หมวด 2
การควบคุมบริษัท
_________
มาตรา 28 นอกจากการประกันวินาศภัย บริษัทจะลงทุนประกอบธุรกิจอื่นใดได้เฉพาะที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ในการนี้รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขสำหรับการประกอบธุรกิจนั้นๆ ให้บริษัทปฏิบัติด้วยก็ได้
มาตรา 29 กรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ รวมทั้งเอกสารประกอบหรือแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยด้วย
แบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อนายทะเบียนเห็นสมควรหรือเมื่อบริษัทร้องขอ นายทะเบียนจะสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือยกเลิกแบบหรือข้อความนั้นบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้
ในกรณีที่บริษัทออกกรมธรรม์ประกันภัยแตกต่างไปจากแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีสิทธิเลือกให้บริษัทต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามแบบกรมธรรม์ประกันภัยหรือข้อความที่บริษัทออกให้นั้น หรือตามแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้วก็ได้ และไม่ว่าผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะใช้สิทธิดังกล่าวนี้ประการใดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นเหตุให้บริษัทพ้นความผิดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่บริษัทออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยใช้แบบหรือข้อความที่นายทะเบียนมิได้ให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ผู้เอาประกันภัยจะเลือกให้บริษัทต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้น หรือจะบอกเลิกสัญญาประกันภัยนั้นเสียและให้บริษัทคืนเบี้ยประกันภัยทั้งสิ้นที่ได้ชำระไว้แล้วแก่บริษัทก็ได้ และไม่ว่าผู้เอาประกันจะใช้สิทธิดังกล่าวนี้ประการใด หรือไม่ ย่อมไม่เป็นเหตุให้บริษัทพ้นความผิดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 30 อัตราเบี้ยประกันภัยที่บริษัทกำหนด จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนอัตราเบี้ยประกันภัยที่นายทะเบียนเห็นชอบไว้แล้ว เมื่อนายทะเบียนเห็นสมควรหรือเมื่อบริษัทร้องขอนายทะเบียนจะสั่งให้เปลี่ยนอัตรานั้นเสียใหม่ก็ได้ การเปลี่ยนอัตราใหม่ไม่มีผลกระทบกระเทือนกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้ก่อนแล้ว
มาตรา 31 ห้ามมิให้บริษัทกระทำการดังต่อไปนี้
(1) ประกอบธุรกิจประกันชีวิต
(2) รับประกันวินาศภัยเกินกว่าจำนวนดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน
(ก) รับประกันอัคคีภัยรายเดียวหรือหลายรายรวมกันเพื่อวินาศภัยอันเดียวกันภายในเขตที่นายทะเบียนกำหนด ทั้งนี้โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยเกินกว่าร้อยละสิบของเงินกองทุน
(ข) รับประกันวินาศภัยยานพาหนะทางบก ทางน้ำ ทางอากาศและบุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในยานพาหนะนั้น และการประกันภัยค้ำจุนเพื่อวินาศภัยอันเดียวกัน ทั้งนี้ โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยแต่ละยานพาหนะเกินกว่าร้อยละสิบของเงินกองทุน
(ค) รับประกันวินาศภัยอื่นนอกจาก (ก) หรือ (ข) โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยรายหนึ่งเกินกว่าร้อยละสิบของเงินกองทุน
(3) ลดทุนโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
(4) ฝากเงินไว้ที่อื่นนอกจากที่ธนาคาร บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
(5) เก็บเงินสดไว้ที่อื่นนอกจากเก็บไว้ที่สำนักงานของบริษัท
(6) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดให้แก่กรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทเพื่อเป็นค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนสำหรับ หรือเนื่องจากธุรกิจหรือการกระทำใดๆ เว้นแต่เป็นการจ่ายบำเหน็จ เงินเดือน โบนัส หรือเงินอย่างอื่นที่พึงจ่ายตามปกติ
(7) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดให้แก่ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย นอกจากเงินค่าจ้างหรือบำเหน็จที่พึงจ่ายตามปกติ
(8) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใด เป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัท
(9) จ่ายบำเหน็จให้แก่บุคคลที่ช่วยให้มีการทำสัญญาประกันภัย ซึ่งมิใช่ตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยของบริษัท
(10) ซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่
(ก) เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบธุรกิจหรือสำหรับใช้เพื่อสวัสดิการของพนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทตามสมควร
(ข) เพื่อใช้สำหรับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 28
(ค) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทได้มาจากการรับชำระหนี้หรือจากการบังคับจำนอง
การซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) หรือ (ข) หรือการได้อสังหาริมทรัพย์มาจากการรับชำระหนี้ตาม (ค) ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ในการอนุญาตนายทะเบียนจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ไว้ด้วยก็ได้
(11) ให้ประโยชน์เป็นพิเศษแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
(12) รับชำระเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยลดลงต่ำกว่าจำนวนที่ต้องชำระ
(13) ตั้งหรือมอบหมายบุคคลอื่นนอกจากตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินเป็นผู้รับชำระเบี้ยประกันภัย
(14) ออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่มีลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันบริษัทและไม่ได้ประทับตราของบริษัทตามที่ได้จดทะเบียนไว้ หรือไม่มีลายมือชื่อของผู้จัดการสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและไม่ได้ประทับตราของบริษัทนั้นด้วย ถ้ามี
(15) โฆษณาจูงใจอันเป็นเท็จหรือเกินความจริงเกี่ยวกับบริษัทหรือธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท
