หมวด 6
บทกำหนดโทษ
_________
มาตรา 89 บริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 8 วรรคห้า มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 17 มาตรา 21 หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 7 วรรคสี่ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง หรือเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา 33 (9) วรรคสอง หรือมาตรา 34 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และถ้าเป็นกรณีกระทำความผิดต่อเนื่อง ให้ปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 90 บริษัทใดไม่ตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้น หรือไม่แจ้งผู้ถือหุ้นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 12 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาทในกรณีที่เป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องให้ปรับวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 91 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 18 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปีหรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละสองหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 92 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 19 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 93 บริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23 มาตรา 28 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 53 มาตรา 54 หรือไม่วางเงินสำรองประกันภัยตามมาตรา 24 หรือไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดที่รัฐมนตรีประกาศมาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และถ้าเป็นกรณีการกระทำความผิดต่อเนื่อง ให้ปรับอีกไม่เกินวันละสองหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 94 ผู้ใดผ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา 95 บริษัทใดออกกรมธรรม์ประกันภัยหรือเอกสารประกอบหรือแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยโดยฝ่าฝืนมาตรา 29 หรือกำหนดอัตราดอกเบี้ยประกันภัยโดยฝ่าผืนมาตรา 30 หรือฝ่าผืนมาตรา 31 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 32 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 96 บริษัทใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 39 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมี่นบาท
มาตรา 97 บริษัทใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 98 บริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 40 มาตรา 43 มาตรา 46 มาตรา 47 หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 45 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 99 บริษัทใดไม่ยอมให้ผู้มีส่วนได้เสียตรวจดูสมุดทะเบียนหรือไม่ยอมคัดสำเนารายการให้ตามที่ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอตามมาตรา 42 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 100 บริษัทใดจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งในการยื่นรายการหรือให้คำชี้แจงตามมาตรา 45 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา 101 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฎิบัติการตามมาตรา 48 หรือฝ่าฝืนคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา 48 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนี่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 102 บริษัทใดไม่ปฎิบัติตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 103 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 54 วรรคห้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 104 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 58 มาตรา 59 หรือมาตรา 60 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 105 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 106 ตัวแทนประกันชีวิตผู้ใดทำสัญญาประกันชีวิตโดยไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัทตามมาตรา 71 วรรคหนึ่ง หรือตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต หรือพนักงานของบริษัทผู้ใดรับเบี้ยประกันภัยโดยไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัทตามมาตรา 71 วรรคสองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 107 นายหน้าประกันชีวิตผู้ใดไม่มีสำนักงานตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต หรือตามที่ได้แจ้งการย้ายสำนักงานไว้ต่อนายทะเบียนตามมาตรา 74 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา 108 นายหน้าประกันชีวิตผู้ใดย้ายสำนักงานโดยไม่แจ้งต่อนายทะเบียนตามมาตรา 74 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 109 นายหน้าประกันชีวิตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง หรือไม่ลงรายการในสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีตามมาตรา 75 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทและปรับอีกไม่เกินวันละสองพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 110 นายหน้าประกันชีวิตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 76 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา 111 นายหน้าประกันชีวิตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งเรียกตามมาตรา 80 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 112 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฎิบัติการตามมาตรา 80 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 113 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 83 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 114 ในกรณีที่บริษัทใดจงใจกระทำความผิดเพราะฝ่าฝืนมาตรา 23 มาตรา 28 หรือมาตรา 36 หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา 45 กรรมการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของบริษัทนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้นด้วย
