วิกฤตฝุ่น PM2.5 สร้างเอ็นเกจเมนต์ "เครื่องฟอกอากาศ" และ "หน้ากากอนามัย" พุ่ง

ข่าวทั่วไป Tuesday January 30, 2024 14:00 —ThaiPR.net

วิกฤตฝุ่น PM2.5 สร้างเอ็นเกจเมนต์

ฝุ่น PM2.5 ปัญหาซ้ำซากที่ยังรอแก้ไข ดาต้าเซ็ต เช็คเสียงชาวเน็ตค้นหาตัวช่วย "เครื่องฟอกอากาศ" และ "หน้ากากอนามัย" เป็นไอเท็มสุดฮิตที่ต้องมีเมื่อฤดูฝุ่นมาเยือน พร้อมๆ กับโปรโมชั่นการตลาด โดยเครื่องฟอกอากาศ Coway เป็นแบรนด์ที่ทำตลาดและได้รับเอ็นเกจเมนต์สูงสุดในช่วงนี้ รองลงมาเป็น Xiaomi และ Dyson ส่วนหน้ากากฯ N95 เป็นที่กล่าวถึงมากพร้อมช่องทางการสั่งซื้อบนออนไลน์อีคอมเมิร์ซ

ในช่วงเวลาที่เข้าสู่การเปลี่ยนฤดูกาลโดยเฉพาะช่วงปลายฤดูหนาวที่เตรียมเข้าสู่ฤดูร้อน เมื่อเป็นช่วงลมสงบนิ่ง ฝุ่นละอองและสารพิษรอบตัวจะถูกสะสมไว้ในชั้นบรรยากาศ เมื่อลมร้อนเริ่มพัดมา ฝุ่นจะถูกพัดลอยให้สูงขึ้น และค่อย ๆ จางหายไป แต่ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ภาวะลมสงบเกิดขึ้นนานกว่าปกติ ส่งผลให้ฝุ่นต่าง ๆ ไม่ถูกพัดลอยไป และสะสมอยู่เป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นหมอกและควันในชั้นบรรยากาศมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น 

จากสถานการณ์มลภาวะทางอากาศในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตของคนไทย ซึ่งได้รับการพูดถึงเป็นจำนวนมากบนโซเชียลมีเดีย เรียกได้ว่าไม่มีใครไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว 

จากกระแสประเด็นดังกล่าว ดาต้าเซ็ต จึงได้รวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ DXT360 เพื่อฟังเสียงในสังคมออนไลน์ (Social listening) และนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ของ "ฝุ่น PM2.5" ในช่วงวันที่ 1 - 20 มกราคม 2567 โดยจากการสำรวจข้อมูล พบว่า มีการพูดถึงประเด็น "ฝุ่น PM2.5" เป็นจำนวน 11,229 ครั้ง และได้รับ Engagement ไปทั้งสิ้น 507,503 ครั้ง

เมื่อเปรียบเทียบกราฟด้านบนระหว่างข้อมูลที่มีการพูดถึงสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จาก DXT360 และข้อมูลค่าเฉลี่ย PM2.5 สะท้อนให้เห็นว่า จำนวนการกล่าวถึงประเด็น PM2.5 นั้นเพิ่มมากขึ้นสอดคล้องกับปริมาณค่า PM2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวันที่ 9 - 10 มกราคม และช่วง 19 - 20 มกราคม ซึ่งนอกจากการกล่าวถึงที่เพิ่มขึ้นสูงตามจำนวนค่าเฉลี่ย PM2.5 แล้วยังจะเห็นได้ว่า จำนวนการค้นหาคำว่า "PM2.5" "เครื่องฟอกอากาศ" และ "หน้ากากอนามัย" ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน (กราฟด้านล่าง)

10 หน่วยงานรัฐที่ได้รับเอ็นเกจเมนต์สูงสุดในการให้ข้อมูลฝุ่น PM 2.5

จากสถานการณ์มลภาวะทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน มีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย ทั้งในส่วนของการแจ้งเตือนเฝ้าระวัง แนวทางการรับมือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นรวมถึงการสังเกตอาการแพ้ฝุ่น PM2.5 ในช่วงระหว่างวันที่ 1-20 ม.ค. 67 โดยมีรายละเอียดชื่อหน่วยงานภาครัฐที่มีการกล่าวถึงเด่นๆ ดังนี้

กรมประชาสัมพันธ์ 1,678 Engagements, 25 Posts
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM1,372 Engagements, 93 Posts
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร1,180 Engagements, 117 Posts
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร889 Engagements, 5 Posts
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข787 Engagements, 3 Posts
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข384 Engagements, 10 Posts
กรมควบคุมมลพิษ345 Engagements, 13 Posts
กรมการแพทย์255 Engagements, 8 Posts
กรมป่าไม้236 Engagements, 4 Posts
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม220 Engagements, 5 Posts

Facebook, YouTube ช่องทางที่ได้รับ Mention และ Engagement สูงสุด

นอกเหนือจากวิธีการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ทุกคนต้องร่วมกันช่วยแก้ปัญหาแล้ว วิธีการเตรียมตัวรับมือก็สำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้จากการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน DXT360 พบว่าในช่วง 1 - 20 มกราคม 2567 พบว่า มีการกล่าวถึงสินค้าเครื่องฟอกอากาศและหน้ากากอนามัย เป็นจำนวนมากกว่า 1,443 ครั้ง และมีจำนวน Engagement ทั้งสิ้น 81,783 ครั้ง โดยแบ่งออกตามช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