(16) ตั้งหรือมอบหมายบุคคลอื่นนอกจากตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทไปชักชวนชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการกระทำของกรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทซึ่งกระทำการในนามบริษัท หรือ
(17) ขายหรือให้อสังหาริมทรัพย์ใดๆ หรือสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่นายทะเบียนกำหนดแก่กรรมการ หรือซื้อทรัพย์สินจากกรรมการ ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการและได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
มาตรา 32 คำสั่งของนายทะเบียนที่ไม่อนุญาตตามมาตรา 31 (2) ให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
มาตรา 33 บริษัทต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ตกเป็นของบริษัทตามมาตรา 31 (10) ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทมีไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบธุรกิจหรือสำหรับใช้เพื่อสวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท หรือเพื่อใช้สำหรับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นตามมาตร 31 (10) (ก) หรือ (ข) ถ้ามิได้ใช้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวแล้ว ให้จำหน่ายภายในเก้าปีนับแต่วันที่เลิกใช้
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทได้มาจากการรับชำระหนี้ หรือบังคับจำนองตามาตรา 31 (10)(ค) ให้จำหน่ายภายในเก้าปีนับแต่วันที่ได้มา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้เพื่อใช้ในกิจการตามมาตรา 31 (10) (ก) หรือ (ข)
กำหนดระยะเวลาที่กำหนดตาม (1) และ (2) นายทะเบียนอาจขยายให้อีกได้ไม่เกินสามปีเมื่อบริษัทร้องขอก่อนสิ้นระยะเวลานั้นโดยมีเหตุผลอันสมควร ในการอนุญาตนายทะเบียนจะกำหนดไขใด ๆ ให้ปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 34 ห้ามมิให้บริษัทตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของบริษัท
(1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
(3) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทในช่วงเวลาที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยหรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต
(4) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทอื่นที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(5) ถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทตามมาตรา 53
(6) เป็นข้าราชการการเมือง
(7) เป็นข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัท เว้นแต่เป็นกรณีของบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานของบริษัท หรือเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 53
มาตรา 35 ห้ามมิให้บริษัทแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลใดนอกจากกรรมการ พนักงาน หรือ ลูกจ้างของบริษัททำการรับประกันวินาศภัย รับเบี้ยประกันภัย และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรมธรรม์ประกันภัยไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด นอกจากการประกันต่อ
มาตรา 36 ห้ามมิให้บริษัทประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายหรือคืนแก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือจ่าย หรือคืนไปโดยไม่สุจริต
การกระทำหรือการปฎิบัติการใด ๆ ของบริษัทที่จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 37 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนมีอำนาจประกาศกำหนดให้บริษัทปฏิบัติการใด ๆ ในเรื่องต่อไปนี้ได้
(1) การเก็บเบี้ยประกันภัย
(2) การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท
(3) การประกันต่อ
(4) การจำแนกประเภทค่าใช้จ่าย
(5) การจัดสรรเงินสำรองเพื่อการเสี่ยงภัยไว้เป็นประเภท ๆ
(6) อัตราค่าจ้างหรือบำเหน็จสำหรับตัวแทนประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันวินาศภัยตามประเภทของการประกันวินาศภัย
(7) แบบ ขนาด ตัวอักษร ภาษาที่ใช้ และข้อความของหนังสือมอบอำนาจของบริษัท รวมทั้งเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัท
มาตรา 38 ในการติดต่อกับประชาชน บริษัทต้องเปิดทำการตามวันและเวลาที่นายทะเบียนประกาศกำหนด แต่ทั้งนี้ บริษัทจะเปิดทำการเกินกว่าที่กำหนดก็ได้
มาตรา 39 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัย เมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใด ให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น
มาตรา 40 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับรายการตามมาตรา 39 และเห็นสมควรจะกระทำการตรวจสอบเพื่อทราบราคาทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ก็ให้กระทำได้ในการนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ตั้งของทรัพย์สินนั้นในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตกได้ตามที่เห็นสมควรและให้มีอำนาจตรวจและเรียกให้ส่งเอกสารรวมทั้งหลักฐานใด ๆเพื่อประโยชน์แก่การที่จะทราบราคาอันแท้จริงของทรัพย์สินนั้น
ผู้เอาประกันภัยหรือผู้เกี่ยวข้อง ต้องให้ความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความสะดวกตามวรรคสองจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำการตรวจสอบได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน ในกรณีเช่นว่านี้ เมื่อนายทะเบียนเห็นสมควร นายทะเบียนจะมีคำสั่งให้สัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้นเป็นอันระงับสิ้นไปก็ได้ คำสั่งของนายทะเบียนให้กำหนดวันที่ให้สัญญาประกันอัคคีภัยระงับสิ้นไป ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามวันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง และให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งนั้นไปยังบริษัทและผู้เอาประกันภัยโดยพลัน เมื่อนายทะเบียนได้มีคำสั่งเช่นว่านี้ให้สัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้นระงับสิ้นไปในวันที่นายทะเบียนกำหนดนั้น