มาตรา 115 ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ในการดำเนินงานของบริษัท กรรมการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในบริษัทกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามบทบัญญัติในหมวด 1 หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 หรือหมวด 7 ของลักษณะ 12 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือมาตรา 40 มาตรา 41 หรือมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 หรือมาตรา 215 หรือมาตรา 216 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535
(2) ในการสอบบัญชีของบริษัท ผู้สอบบัญชีผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 269 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499
(3) ผู้ใดเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดหรือเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม (1) หรือ (2)
ให้ถือว่ากรมการประกันภัยเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในความผิดตามมาตรานี้ เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ให้พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกทรัพย์สิน หรือราคา หรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแทนผู้ได้รับความเสียหายด้วย ในการนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 116 ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 115 และกรมการประกันภัยเห็นว่าหากปล่อยเนิ่นช้าไว้อาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชนให้กรมการประกันภัยมีอำนาจสั่งยืดหรืออายัดทรัพย์สินของบุคคลนั้นหรือทรัพย์สินซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นของบุคคลนั้น แต่จะยืดหรืออายัดทรัพย์สินไว้เกินกว่าหกเดือนไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาลให้คำสั่งยึดหรืออายัดดังกล่าวคงมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น ในกรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องคดีได้ภายในหกเดือน ศาลที่มีเขตอำนาจจะสั่งขยายระยะเวลาออกไปอีกตามคำขอของกรมการประกันภัยก็ได้
ให้กรมการประกันภัยมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมการประกันภัย เป็นผู้ดำเนินการยืดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง
การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลดังกล่าวจะหลบหนีออกนอกราชอาณาจักร เมื่อกรมการประกันภัยร้องขอ ให้ศาลอาญามีอำนาจสั่งห้ามมิให้บุคลนั้นออกนอกราชอาณาจักรไว้ก่อนได้ ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน เมื่ออธิบดีกรมตำรวจมีอำนาจสั่งห้ามมิให้บุคคลนั้นออกนอกราชอาณาจักรไวั้ก่อนเป็นชั่วคราวได้เป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวันจนกว่าศาลอาญาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของศาลอาญาหรืออธิบดีกรมตำรวจที่สั่งตามวรรคสี่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
มาตรา 117 ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ยกเว้นมาตรา 91 และมาตรา 116 ให้คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้
คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้มีจำนวนสามคนและคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน
--ราชกิจจานุเบกษา--
บทกำหนดโทษ
_________
มาตรา 89 บริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 8 วรรคห้า มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 17 มาตรา 21 หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 7 วรรคสี่ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง หรือเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา 33 (9) วรรคสอง หรือมาตรา 34 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และถ้าเป็นกรณีกระทำความผิดต่อเนื่อง ให้ปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 90 บริษัทใดไม่ตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้น หรือไม่แจ้งผู้ถือหุ้นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 12 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาทในกรณีที่เป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องให้ปรับวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 91 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 18 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปีหรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละสองหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 92 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 19 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 93 บริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23 มาตรา 28 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 53 มาตรา 54 หรือไม่วางเงินสำรองประกันภัยตามมาตรา 24 หรือไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดที่รัฐมนตรีประกาศมาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และถ้าเป็นกรณีการกระทำความผิดต่อเนื่อง ให้ปรับอีกไม่เกินวันละสองหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 94 ผู้ใดผ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา 95 บริษัทใดออกกรมธรรม์ประกันภัยหรือเอกสารประกอบหรือแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยโดยฝ่าฝืนมาตรา 29 หรือกำหนดอัตราดอกเบี้ยประกันภัยโดยฝ่าผืนมาตรา 30 หรือฝ่าผืนมาตรา 31 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 32 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 96 บริษัทใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 39 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมี่นบาท
