WHO ระบุว่า ในวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา บริษัทและสถาบันวิจัย 67 แห่งต่างพร้อมที่จะทำงานเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ (การตรวจวินิจฉัย 31 ครั้ง วัคซีน 18 ครั้ง การบำบัดรักษา 8 ครั้ง และการควบคุมสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค 10 ครั้ง) ซึ่งทั้งหมดยังอยู่ในกระบวนการพัฒนาขั้นต้น และยังไม่มีการทดสอบใช้วัคซีนหรือการบำบัดในมนุษย์
"การพัฒนาวัคซีนยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นและเป็นระยะเวลาอีกหลายเดือนกว่าอาสาสมัครส่วนใหญ่จะได้เข้ารับการทดสอบการรักษาทางการแพทย์" มารี-พอล คินนี รองผุ้อำนวยการฝ่ายระบบสุขภาพและนวัตกรรม WHO กล่าวในที่ประชุม
อย่างไรก็ตาม รองผู้อำนวยการได้ระบุว่า การพัฒนาการวินิจฉัยเชื้อซิก้าอยู่ในขั้นสูงแล้ว และการทดสอบบางส่วนก็ได้รับการอนุมัติในบางประเทศแล้วเช่นกัน
ทั้งนี้ บริษัทกว่า 30 แห่งอยู่ระหว่างดำเนินการหรือพัฒนาการวินิจฉัยโรคอันมีประสิทธิภาพ ให้การสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป้าหมายเพื่อการทดลองที่สามารถวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยาและไวรัสซิก้าได้