ในกรณีที่สัญญาประกันอัคคีภัยระงับสิ้นไปตามวรรคสาม ในส่วนที่เกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผู้เอาประกัน ให้ถือเสมือนว่าการระงับสิ้นไปแห่งสัญญาประกันอัคคีภัยนั้นได้ระงับสิ้นไป เพราะผู้เอาประกันภัยบอกเลิกสัญญา
มาตรา 41 ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบตามมาตรา 39 ว่า ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่เอาประกันภัยมากถึงขนาดที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าต่ำเกินสมควร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานผลการตรวจสอบนั้นต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ปรากฏผลการตรวจสอบ ในกรณีเช่นนี้ถ้านายทะเบียนเห็นเป็นการสมควร ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ลดจำนวนเงินที่เอาประกันภัยลงเท่าที่นายทะเบียนเห็นสมควรไปยังบริษัทและผู้เอาประกันภัยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่จำนวนเงินเอาประกันภัยที่ลดลงแล้วนั้น ต้องไม่ต่ำกว่าราคาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามที่ปรากฏในการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 42 เมื่อได้มีคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 41 แล้ว
(1) ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้นเสียได้ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียน และเมื่อได้บอกเลิกแล้วให้บริษัทคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาที่เอาประกันภัยนั้น
(2) ถ้าผู้เอาประกันมิได้บอกสัญญาประกันอัคคีภัยตาม (1) ให้ถือว่าการประกันภัยรายนั้น มีจำนวนเงินที่เอาประกันภัยตามที่นายทะเบียนได้มีคำสั่งให้ลดลงแล้วนั้น ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง และให้บริษัทกำหนดเบี้ยประกันภัย สำหรับระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยเท่าที่ได้ลดลงแล้วนั้น และให้คืนเบี้ยประกันภัยส่วนที่เกินให้แก่ผู้เอาประกันภัย ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง
มาตรา 43 ในกรณีที่วินาศภัยเกิดแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีเหตุอันควรสงสัยว่าวินาศภัยนั้นเกิดขึ้นด้วยความทุจริตของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ให้พนักงานสอบสวนแล้วเหตุที่สงสัยนั้นไปยังนายทะเบียน ในกรณีเช่นนี้ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งไปยังบริษัทให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยรายที่สงสัยนั้นไว้ เมื่อเหตุอันควรสงสัยนั้นหมดไปแล้วให้นายทะเบียนถอนคำสั่งนั้นเสีย และแจ้งการถอนคำสั่งนั้นไปยังบริษัทและผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
ในกรณีที่นายทะเบียนออกคำสั่งให้งดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระงับอยู่นับแต่วันที่นายทะเบียนออกคำสั่งจนถึงวันถอนคำสั่งนั้น
มาตรา 44 ให้บริษัทจัดทำสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทตามแบบและรายการที่นายทะเบียนกำหนด
เมื่อมีเหตุจะต้องลงในสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีของบริษัทเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทให้บริษัทลงรายการที่เกี่ยวกับเหตุนั้นในสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ไม่ช้ากว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุอันจะต้องลงรายการนั้น
มาตรา 45 ให้บริษัทเก็บรักษาสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีตามมาตรา 44 ไว้ที่สำนักงานของบริษัทไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในสมุดทะเบียนหรือสมุดบัญชีนั้นหรือนับแต่วันที่บริษัทพ้นจากความรับผิดตามรายการที่มีความรับผิดหลังสุด ทั้งนี้ แล้วแต่อย่างใดจะยาวกว่า
มาตรา 46 ผู้มีส่วนได้เสียจะขอตรวจดูสมุดทะเบียนตามมาตรา 44 เฉพาะรายการที่ตนเกี่ยวข้องหรือจะขอให้บริษัทคัดสำเนารายการดังกล่าวโดยรับรองว่าถูกต้องด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ต้องเสียค่าบริการตามที่นายทะเบียนกำหนด
มาตรา 47 บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทสำหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงแล้วต่อนายทะเบียน ตามแบบและรายงานที่นายทะเบียนกำหนดภายในห้าเดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
สำหรับบริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ต้องส่งรายงานประจำปีของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ตนเป็นสาขาด้วยภายในห้าเดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศนั้น
รายงานประจำปีตามมาตรานี้ ต้องมีการรับรองโดยผู้สอบบัญชีด้วย
มาตรา 48 ถ้าปรากฏว่ารายงานประจำปีที่บริษัทส่งตามมาตรา 47 วรรคหนึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่มีรายการครบถ้วยบริบูรณ์ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบด้วนบริบูรณ์ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด
ในกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบริษัทมิได้ส่งรายงานประจำปีตามมาตรา 47
มาตรา 49 ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัทยื่นรายงานหรือเอกสารใด ๆ ตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราว ตามแบบและรายการที่นายทะเบียนกำหนดก็ได้ และนายทะเบียนจะให้ทำคำชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้
รายงานหรือเอกสารที่ยื่นหรือแสดงหรือทำคำชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความตามวรรคหนึ่งบริษัทต้องทำให้ครบถ้วนตรงต่อความเป็นจริง
มาตรา 50 ให้บริษัทประกาศรายการย่อตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่ในวันสิ้นปีปฏิทินภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งรายงานประจำปีตามมาตรา 47 ในหนังสือพิมพ์รายวันที่ออกจำหน่ายในท้องถิ่นที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่อย่างน้อยหนึ่งฉบับมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามวัน และให้ปิดประกาศไว้ในที่ที่เปิดเผย ณ สำนกงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัทไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนด้วย
