หมวด 1
บริษัท
_________
มาตรา 6 ภายใต้บังคับมาตรา 7 การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยจะกระทำได้เมื่อได้จัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และโดยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยวินาศภัยจากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
การจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี ในการนี้จะกำหนดเงื่อนไขให้ปฎิบัติก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้
เมื่อได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดและได้วางหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 19 กับทั้งได้ดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนตามมาตรา 27 แล้ว จึงให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว
การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และในการอนุญาตรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 7 บริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศจะตั้งสาขาของบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีในการนี้รัฐมนตรีจะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขก็ได้
การขอใบรับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยโดยตั้งเป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
สาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต้องดำรงทรัพย์สินไว้ในประเทศไทยตามจำนวน ชนิด วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดจำนวนทรัพย์สินที่รัฐมนตรีกำหนดต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินกองทุนที่บริษัทต้องดำรงตามมาตรา 27
รัฐมนตรีจะออกใบอนุญาตตามความในวรรคหนึ่งก็ต่อเมื่อบริษัทได้วางหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 19 และดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินในประเทศไทยตามวรรคสามแล้ว
บริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศจะเปิดสาขา ณ ที่ใด ๆ มิได้
สาขาให้หมายความรวมถึงสำนักงานที่แยกออกจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดและได้รับเงินค่าใช้จ่ายจากบริษัทไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อมก็ตาม แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้ใช้เป็นที่ตั้งหน่วยปฎิบัติการข้อมูล สถานที่เก็บเอกสารและสถานที่ฝึกอบรมที่เกี่ยวกับกิจการของบริษัท
มาตรา 8 หุ้นของบริษัทจะต้องเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อผู้ถือ มีมูลค่าหุ้นไม่เกินหุ้นละหนึ่งร้อยบาท และข้อบังคับของบริษัทต้องไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น
มาตรา 9 บริษัทต้องมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติถืออยู่ไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และต้องมีกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
มาตรา 10 บุคคลใดได้หุ้นของบริษัทใดมา และการได้มานั้นเป็นเหตุให้จำนวนหุ้นหรือบุคคลผู้ถือหุ้นอยู่เป็นไปโดยฝ่าฝืนมาตรา 9 และไม่ปฏิบัติตามมาตรา 11 บุคคลนั้นจะยกเอาการถือหุ้นในส่วนที่เกินจำนวนที่ถือไว้ขึ้นใช้ยันต่อบริษัทนั้นมิได้ และบริษัทจะจ่ายเงินปันผลหรือเงินตอบแทนอื่นใดให้แก่บุคคลนั้น หรือให้บุคคลนั้นออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมของผู้ถือหุ้นตามหุ้นส่วนตามจำนวนหุ้นส่วนที่เกินมิได้
มาตรา 11 เพื่อประโยชน์ในการปฎิบัติตามมาตรา 9 และมาตรา 10 ให้บริษัทตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าสามเดือนก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นทุกคราว และแจ้งผลการตรวจสอบต่อนายทะเบียนตามรายการและภายในเวลาที่นายทะเบียนกำหนดในกรณีที่พบว่ามีจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถือหุ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 9 ให้บริษัทแจ้งให้ผู้นั้นทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตรวจพบและให้ผู้นั้นดำเนินการแก้ไขภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันรับแจ้ง
มาตรา 12 บทบัญญัติมาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 11 มิให้นำมาใช้บังคับแก่บริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศตามมาตรา 7
มาตรา 13 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยจะควบกับบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดอื่นมิได้ เว้นแต่จะควบกับบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยด้วยกัน
การควบบริษัทตามวรรคหนึ่งเข้ากัน ให้กระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีในการให้ความเห็นชอบรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขให้ปฎิบัติก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้
เมื่อได้จดทะเบียนควบบริษัทเข้ากันตามกฎหมายแล้ว บริษัทใหม่ที่ควบเข้ากันต้องขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามมาตรา 6 ภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนดแต่ต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันจดทะเบียนบริษัทใหม่ที่ควบเข้ากันนั้น ในระหว่างขอรับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปพลางได้ตามใบอนุญาตเดิม หากไม่ขอรับใบอนุญาตภายในดังกล่าวหรือควบบริษัทเข้ากันโดยฝ่าฝืนมาตรานี้ ให้ถือว่าใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเดิมที่ออกให้แก่บริษัทก่อนควบเข้ากันนั้นเป็นอันสิ้นอายุ
