สำหรับเจนเอไอสำหรับสื่อไทยนั้นสามารถตั้งต้นได้จากกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น บริษัทผู้ผลิตสื่อ องค์กรวิชาชีพสื่อ สื่อท้องถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน สื่ออิสระ อินฟลูเอนเซอร์ ภาครัฐ สถาบันการศึกษาฯ จากนั้นก็จะได้บิ๊กดาต้าสื่อไทยไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพถ่าย รายการวิทยุ โทรทัศน์ ละคร ซีรีส์ ภาพยนตร์ แอนิเมชั่น เว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น โดยมีการเพิ่มแมชีนเลิร์นนิ่งและกระบวนการเรียนรู้ด้านภาษาก็จะได้ Formulated model ออกมา เพื่อพัฒนาเจนเอไอสำหรับสื่อไทย
ดร.พิรงรองมองว่า การรู้เท่าทันเอไอนั้น จะต้องใช้ทักษะด้านเอไอสูง ซึ่งเราสามารถมองเอไอได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มนุษย์สามารถควบคุมได้ หรือในอีกระดับ เอไอก็เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ธรรมดา สามารถประมวลผลและคิดเองได้ พอเอาเข้าจริงแล้ว เราจะเชื่อใคร
ในซีกโลกเหนือนั้น การกำกับดูแล AI ได้มีการระบุความรับผิดชอบและแนวปฏิบัติสำหรับผู้มีบทบาทในอุตสาหกรรม หรือแนวปฏิบัติสำหรับวงจรชีวิตของเอไอ โดยเน้นในขั้นตอนของการพัฒนาเป็นสำคัญ และยังได้มีการระบุถึงปัญหาในทางเทคนิคและมีแนวปฏิบัติของบริษัทด้านเทคโนโลยี ซึ่งมักจะกำหนดหลักการเกี่ยวกับความรับผิดชอบในผลของการกระทำ ความเป็นส่วนตัว และความยุติธรรม และอาจรวมถึงหลักการไม่ทำอันตราย และความรับผิดชอบด้วย
ในขณะที่การกำกับดูแลในประเทศกำลังพัฒนาในซีกโลกใต้นั้น ควรมองภาพรวมทั้งวงจรของชีวิตเอไอ เริ่มตั้งแต่ก่อนการเก็บและกลั่นข้อมูลดิบ ชุดข้อมูลที่ใช้ และขยายการติดตามไปวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อสังคมในระยะยาว ไม่ใช่เพียงปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้งาน AI เท่านั้น
ในขณะที่สมาคมผู้สื่อข่าวไทยได้มีการหารือกันเกี่ยวกับคู่มือในการใช้เอไอของสื่อไทย โดยได้มีการนำเสนอคู่มือเบื้องต้นมาดังนี้
1. มีการควบคุมโดยมนุษย์
2. หลีกเลี่ยงการใช้รูปภาพที่สร้างขึ้นมาจากเอไอ
3. ใช้งานเอไอสำหรับการสาธิตหรือนำเสนอเท่านั้น
4. ในกรณีที่คอนเทนต์ทำขึ้นจากเอไอ จะต้องมีการระบุให้ทราบ
5. จะต้องมีบุคลากรรับผิดชอบในเรื่องการใช้งานเอไอ
6. ไม่ควรใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในการฝึกอบรม
7. ไม่ควรนำเอไอมาใช้แทนมนุษย์
1. สร้างแนวทางการอภิบาลการใช้ AI พร้อมสร้างระบบความรับผิดชอบร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
2. พัฒนากรอบด้านข้อมูลพื้นฐานที่รัดกุมและมีพลวัต เพื่อออกแบบนโยบายและประเมินผลกระทบ
3. พัฒนาวิสัยทัศน์ระยะยาวสำหรับการใช้ AI ในอุตสาหกรรมสื่อ และกำหนดแผนและกิจกรรมเพื่อนำไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
4. สร้างพื้นที่ความร่วมมือที่ยั่งยืนและมีโครงสร้างชัดเจนระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการสร้างอำนาจต่อรองร่วมกับภาคีประเทศในเวทีสากล