มาตรา 51 ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของบริษัท และเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ
(1) เข้าไปในสำนักงานของบริษัทในระหว่างเวลาทำการเพื่อทราบข้อเท็จในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานอื่นๆ จากกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทและสอบถามบุคคลดังกล่าวได้
(2) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจของบริษัท หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสมุดบัญชี เอกสาร หรือดวงตรา หรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัท เพื่อตรวจสอบหรือประเมินราคาทรัพย์สินของบริษัท ในระหว่างเวลาทำการหรือในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
(3) สั่งให้บริษัทหรือผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่น ๆ
(4) เรียกบุคคลดังกล่าวใน (1) หรือ (3) มาให้ถ้อยคำหรือจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการได้
ในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา 52 เมื่อปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัทใดมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด ในการนี้จะสั่งให้เพิ่มทุนหรือลดทุนหรือจะสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้
ในกรณีที่บริษัทใดไม่เพิ่มทุนหรือลดทุนภายในกำหนดเวลาที่นายทะเบียนสั่งตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาตามคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าว
ในกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องให้บริษัทใดเพิ่มทุนหรือลดทุนเพื่อให้บริษัทนั้นสามารถพยุงฐานะและการดำเนินการต่อไปได้ นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีจะสั่งบริษัทเพิ่มทุนหรือลดทุนทันทีก็ได้ โดยให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ในการเพิ่มทุนหรือลดทุนตามวรรคสองหรือวรรคสาม มิให้นำมาตรา 1220 มาตรา 1224 มาตรา 1225 และมาตรา 1226 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 136 วรรคสอง (2) มาตรา 139 และมาตรา 141 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับ
มาตรา 53 เมื่อปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัทใดมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน หรือกรรมการหรือบุคคลซึ่งผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทใด ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 52 นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นถอดถอนกรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้
ในกรณีที่นายทะเบียนสั่งถอดถอนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทนั้นแต่งตั้งบุคคลอื่นโดยความเห็นชอบจากนายทะเบียนเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันถอดถอน
ในกรณีที่บริษัทใดไม่ถอดถอนบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือถอดถอนแล้วไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นเจ้าดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคสอง นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งถอดถอนบุคคลดังกล่าวหรือแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนไปดำรงตำแหน่งเป็นเวลาไม่เกินสามปีและมิให้นำความในมาตรา 34 (4) มาใช้บังคับ
ให้ผู้ซึ่งนายทะเบียนแต่งตั้งตามวรรคสามได้รับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยให้จ่ายจากทรัพย์สินของบริษัทนั้น และในระหว่างเวลาที่บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งอยู่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจะมีมติเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปบงคำสั่งของนายทะเบียนมิได้
บุคคลซึ่งถูกถอดถอนตามคำสั่งของนายทะเบียนจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการใด ๆ ในบริษัทนั้นไม่ได้ไม่ว่าโดยทางตรงและทางอ้อม
ให้ถือว่าคำสั่ง่ของนายทะเบียนที่ให้ถอดถอนหรือแต่งตั้งตามมาตรานี้เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มาตรา 54 ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 52 ห้ามมิให้กรรมการ พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทสั่งจ่ายเงินของบริษัท หรือทำการเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัท เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทตามปกติ สำหรับการจ่ายเงินอื่นให้เป็นไปตามที่นายทะเบียนกำหนด
ให้บริษัทที่ได้รับคำสั่งของนายทะเบียนให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 52 รายงานเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบถึงบรรดาเจ้าหนี้และลูกหนี้และลูกหนี้ทั้งหมดของบริษัทภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด
มาตรา 55 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องขอ
มาตรา 56 ผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะตรวจดูสมุดทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวแก่สมุดทะเบียนที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ และขอคำสำเนาโดยมีคำรับรองของนายทะเบียนได้ โดยยื่นขอต่อนายทะเบียนตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด
มาตรา 57 เมื่อบริษัทใดประสงค์จะเลิกกิจการให้บริษัทนั้นแจ้งความประสงค์ที่จะเลิกกิจการต่อนายทะเบียนให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามเดือนก่อนเลิกกิจการ
ในกรณีที่บริษัทซึ่งเป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศเลิกกิจการให้มีการชำระบัญชี ในการชำระบัญชีนั้นให้นำความในมาตรา 60 มาตรา 61 และมาตรา 62 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 58 ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย หากมิได้เรียกร้องจากบริษัทจนล่วงพ้นอายุความแล้วให้บริษัทนำส่งเงินดังกล่าวเข้ากองทุนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ครบกำหนดอายุความ
--ราชกิจจานุเบกษา--
การควบคุมบริษัท
