"ในขณะที่องค์กรทั่วโลกและทุกแวดวงสาขาอาชีพต่างมองหาประโยชน์จากศักยภาพในการเติบโตของวิทยาศาสตร์ข้อมูล ทักษะเชิงข้อมูลจึงกลายเป็นทักษะที่จำเป็นในช่วงทศวรรษหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้" วีเจย์ บาลาจิ แมดเฮสวารัน ผู้อำนวยการวิทยาศาสตร์ข้อมูลประยุกต์ที่ดันน์ฮัมบี เอเชียแปซิฟิก กล่าว
นอกจากนี้ ยุค Big Data และทุกธุรกิจล้วนต้องอาศัยข้อมูลในการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ แต่งานที่ยากที่สุดไม่ใช่การจัดเก็บข้อมูล แต่คือ การมีพนักงานที่มีทักษะในการทำความเข้าใจ วิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูล (data literacy) หรือที่เราเรียกตำแหน่งนี้ว่า Data Scientist
งานวิทยาศาสตร์ข้อมูลกลายเป็นเส้นทางสายอาชีพที่เป็นที่ต้องการในตลาดและเป็นสายงานที่มีเกียรติและน่าภูมิใจอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากในตอนต้นของทศวรรษที่ผ่านมา นิตยสารฮาร์วาร์ด บิซิเนส รีวิว (Harvard Business Review) ได้ขนานนามวิทยาศาสตร์ข้อมูลว่าเป็น "งานที่ร้อนแรงที่สุดในศตวรรษที่ 21"[1] และวาดภาพให้เห็นถึงอนาคตที่ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลอาจเป็นที่ต้องการอย่างมากจนเกิดการขาดแคลนในที่สุด
พลเมืองนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Citizen Data Scientists) คือ ผู้คิดค้นหรือสร้างแบบจำลองโดยใช้ความสามารถในการวิเคราะห์ การวินิจฉัย หรือการคาดการณ์และการกำหนดล่วงหน้าในระดับขั้นสูง แต่ที่ผ่านมา บุคลากรเหล่านี้กลับมีบทบาทหน้าที่หลักในการทำงานอยู่นอกสาขาสถิติและการวิเคราะห์ เราอาจพบเจอทีมงานเหล่านี้ในสายงานไฟแนนซ์ การขาย การปฏิบัติงาน ฯลฯ เช่นเดียวกับที่เราทุกคนทำงานโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่เราก็ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ citizen data scientists ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการปฏิบัติงานของตนเอง แม้ว่าจะไม่ใช่ตำแหน่งงานประจำก็ตาม
องค์กรต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องจ้างงานตำแหน่งนี้ใหม่เสมอไป เพราะการมีนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่มาจากบุคลากรที่มีอยู่เดิมนั้นเหมาะสมที่สุดเพราะบุคลากรเหล่านั้นคือผู้ที่เข้าใจธุรกิจขององค์กรอย่างถ่องแท้ เพียงแค่บุคลากรขององค์กรได้รับการพัฒนาศักยภาพบางอย่างพร้อมจัดหาเครื่องมือทางด้านดิจิทัลอย่างถูกทาง เราก็จะสามารถสร้างกลุ่มคนเหล่านี้ (Citizen Data Scientist พลเมืองนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล) เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรได้เป็นอย่างดี กุญแจสำคัญคือ ทักษะเชิงข้อมูล และองค์กรควรจะใส่ใจในลำดับความสำคัญที่จะเอื้อต่อการทำงานและช่วยเสริมสร้างให้กลุ่มพลเมืองนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในองค์กรสามารถอ่าน ทำความเข้าใจ และสื่อสารผ่านข้อมูลได้
ฮันน์ดัมบี เอเชียแปซิฟิก แนะ 7 ประเด็นสำคัญที่ธุรกิจจำเป็นต้องเร่งดำเนินการดังนี้
ภายในปลายทศวรรษนี้ วิทยาศาสตร์ข้อมูลจะกลายเป็นทักษะสากล ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานเฉกเช่นเดียวกับคณิตศาสตร์ สถิติพื้นฐาน และการคำนวณ ในแง่ของการได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในขณะที่เราก้าวเข้าสู่ทศวรรษแห่งทักษะเชิงข้อมูล ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าเรามีความสามารถทางด้านการอ่านออกเขียนได้เชิงข้อมูลเพื่อที่จะได้พูดภาษาเดียวกันอย่างเข้าใจ
หมายเหตุ
วีเจย์ บาลาจิ แมดเฮสวารัน ผู้อำนวยการฝ่าย Applied Data Science ของ dunnhumby APAC ดูแลรับผิดชอบทางด้านการลงทุน การสร้างพันธมิตร การเข้าถึงและปรับแต่งระบบ เพื่อช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกและแบรนด์ต่างๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการตระหนักถึงคุณค่ามหาศาลของข้อมูลที่มีอยู่