ภาวะตลาดอนุพันธ์: ปรับขึ้น คาดหวังสหรัฐเจรจาการค้าจีนรอบใหม่-ผ่อนคลายปัญหาค่าเงินตุรกี, จับตา GDP Q2/61 ของไทยต้นสัปดาห์หน้า

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday August 17, 2018 17:57 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นางสาวชุติกาญจน์ สันติเมธวิรุฬ ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า การซื้อขาย SET50 Index Futures วันนี้ ปรับตัวขึ้นต่อจากวานนี้ แต่อยู่ในกรอบจำกัด แม้ตลาดจะมีความคาดหวังจากการหารือการค้ารอบใหม่ระหว่าง สหรัฐฯและจีนในช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้ แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหา หรือจะมีข้อสรุปที่มีความประนี ประนอมมากขึ้นหรือไม่ ขณะที่สหรัฐฯจะใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเติมในวันที่ 23 ส.ค.นี้ ทำให้ภาพรวมของ ตลาดในภูมิภาคและไทย ยังเป็นลักษณะการปรับตัวขึ้นในกรอบจำกัด เพราะยังไม่มั่นใจว่าผลสรุปออกมาจะเป็นอย่างไร

ส่วนปัญหาวิกฤตค่าเงินตุรกีนั้น ตลาดได้ตอบรับในระดับหนึ่งแล้วทำให้ตลาดคลายความกังวลบ้าง แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้อง ติดตามต่อไป เพราะยังไม่มีแนวทางหรือข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมออกมา และวิกฤตดังกล่าวจะลุกลามไปยังประเทศอื่นที่มีภาพเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างทางการเงินใกล้เคียงกับตุรกีหรือไม่ รวมถึงยังต้องติดตามเรื่องเงินไหลออกจาก Emerging Market ว่าจะมีความ ต่อเนื่องในสัปดาห์หน้าหรือไม่

อย่างไรก็ตามตลาดยังคงมีปัจจัยภายในประเทศที่เป็นบวกเข้ามาในสัปดาห์หน้า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) จะแถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2/61 ในวันที่ 20 ส. ค.นี้ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวราว 4% ต่ำกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัว 4.8% ทำให้ภาพรวมครึ่งแรกปีนี้ยังเติบโตได้อย่างสด ใส แต่ก็เป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ไประดับหนึ่งแล้ว ซึ่งยังต้องติดตามดูว่าตัวเลขจีดีพีที่ออกมาจะดีกว่าคาดหรือไม่ หากไม่ดีกว่าคาดหรือทรงตัว ก็อาจจะทำให้ตลาดไม่ได้ตอบรับเชิงบวกมากนัก ขณะที่ยังต้องติดตามการปรับประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ของ โบรกเกอร์ต่างๆ ภายหลังสิ้นสุดการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/61 ออกมาแล้ว

ทั้งนี้ ทำให้คาดว่าการเคลื่อนไหวของ S50U18 ในสัปดาห์หน้าจะยังมีโอกาสขยับขึ้นได้ในกรอบจำกัด โดยมีแนวรับ 1,105 และ 1,100 และแนวต้านที่ 1,116 จุด โดยให้จับตาแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่ในสัปดาห์นี้มีออกมาทั้งในตลาดอนุพันธ์ และตลาดหุ้นไทย แม้จะยังคงมีแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันและรายย่อยเข้ามาก็ตาม โดยมองว่าหากสถานการณ์ภายนอกประเทศไม่ได้ดู คลี่คลาย หรือเป็นบวกกว่าปัจจุบันนักลงทุนก็อาจจะเปิดสถานะ short เพื่อทำกำไรได้ก่อน

ส่วนราคาทองคำ แม้จะสามารถรีบาวด์กลับมาได้บ้าง แต่ยังคงมีแนวต้านระดับ 1,180-1,185 เหรียญ/ออนซ์ และภาพ ทางเทคนิคยังเป็นแนวโน้มทางลงชัดเจน โดยความน่าสนใจการลงทุนสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำลดลงไป สะท้อนได้จากกองทุน SPDR ที่ขายทองคำออกต่อเนื่อง โดยมียอดขายสะสมในเดือนส.ค.นี้ 27 ตัน ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์ที่ยังมีกรอบการแข็งค่าก็จะ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันต่อราคาทองคำ หลังจากที่ความกังวลต่อสถานการณ์ตุรกีและสงครามการค้า ทำให้มีแรงผลักดันให้เม็ดเงินไหล ออกไปยังสกุลเงินที่มีความปลอดภัยอย่างสกุลเยน หรือดอลลาร์ โดยมองว่าราคาทองคำมีโอกาสที่จะปรับลงระดับต่ำสุดรอบ 20 เดือน ที่ 1,160 เหรียญ/ออนซ์อีกครั้ง และหากหลุดลงไปก็จะไหลลงไปที่ระดับ 1,140 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ ทำให้ภาพรวมของทองคำยัง เป็นลักษณะแกว่งตัวอิงทางลง

ดัชนี SET50 ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,116.46 จุด เพิ่มขึ้น 5.59 จุด, +0.50%

                            ปริมาณ           สถานะคงค้าง
Total Market               292,444          2,560,346
Total Futures              289,797          2,514,993
SET50 Index                127,725            320,046
Sector Index                 -                 -
Single Stock               138,812          2,084,666
Precious Metal              18,659             79,626
- GF10                      17,899             74,136
- GF50                         760              5,490
Deferred Precious Metal        154              1,246
- GOLD-D                       154              1,246
Currency                     4,209             29,174
Interest Rate                -                 -
Agriculture                    238                235
Total Options                2,647             45,353
Call                         1,020             23,487
Put                          1,627             21,866

สรุปปริมาณการซื้อขายตามกลุ่มผู้ลงทุน

                     นักลงทุนสถาบัน           นักลงทุนต่างชาติ          นักลงทุนภายในประเทศ
Futures                 +4,896                   -7,696                 +2,800
Options                    -60                      +21                    +39

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