_________
มาตรา 28 นอกจากการประกันวินาศภัย บริษัทจะลงทุนประกอบธุรกิจอื่นใดได้เฉพาะที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ในการนี้รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขสำหรับการประกอบธุรกิจนั้นๆ ให้บริษัทปฏิบัติด้วยก็ได้
มาตรา 29 กรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ รวมทั้งเอกสารประกอบหรือแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยด้วย
แบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อนายทะเบียนเห็นสมควรหรือเมื่อบริษัทร้องขอ นายทะเบียนจะสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือยกเลิกแบบหรือข้อความนั้นบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้
ในกรณีที่บริษัทออกกรมธรรม์ประกันภัยแตกต่างไปจากแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีสิทธิเลือกให้บริษัทต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามแบบกรมธรรม์ประกันภัยหรือข้อความที่บริษัทออกให้นั้น หรือตามแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้วก็ได้ และไม่ว่าผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะใช้สิทธิดังกล่าวนี้ประการใดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นเหตุให้บริษัทพ้นความผิดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่บริษัทออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยใช้แบบหรือข้อความที่นายทะเบียนมิได้ให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ผู้เอาประกันภัยจะเลือกให้บริษัทต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้น หรือจะบอกเลิกสัญญาประกันภัยนั้นเสียและให้บริษัทคืนเบี้ยประกันภัยทั้งสิ้นที่ได้ชำระไว้แล้วแก่บริษัทก็ได้ และไม่ว่าผู้เอาประกันจะใช้สิทธิดังกล่าวนี้ประการใด หรือไม่ ย่อมไม่เป็นเหตุให้บริษัทพ้นความผิดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 30 อัตราเบี้ยประกันภัยที่บริษัทกำหนด จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนอัตราเบี้ยประกันภัยที่นายทะเบียนเห็นชอบไว้แล้ว เมื่อนายทะเบียนเห็นสมควรหรือเมื่อบริษัทร้องขอนายทะเบียนจะสั่งให้เปลี่ยนอัตรานั้นเสียใหม่ก็ได้ การเปลี่ยนอัตราใหม่ไม่มีผลกระทบกระเทือนกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้ก่อนแล้ว
มาตรา 31 ห้ามมิให้บริษัทกระทำการดังต่อไปนี้
(1) ประกอบธุรกิจประกันชีวิต
(2) รับประกันวินาศภัยเกินกว่าจำนวนดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน
(ก) รับประกันอัคคีภัยรายเดียวหรือหลายรายรวมกันเพื่อวินาศภัยอันเดียวกันภายในเขตที่นายทะเบียนกำหนด ทั้งนี้โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยเกินกว่าร้อยละสิบของเงินกองทุน
(ข) รับประกันวินาศภัยยานพาหนะทางบก ทางน้ำ ทางอากาศและบุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในยานพาหนะนั้น และการประกันภัยค้ำจุนเพื่อวินาศภัยอันเดียวกัน ทั้งนี้ โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยแต่ละยานพาหนะเกินกว่าร้อยละสิบของเงินกองทุน
(ค) รับประกันวินาศภัยอื่นนอกจาก (ก) หรือ (ข) โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยรายหนึ่งเกินกว่าร้อยละสิบของเงินกองทุน
(3) ลดทุนโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
(4) ฝากเงินไว้ที่อื่นนอกจากที่ธนาคาร บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
(5) เก็บเงินสดไว้ที่อื่นนอกจากเก็บไว้ที่สำนักงานของบริษัท
(6) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดให้แก่กรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทเพื่อเป็นค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนสำหรับ หรือเนื่องจากธุรกิจหรือการกระทำใดๆ เว้นแต่เป็นการจ่ายบำเหน็จ เงินเดือน โบนัส หรือเงินอย่างอื่นที่พึงจ่ายตามปกติ
(7) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดให้แก่ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย นอกจากเงินค่าจ้างหรือบำเหน็จที่พึงจ่ายตามปกติ
(8) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใด เป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัท
(9) จ่ายบำเหน็จให้แก่บุคคลที่ช่วยให้มีการทำสัญญาประกันภัย ซึ่งมิใช่ตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยของบริษัท
(10) ซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่
(ก) เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบธุรกิจหรือสำหรับใช้เพื่อสวัสดิการของพนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทตามสมควร
(ข) เพื่อใช้สำหรับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 28
(ค) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทได้มาจากการรับชำระหนี้หรือจากการบังคับจำนอง
การซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) หรือ (ข) หรือการได้อสังหาริมทรัพย์มาจากการรับชำระหนี้ตาม (ค) ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ในการอนุญาตนายทะเบียนจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ไว้ด้วยก็ได้
(11) ให้ประโยชน์เป็นพิเศษแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
(12) รับชำระเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยลดลงต่ำกว่าจำนวนที่ต้องชำระ
(13) ตั้งหรือมอบหมายบุคคลอื่นนอกจากตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินเป็นผู้รับชำระเบี้ยประกันภัย
(14) ออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่มีลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันบริษัทและไม่ได้ประทับตราของบริษัทตามที่ได้จดทะเบียนไว้ หรือไม่มีลายมือชื่อของผู้จัดการสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและไม่ได้ประทับตราของบริษัทนั้นด้วย ถ้ามี
(15) โฆษณาจูงใจอันเป็นเท็จหรือเกินความจริงเกี่ยวกับบริษัทหรือธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท
