่งทวีปอเมริกา(PAHO) ส่วนอีก 31 ล้านดอลลาร์จะจัดสรรให้กับการดำเนินงานของพันธมิตรที่สำคัญๆ