ทุกวันนี้นักข่าวต่างโหมงานหนักและมีหลายเรื่องถาโถมเข้ามาแบบไม่ยั้ง
รายงาน 2019 State of the Media Report จาก Cision ได้เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้สื่อข่าว โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 20% จากทั้งหมด 1,999 ราย เปิดเผยว่า "การจ้างบุคลากรและทรัพยากร" เป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญที่สุดในการทำงานในปีที่แล้ว และกว่า 1 ใน 3 เปิดเผยว่า ตนเองต้องเขียนบทความสัปดาห์ละกว่า 7 ชิ้น
นอกเหนือไปจากการผลิตคอนเทนต์ให้มากขึ้นแล้ว นักข่าวยังถูกคาดหวังให้ต้องคอยติดตามและใส่ใจสถานการณ์รอบข้างอยู่เสมอ การติดตามข่าวสารล่าสุดและคอนเทนต์ต่าง ๆไปพร้อม ๆ กับการโปรโมทบทความของตนเองบนโซเชียลมีเดียนั้น เป็นภารกิจที่กินเวลานักข่าวเป็นอย่างมากในแต่ละวัน
จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่นักข่าวอาจเผชิญกับความท้าทายในเรื่องการบริหารเวลาจนรู้สึก"หมดไฟ"
ถึงอย่างนั้น โซเชียลมีเดียก็ยังเป็นส่วนสำคัญในหน้าที่การงาน โดยผลการศึกษาของ ING พบว่า นักข่าว 72% มองว่าโซเชียลมีเดียเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำงานแต่ละวัน
แล้วเราจะหาสมดุลระหว่างการที่ต้องคอยติดตามข่าวสารล่าสุดไปพร้อม ๆ กับการมีส่วนร่วมกับผู้อ่านข่าว และทำงานอื่น ๆ ให้สำเร็จได้อย่างไร
เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ปัญหาสุขภาพจิต เราอยากช่วยจับสัญญาณบ่งบอกอาการ "หมดไฟกับโลกโซเชียล" และให้ข้อแนะนำเล็กน้อยในการจัดการปัญหานี้
เรากำลังเผชิญภาวะหมดไฟกับการใช้โซเชียลมีเดียหรือไม่?
ในขณะที่กำลังตรวจสอบแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียประจำวันสำหรับงานของเรา เราจะบอกได้อย่างไรว่าสภาพจิตใจของเราถึงขีดจำกัดแล้ว
แม้ว่าจะไม่มีรายการที่ครอบคลุม แต่นี่คือสัญญาณทั่วไปของภาวะหมดไฟ:
- ขาดความกระตือรือร้น: เราอาจจะเคยสนุกสนานที่จะมีส่วนร่วมกับโซเชียลมีเดีย แต่ตอนนี้กำลังเกิดความรู้สึกไม่สนใจ ถ้าใช่หมายความว่า เราสังเกตเห็นการขาดความกระตือรือร้นหรือแรงจูงใจในงานที่เคยสนุกไปกับมัน
- สมองล้า: ถ้ามีปัญหาในการรวบรวมสมาธิและจดจ่อกับงานตรงหน้า นั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะหมดไฟ
- หลีกเลี่ยง: เรากำลังเลี่ยงที่จะตอบความเห็น อีเมล หรืออื่น ๆ หรือไม่ อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ตลอดไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ของเรากับผู้ติดตามหรือแหล่งข่าว ดังนั้น เราจำเป็นต้องหาจุดกึ่งกลางให้เจอ
- ใช้งานมากเกินไป: เราหมกมุ่นตรวจดูโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์เพื่อดูความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ในโซเชียล ขณะเดียวกันก็รู้สึกว่า เราไม่สามารถทำอะไรให้สำเร็จได้เลย
- รู้สึกกระวนกระวายหรือหงุดหงิดนอกเวลางาน: ทั้งหมดที่คิดออกคือเรื่องเกี่ยวกับงานและโพสต์ที่เราต้องจัดการในวันพรุ่งนี้ การขาดความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวนี้เป็นปัญหาทั่วไปของนักข่าว
ทิปส์ดี ๆ ที่จะทำให้เราดึงเวลาอันมีค่ากลับคืนมา
มีกลยุทธ์มากมายที่จะจำกัดการใช้งานโซเชียลมีเดีย และกำหนดแบบแผนชีวิตของตัวเองในแต่ละวัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพในการทำงาน ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นทิปส์ดี ๆ ที่เราชื่นชอบ
1. จัดตารางเวลา
ลองเล่นโซเชียลมีเดียเฉพาะเวลาที่ตัวเองกำหนดไว้ ยกตัวอย่างเช่น เราอาจให้เวลาตัวเองสักชั่วโมงนึงในตอนเช้าเพื่อเช็คข้อความต่าง ๆ หรือข้อความที่เอ่ยถึงเรา รวมถึงการตอบของเพื่อน ๆ เป็นต้น แต่หากนอกเหนือไปจากกรอบเวลาที่เรากำหนดไว้แล้ว เราต้องปิดแอปพลิเคชันทั้งหมด เพื่อลดการกระตุ้นความอยากของตัวเอง