(16) ตั้งหรือมอบหมายบุคคลอื่นนอกจากตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทไปชักชวนชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการกระทำของกรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทซึ่งกระทำการในนามบริษัท หรือ
(17) ขายหรือให้อสังหาริมทรัพย์ใดๆ หรือสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่นายทะเบียนกำหนดแก่กรรมการ หรือซื้อทรัพย์สินจากกรรมการ ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการและได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
มาตรา 32 คำสั่งของนายทะเบียนที่ไม่อนุญาตตามมาตรา 31 (2) ให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
มาตรา 33 บริษัทต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ตกเป็นของบริษัทตามมาตรา 31 (10) ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทมีไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบธุรกิจหรือสำหรับใช้เพื่อสวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท หรือเพื่อใช้สำหรับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นตามมาตร 31 (10) (ก) หรือ (ข) ถ้ามิได้ใช้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวแล้ว ให้จำหน่ายภายในเก้าปีนับแต่วันที่เลิกใช้
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทได้มาจากการรับชำระหนี้ หรือบังคับจำนองตามาตรา 31 (10)(ค) ให้จำหน่ายภายในเก้าปีนับแต่วันที่ได้มา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้เพื่อใช้ในกิจการตามมาตรา 31 (10) (ก) หรือ (ข)
กำหนดระยะเวลาที่กำหนดตาม (1) และ (2) นายทะเบียนอาจขยายให้อีกได้ไม่เกินสามปีเมื่อบริษัทร้องขอก่อนสิ้นระยะเวลานั้นโดยมีเหตุผลอันสมควร ในการอนุญาตนายทะเบียนจะกำหนดไขใด ๆ ให้ปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 34 ห้ามมิให้บริษัทตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของบริษัท
(1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
(3) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทในช่วงเวลาที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยหรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต
(4) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทอื่นที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(5) ถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทตามมาตรา 53
(6) เป็นข้าราชการการเมือง
(7) เป็นข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัท เว้นแต่เป็นกรณีของบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานของบริษัท หรือเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 53
มาตรา 35 ห้ามมิให้บริษัทแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลใดนอกจากกรรมการ พนักงาน หรือ ลูกจ้างของบริษัททำการรับประกันวินาศภัย รับเบี้ยประกันภัย และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรมธรรม์ประกันภัยไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด นอกจากการประกันต่อ
มาตรา 36 ห้ามมิให้บริษัทประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายหรือคืนแก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือจ่าย หรือคืนไปโดยไม่สุจริต
การกระทำหรือการปฎิบัติการใด ๆ ของบริษัทที่จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 37 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนมีอำนาจประกาศกำหนดให้บริษัทปฏิบัติการใด ๆ ในเรื่องต่อไปนี้ได้
(1) การเก็บเบี้ยประกันภัย
(2) การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท
(3) การประกันต่อ
(4) การจำแนกประเภทค่าใช้จ่าย
(5) การจัดสรรเงินสำรองเพื่อการเสี่ยงภัยไว้เป็นประเภท ๆ
(6) อัตราค่าจ้างหรือบำเหน็จสำหรับตัวแทนประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันวินาศภัยตามประเภทของการประกันวินาศภัย
(7) แบบ ขนาด ตัวอักษร ภาษาที่ใช้ และข้อความของหนังสือมอบอำนาจของบริษัท รวมทั้งเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัท
มาตรา 38 ในการติดต่อกับประชาชน บริษัทต้องเปิดทำการตามวันและเวลาที่นายทะเบียนประกาศกำหนด แต่ทั้งนี้ บริษัทจะเปิดทำการเกินกว่าที่กำหนดก็ได้
มาตรา 39 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัย เมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใด ให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น
มาตรา 40 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับรายการตามมาตรา 39 และเห็นสมควรจะกระทำการตรวจสอบเพื่อทราบราคาทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ก็ให้กระทำได้ในการนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ตั้งของทรัพย์สินนั้นในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตกได้ตามที่เห็นสมควรและให้มีอำนาจตรวจและเรียกให้ส่งเอกสารรวมทั้งหลักฐานใด ๆเพื่อประโยชน์แก่การที่จะทราบราคาอันแท้จริงของทรัพย์สินนั้น
ผู้เอาประกันภัยหรือผู้เกี่ยวข้อง ต้องให้ความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความสะดวกตามวรรคสองจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำการตรวจสอบได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน ในกรณีเช่นว่านี้ เมื่อนายทะเบียนเห็นสมควร นายทะเบียนจะมีคำสั่งให้สัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้นเป็นอันระงับสิ้นไปก็ได้ คำสั่งของนายทะเบียนให้กำหนดวันที่ให้สัญญาประกันอัคคีภัยระงับสิ้นไป ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามวันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง และให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งนั้นไปยังบริษัทและผู้เอาประกันภัยโดยพลัน เมื่อนายทะเบียนได้มีคำสั่งเช่นว่านี้ให้สัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้นระงับสิ้นไปในวันที่นายทะเบียนกำหนดนั้น
ในกรณีที่สัญญาประกันอัคคีภัยระงับสิ้นไปตามวรรคสาม ในส่วนที่เกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผู้เอาประกัน ให้ถือเสมือนว่าการระงับสิ้นไปแห่งสัญญาประกันอัคคีภัยนั้นได้ระงับสิ้นไป เพราะผู้เอาประกันภัยบอกเลิกสัญญา