คนไทยกล่าวถึงเครื่องฟอกอากาศและหน้ากากอนามัยบนโซเชียลมีเดียช่องทางไหนมากที่สุด (Channel Mention)

Facebook80.5%
YouTube10.3%
X (Twitter)4.9%  
Forum 2.6%
TikTok1.1%
Instagram0.6%

คนไทยเอ็นเกจฯ เครื่องฟอกอากาศและหน้ากากอนามัยบนโซเชียลมีเดียช่องทางไหนมากที่สุด (Channel Engagement)

Facebook50.1%
YouTube38.3%
TikTok 9.7%
Instagram1.7%
X (Twitter)0.1%
Forum 0.1%

ช่องทางสำหรับใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องฟอกอากาศ หน้ากากอนามัย หรือสินค้าอื่น ๆ จะเห็นได้ว่าช่องทาง Facebook และ YouTube เป็นช่องทางหลัก ๆ ที่ได้รับการ Mention หรือได้รับ Engagement สูง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการโพสต์โปรโมตสินค้า โปรโมชั่น หรือ รีวิวสินค้าต่าง ๆ

เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ไหนถูกกล่าวถึงมากที่สุด (Brand Mention)

Dyson 19.9%
Airdog13.7%
Xiaomi10.0%
Thompson9.1%
Philips5.9%
Sharp 5.6%
Blueair5.4%
Coway4.9%
Smart Air3.7%
LG2.7%
อื่น ๆ19.1%

เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ไหนได้รับเอ็นเกจเมนต์มากที่สุด (Brand Engagement)

Coway20.6%
Xiaomi          14.2%
Dyson12.8%
Levoit 10.5%
Smart Air6.9%
Lydsto6.8%
Thompson5.6%
LG4.9%
Bwell4.3%
TEFAL4.0%
อื่น ๆ9.4%

สำหรับแบรนด์เด่นๆ ที่ได้รับจำนวน Mention และ Engagement เป็นจำนวนมากอย่าง Dyson และ Xiaomi ที่มีจุดเด่นที่ชัดเจนแล้วยังมีเทคนิคการตลาดต่างๆ เช่น Dyson Global Connected Air Quality Data project ซึ่งแสดงข้อมูลให้เห็นว่า คุณภาพอากาศภายในอาคารอาจจะแย่กว่าคุณภาพอากาศภายนอกเสียอีก ทำให้ผู้คนตระหนักถึงคุณภาพอากาศภายในอาคารที่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ไม่ต่างจากอากาศภายนอกอาคาร หรือแบรนด์ Xiaomi ที่มีการโปรโมทและจัดโปรโมชั่นผ่าน Platform Online ต่างๆมากมายเพื่อดึงดูดลูกค้า

นอกเหนือจากแบรนด์ Dyson และ Xiaomi จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ประเด็นฝุ่น "PM2.5" กำลังเป็นประเด็นบนโลกโซเชียล แบรนด์เครื่องฟอกอากาศต่าง ๆ เริ่มได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น และมีการโปรโมทผ่าน Influencer และแฟนเพจเป็นจำนวนมาก

ในส่วนของการเก็บข้อมูลจำนวนการกล่าวถึงหน้ากาก N95, KF94, KF80, FFP1, FFP2 บน DXT360 แสดงให้เห็นว่า ยังคงมีจำนวนการกล่าวถึงที่เพิ่มมากขึ้น สอดคล้องตามกราฟจำนวนการกล่าวถึงประเด็น PM2.5 และกราฟแสดงจำนวนค่าเฉลี่ย PM2.5 ในประเทศไทย ทำให้เห็นว่าผู้คนเริ่มให้ความสนใจและต้องการหน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นตามผลกระทบจาก PM2.5 ที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าในช่วงที่ผ่านมามีการกล่าวถึงสินค้า "หน้ากากอนามัย" พร้อมช่องทาง E-Commerce ช่องทางต่างๆ เช่น

  • Mention ผ่าน Shopee 50 ครั้ง ได้รับ Engagement 26,462 ครั้ง 
  • Mention ผ่าน Lazada 33 ครั้ง ได้รับ Engagement 25,875 ครั้ง
  • Mention ผ่าน TikTok Shop 30 ครั้ง ได้รับ Engagement 34,010 ครั้ง

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงช่องทางอื่นๆ อีก เช่น Officemate, Watsons เป็นต้น

ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีเครื่องฟอกอากาศช่วยกรองอากาศให้สะอาดยิ่งขึ้นเมื่ออยู่ในสถานที่ปิด แต่เมื่อออกไปยังที่โล่งแจ้งเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง ควรสวมหน้ากากอนามัย N95 และหากเกิดอาการแสบคอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด หรือมีอาการผิดปกติ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรพบแพทย์ทันที

ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หา Insight รวบรวมผ่าน DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่าง 1 ม.ค. - 20 ม.ค. 67


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