เครื่องมือที่ช่วยติดตามเวลาอย่าง StayFocusd บน Chrome หรือแอปพลิเคชัน Cold Turkey สามารถช่วยเพิ่มผลิตภาพในด้านอื่น ๆ ได้ อีกทั้งยังทำให้เราใช้เวลาว่างอย่างเป็นประโยชน์อีกด้วย
นอกจากนี้ เราอาจจะลองพิจารณาหาวันหนึ่งในรอบสัปดาห์เพื่อที่จะดีท็อกซ์โซเชียลมีเดียก็เป็นหนทางที่ดีเช่นกัน
2. ปิดการแจ้งเตือนซะ
หากเราไม่เห็นการแจ้งเตือนบนมือถือ ความอยากที่จะเช็คแอปพลิเคชันก็จะลดลงโดยอัตโนมัติ
เราต้องการโฟกัสไปที่การเขียนบทความใหม่ใช่หรือไม่? ฉะนั้น จงปิด Outlook หรือ Gmail เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนสมาธิการการแจ้งเตือนอีเมลใหม่
หากมือถือของเราอยู่ในระยะที่เอื้อมมือหยิบได้ ก็ควรปิดเสียงหรือใช้โหมดห้ามรบกวนแทน
3. ใช้เครื่องมือคัดกรองเพื่อตัดประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป
นักข่าวและนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ทั้งหลายคงคุ้นเคยกับ TweetDeck เป็นอย่างดี แต่ยังไม่ใช่เวลาที่จะพูดถึงข้อมูลดังกล่าวในที่นี้
การกรองคอนเทนต์ที่ไม่เกี่ยวกับงานจะช่วยให้เราสามารถโฟกัสไปที่งานได้ดีขึ้น และช่วยให้เราสามารถเลี่ยงออกจากสิ่งที่จะมารบกวนได้
นอกจากนี้ การสมัครรับจดหมายข่าวที่เกี่ยวข้อง และการรับฟังอย่างช้า ๆ ก็ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้เราสามารถโฟกัสเฉพาะกับข่าวที่เกี่ยวข้องกับเราได้
และหากเรายังไม่ได้สมัครเข้าใช้งาน PR Newswire for Journalists สามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ที่ https://prnmedia.prnewswire.com/ แล้วเราจะช่วยให้สร้าง News Feed เพื่อส่งข่าวที่ต้องการในเวลาที่เหมาะสมที่สุด
4. แบ่งงานให้คนอื่น ๆ ช่วยทำบ้าง
เรามีเพื่อนร่วมทีมที่สามารถดูแลเรื่องโซเซียลมีเดียหรือไม่? ขณะที่เราไม่ต้องการเบนความสนใจออกจากความรับผิดและโครงการที่กำลังทำอยู่ บางทีการกระจายหน้าที่ออกไปให้คนอื่น ๆ ก็อาจเป็นตัวเลือกที่ควรจะพิจารณาบ้างแล้ว
5. ออกจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่ไม่มีประโยชน์
แม้ว่า เราจะมีอาการ JOMO (joy of missing out หรือสุขที่ไม่ต้องรับรู้ข่าวสาร) แต่ก็เข้าใจดีว่าหลาย ๆ คนอาจจะเกิดอาการ FOMO (fear of missing out หรือกลัวที่จะพลาดข่าวสาร) เลยต้องเข้าดูทุกแพลตฟอร์มบนโซเชียลมีเดีย ตลอดทั้งวัน
แต่เมื่อเวลาคำนวณเวลาที่เสียไปบนแพลตฟอร์มเหล่านี้ เราจะได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์จากทุกแพลตฟอร์มหรือไม่ ลองพิจารณาดูว่าแพลตฟอร์มไหนที่กลุ่มเป้าหมายของเราสนใจมากที่สุด และอาจเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดสำหรับเรา ส่วนแพลตฟอร์มอื่นอาจเป็นแค่สิ่งรบกวน
ข้อสรุป
ในสภาพแวดล้อมที่วงจรข่าวไม่มีวันสิ้นสุด เป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะติดอยู่ในกระแสธารของข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย
แต่เนื่องจากนักข่าวต้องทำงานมากขึ้นโดยที่มีทรัพยากรน้อยลง จึงจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงข้อจำกัดของตัวเอง และสร้างระบบที่ยั่งยืนมากขึ้นเพื่อมาช่วยจัดการ
คิม เรนโฟร์ นักข่าวบันเทิงของ Insider เคยพูดถึงเรื่องนี้ หลังจากที่บริษัททดลองให้มีสัปดาห์งดเล่นทวิตเตอร์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ : "ฉันไม่ได้เล่นทวิตเตอร์ แต่ฉันคิดว่ามันเป็นปุ่มรีเซ็ตที่ดีให้ฉันได้คิดอย่างมีวิจารณาญาณอย่างมากขึ้นว่า ฉันกำลังใช้เวลาทำอะไรอยู่ในระหว่างวัน"
ที่มา: พีอาร์นิวส์ไวร์