มาตรา 41 ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบตามมาตรา 39 ว่า ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่เอาประกันภัยมากถึงขนาดที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าต่ำเกินสมควร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานผลการตรวจสอบนั้นต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ปรากฏผลการตรวจสอบ ในกรณีเช่นนี้ถ้านายทะเบียนเห็นเป็นการสมควร ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ลดจำนวนเงินที่เอาประกันภัยลงเท่าที่นายทะเบียนเห็นสมควรไปยังบริษัทและผู้เอาประกันภัยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่จำนวนเงินเอาประกันภัยที่ลดลงแล้วนั้น ต้องไม่ต่ำกว่าราคาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามที่ปรากฏในการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 42 เมื่อได้มีคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 41 แล้ว
(1) ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้นเสียได้ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียน และเมื่อได้บอกเลิกแล้วให้บริษัทคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาที่เอาประกันภัยนั้น
(2) ถ้าผู้เอาประกันมิได้บอกสัญญาประกันอัคคีภัยตาม (1) ให้ถือว่าการประกันภัยรายนั้น มีจำนวนเงินที่เอาประกันภัยตามที่นายทะเบียนได้มีคำสั่งให้ลดลงแล้วนั้น ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง และให้บริษัทกำหนดเบี้ยประกันภัย สำหรับระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยเท่าที่ได้ลดลงแล้วนั้น และให้คืนเบี้ยประกันภัยส่วนที่เกินให้แก่ผู้เอาประกันภัย ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่ง
มาตรา 43 ในกรณีที่วินาศภัยเกิดแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีเหตุอันควรสงสัยว่าวินาศภัยนั้นเกิดขึ้นด้วยความทุจริตของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ให้พนักงานสอบสวนแล้วเหตุที่สงสัยนั้นไปยังนายทะเบียน ในกรณีเช่นนี้ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งไปยังบริษัทให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยรายที่สงสัยนั้นไว้ เมื่อเหตุอันควรสงสัยนั้นหมดไปแล้วให้นายทะเบียนถอนคำสั่งนั้นเสีย และแจ้งการถอนคำสั่งนั้นไปยังบริษัทและผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
ในกรณีที่นายทะเบียนออกคำสั่งให้งดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระงับอยู่นับแต่วันที่นายทะเบียนออกคำสั่งจนถึงวันถอนคำสั่งนั้น
มาตรา 44 ให้บริษัทจัดทำสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทตามแบบและรายการที่นายทะเบียนกำหนด
เมื่อมีเหตุจะต้องลงในสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีของบริษัทเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทให้บริษัทลงรายการที่เกี่ยวกับเหตุนั้นในสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ไม่ช้ากว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุอันจะต้องลงรายการนั้น
มาตรา 45 ให้บริษัทเก็บรักษาสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีตามมาตรา 44 ไว้ที่สำนักงานของบริษัทไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในสมุดทะเบียนหรือสมุดบัญชีนั้นหรือนับแต่วันที่บริษัทพ้นจากความรับผิดตามรายการที่มีความรับผิดหลังสุด ทั้งนี้ แล้วแต่อย่างใดจะยาวกว่า
มาตรา 46 ผู้มีส่วนได้เสียจะขอตรวจดูสมุดทะเบียนตามมาตรา 44 เฉพาะรายการที่ตนเกี่ยวข้องหรือจะขอให้บริษัทคัดสำเนารายการดังกล่าวโดยรับรองว่าถูกต้องด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ต้องเสียค่าบริการตามที่นายทะเบียนกำหนด
มาตรา 47 บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทสำหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงแล้วต่อนายทะเบียน ตามแบบและรายงานที่นายทะเบียนกำหนดภายในห้าเดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
สำหรับบริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ต้องส่งรายงานประจำปีของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ตนเป็นสาขาด้วยภายในห้าเดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศนั้น
รายงานประจำปีตามมาตรานี้ ต้องมีการรับรองโดยผู้สอบบัญชีด้วย
มาตรา 48 ถ้าปรากฏว่ารายงานประจำปีที่บริษัทส่งตามมาตรา 47 วรรคหนึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่มีรายการครบถ้วยบริบูรณ์ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบด้วนบริบูรณ์ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด
ในกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบริษัทมิได้ส่งรายงานประจำปีตามมาตรา 47
มาตรา 49 ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัทยื่นรายงานหรือเอกสารใด ๆ ตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราว ตามแบบและรายการที่นายทะเบียนกำหนดก็ได้ และนายทะเบียนจะให้ทำคำชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้
รายงานหรือเอกสารที่ยื่นหรือแสดงหรือทำคำชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความตามวรรคหนึ่งบริษัทต้องทำให้ครบถ้วนตรงต่อความเป็นจริง
มาตรา 50 ให้บริษัทประกาศรายการย่อตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่ในวันสิ้นปีปฏิทินภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งรายงานประจำปีตามมาตรา 47 ในหนังสือพิมพ์รายวันที่ออกจำหน่ายในท้องถิ่นที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่อย่างน้อยหนึ่งฉบับมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามวัน และให้ปิดประกาศไว้ในที่ที่เปิดเผย ณ สำนกงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัทไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนด้วย