มาตรา 97 บริษัทใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 98 บริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 40 มาตรา 43 มาตรา 46 มาตรา 47 หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 45 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 99 บริษัทใดไม่ยอมให้ผู้มีส่วนได้เสียตรวจดูสมุดทะเบียนหรือไม่ยอมคัดสำเนารายการให้ตามที่ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอตามมาตรา 42 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 100 บริษัทใดจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งในการยื่นรายการหรือให้คำชี้แจงตามมาตรา 45 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา 101 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฎิบัติการตามมาตรา 48 หรือฝ่าฝืนคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา 48 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนี่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 102 บริษัทใดไม่ปฎิบัติตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 103 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 54 วรรคห้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 104 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 58 มาตรา 59 หรือมาตรา 60 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 105 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 106 ตัวแทนประกันชีวิตผู้ใดทำสัญญาประกันชีวิตโดยไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัทตามมาตรา 71 วรรคหนึ่ง หรือตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต หรือพนักงานของบริษัทผู้ใดรับเบี้ยประกันภัยโดยไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัทตามมาตรา 71 วรรคสองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 107 นายหน้าประกันชีวิตผู้ใดไม่มีสำนักงานตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต หรือตามที่ได้แจ้งการย้ายสำนักงานไว้ต่อนายทะเบียนตามมาตรา 74 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา 108 นายหน้าประกันชีวิตผู้ใดย้ายสำนักงานโดยไม่แจ้งต่อนายทะเบียนตามมาตรา 74 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 109 นายหน้าประกันชีวิตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง หรือไม่ลงรายการในสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีตามมาตรา 75 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทและปรับอีกไม่เกินวันละสองพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 110 นายหน้าประกันชีวิตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 76 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา 111 นายหน้าประกันชีวิตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งเรียกตามมาตรา 80 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 112 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฎิบัติการตามมาตรา 80 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 113 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 83 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 114 ในกรณีที่บริษัทใดจงใจกระทำความผิดเพราะฝ่าฝืนมาตรา 23 มาตรา 28 หรือมาตรา 36 หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา 45 กรรมการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของบริษัทนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้นด้วย
มาตรา 115 ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ในการดำเนินงานของบริษัท กรรมการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในบริษัทกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามบทบัญญัติในหมวด 1 หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 หรือหมวด 7 ของลักษณะ 12 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือมาตรา 40 มาตรา 41 หรือมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 หรือมาตรา 215 หรือมาตรา 216 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535
(2) ในการสอบบัญชีของบริษัท ผู้สอบบัญชีผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 269 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499
(3) ผู้ใดเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดหรือเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม (1) หรือ (2)
ให้ถือว่ากรมการประกันภัยเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในความผิดตามมาตรานี้ เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ให้พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกทรัพย์สิน หรือราคา หรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแทนผู้ได้รับความเสียหายด้วย ในการนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 116 ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 115 และกรมการประกันภัยเห็นว่าหากปล่อยเนิ่นช้าไว้อาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชนให้กรมการประกันภัยมีอำนาจสั่งยืดหรืออายัดทรัพย์สินของบุคคลนั้นหรือทรัพย์สินซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นของบุคคลนั้น แต่จะยืดหรืออายัดทรัพย์สินไว้เกินกว่าหกเดือนไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาลให้คำสั่งยึดหรืออายัดดังกล่าวคงมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น ในกรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องคดีได้ภายในหกเดือน ศาลที่มีเขตอำนาจจะสั่งขยายระยะเวลาออกไปอีกตามคำขอของกรมการประกันภัยก็ได้
ให้กรมการประกันภัยมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมการประกันภัย เป็นผู้ดำเนินการยืดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง
การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลดังกล่าวจะหลบหนีออกนอกราชอาณาจักร เมื่อกรมการประกันภัยร้องขอ ให้ศาลอาญามีอำนาจสั่งห้ามมิให้บุคลนั้นออกนอกราชอาณาจักรไว้ก่อนได้ ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน เมื่ออธิบดีกรมตำรวจมีอำนาจสั่งห้ามมิให้บุคคลนั้นออกนอกราชอาณาจักรไวั้ก่อนเป็นชั่วคราวได้เป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวันจนกว่าศาลอาญาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของศาลอาญาหรืออธิบดีกรมตำรวจที่สั่งตามวรรคสี่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
มาตรา 117 ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ยกเว้นมาตรา 91 และมาตรา 116 ให้คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้
คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้มีจำนวนสามคนและคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน
--ราชกิจจานุเบกษา--