มาตรา 51 ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของบริษัท และเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ
(1) เข้าไปในสำนักงานของบริษัทในระหว่างเวลาทำการเพื่อทราบข้อเท็จในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานอื่นๆ จากกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทและสอบถามบุคคลดังกล่าวได้
(2) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจของบริษัท หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสมุดบัญชี เอกสาร หรือดวงตรา หรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัท เพื่อตรวจสอบหรือประเมินราคาทรัพย์สินของบริษัท ในระหว่างเวลาทำการหรือในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
(3) สั่งให้บริษัทหรือผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่น ๆ
(4) เรียกบุคคลดังกล่าวใน (1) หรือ (3) มาให้ถ้อยคำหรือจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวยื่นคำชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการได้
ในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา 52 เมื่อปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัทใดมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด ในการนี้จะสั่งให้เพิ่มทุนหรือลดทุนหรือจะสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้
ในกรณีที่บริษัทใดไม่เพิ่มทุนหรือลดทุนภายในกำหนดเวลาที่นายทะเบียนสั่งตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาตามคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าว
ในกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องให้บริษัทใดเพิ่มทุนหรือลดทุนเพื่อให้บริษัทนั้นสามารถพยุงฐานะและการดำเนินการต่อไปได้ นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีจะสั่งบริษัทเพิ่มทุนหรือลดทุนทันทีก็ได้ โดยให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ในการเพิ่มทุนหรือลดทุนตามวรรคสองหรือวรรคสาม มิให้นำมาตรา 1220 มาตรา 1224 มาตรา 1225 และมาตรา 1226 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 136 วรรคสอง (2) มาตรา 139 และมาตรา 141 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับ
มาตรา 53 เมื่อปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัทใดมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน หรือกรรมการหรือบุคคลซึ่งผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทใด ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 52 นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นถอดถอนกรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้
ในกรณีที่นายทะเบียนสั่งถอดถอนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทนั้นแต่งตั้งบุคคลอื่นโดยความเห็นชอบจากนายทะเบียนเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันถอดถอน
ในกรณีที่บริษัทใดไม่ถอดถอนบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือถอดถอนแล้วไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นเจ้าดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคสอง นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งถอดถอนบุคคลดังกล่าวหรือแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนไปดำรงตำแหน่งเป็นเวลาไม่เกินสามปีและมิให้นำความในมาตรา 34 (4) มาใช้บังคับ
ให้ผู้ซึ่งนายทะเบียนแต่งตั้งตามวรรคสามได้รับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยให้จ่ายจากทรัพย์สินของบริษัทนั้น และในระหว่างเวลาที่บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งอยู่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจะมีมติเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปบงคำสั่งของนายทะเบียนมิได้
บุคคลซึ่งถูกถอดถอนตามคำสั่งของนายทะเบียนจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการใด ๆ ในบริษัทนั้นไม่ได้ไม่ว่าโดยทางตรงและทางอ้อม
ให้ถือว่าคำสั่ง่ของนายทะเบียนที่ให้ถอดถอนหรือแต่งตั้งตามมาตรานี้เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มาตรา 54 ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 52 ห้ามมิให้กรรมการ พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทสั่งจ่ายเงินของบริษัท หรือทำการเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัท เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทตามปกติ สำหรับการจ่ายเงินอื่นให้เป็นไปตามที่นายทะเบียนกำหนด
ให้บริษัทที่ได้รับคำสั่งของนายทะเบียนให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 52 รายงานเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบถึงบรรดาเจ้าหนี้และลูกหนี้และลูกหนี้ทั้งหมดของบริษัทภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด
มาตรา 55 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องขอ
มาตรา 56 ผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะตรวจดูสมุดทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวแก่สมุดทะเบียนที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ และขอคำสำเนาโดยมีคำรับรองของนายทะเบียนได้ โดยยื่นขอต่อนายทะเบียนตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด
มาตรา 57 เมื่อบริษัทใดประสงค์จะเลิกกิจการให้บริษัทนั้นแจ้งความประสงค์ที่จะเลิกกิจการต่อนายทะเบียนให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามเดือนก่อนเลิกกิจการ
ในกรณีที่บริษัทซึ่งเป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศเลิกกิจการให้มีการชำระบัญชี ในการชำระบัญชีนั้นให้นำความในมาตรา 60 มาตรา 61 และมาตรา 62 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 58 ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย หากมิได้เรียกร้องจากบริษัทจนล่วงพ้นอายุความแล้วให้บริษัทนำส่งเงินดังกล่าวเข้ากองทุนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ครบกำหนดอายุความ
--ราชกิจจานุเบกษา--