มาตรา 14 นอกจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยบริษัทต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปี สำหรับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยทุกปี เว้นแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
บริษัทใดไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในสามเดือนนับตั้งแต่วันสิ้นปีปฎิทิน ให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัทนั้นสิ้นอายุ
มาตรา 15 เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัทใดสิ้นอายุ ให้ถือว่าบริษัทนั้นถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย
มาตรา 16 บริษัทตามมาตรา 6 ที่จะเปิดสาขาหรือย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน และให้นำความในมาตรา 7 วรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลมการขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขรัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการเป็นผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญาประกันภัยกับบุคคลใดๆ เว้นแต่จะเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยวินาศภัยตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 18 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า "ประกันวินาศภัย" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกันนอกจากบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บริษัท
(2) สมาคมที่มีสมาชิกส่วนมากเป็นบริษัทหรือสมาคมที่มีสมาชิกส่วนมากเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท
(3) สมาคมที่มีสมาชิกส่วนมากเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย
(4) สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานที่มีสมาชิกส่วนมากเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท
(5) ตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยที่ใช้เพื่อเป็นคำแสดงชื่อในธุรกิจการเป็นตัวแทนประกันภัยวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยของตน แล้วแต่กรณี
(6) สถาบันการศึกษาวิชาประกันวินาศภัยหรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันวินาศภัยซึ่งใช้เพื่อเป็นคำแสดงชื่อของสถาบันนั้น
(7) กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง สมาชิก หรือผู้มีฐานะ มีตำแหน่งหรือเจ้าหน้าที่ใด ๆ ในบริษัท สมาคม สหภาพแรงงาน สถาบันการศึกษาวิชาประกันวินาศภัย หรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันวินาศภัย ตาม (1) (2) (3) (4) และ (6) ซึ่งใช้เพื่อแสดงความเป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง สมาชิก หรือความมีฐานะ มีตำแหน่งหรือหน้าที่ของตนในบริษัท สมาคมสหภาพแรงงาน หรือสถาบันดังกล่าว
มาตรา 19 บริษัทต้องมีหลักทรัพย์ของบริษัทวางไว้กับนายทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ประกันตามประเภทของการประกันภัย
การกำหนดประเภทของการประกันภัยและมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางไว้กับนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หลักทรัพย์ของบริษัทที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนจะเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาลไทยหรือทรัพย์สินอย่างอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดก็ได้
บริษัทอาจขอเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์ประกันที่วางไว้ได้ ทั้งนี้ ภายใต้บังคับวรรคสองและวรรคสาม
มาตรา 20 ในกรณีที่หลักทรัพย์ประกันของบริษัทใดมีมูลค่าลดต่ำลงกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 19 ให้นายทะเบียนสั่งให้บริษัทนั้นนำหลักทรัพย์ประกันมาเพิ่มจนครบจำนวนที่กำหนดภายในสองเดือนนับแต่วันได้รับคำสั่ง
มาตรา 21 ในกรณีที่หลักทรัพย์ประกันของบริษัทใดมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่ากำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 19 ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งถอนหลักทรัพย์ประกันส่วนที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นนั้นได้ตามคำขอของบริษัทซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ถึงมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
มาตรา 22 ในกรณีที่บริษัทเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเภทใดอันมีผลให้หลักทรัพย์ประกันที่ได้วางไว้แล้วมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าของหลักทรัพย์ประกันที่กำหนดไว้สำหรับประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยที่คงดำเนินการต่อไปบริษัทมีสิทธิได้รับคืนทรัพย์สินที่ได้วางไว้เป็นหลักทรัพย์ประกันเฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าของหลักทรัพย์ประกันที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยประเภทที่คงดำเนินการต่อไปนั้น ทั้งนี้ เมื่อบริษัทได้แสดงหลักฐานให้เป็นที่พอใจนายทะเบียนว่า ได้ปลดเปลื้องหนี้สินและไม่มีความรับผิดเหลืออยู่สำหรับการประกอบธุรกิจประกอบวินาศภัยประเภทที่เลิกนั้นแล้ว
มาตรา 23 ให้บริษัทจัดสรรเงินสำรองดังนี้
(1) เงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท
(2) เงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทน และ
(3) เงินสำรองเพื่อการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
การจัดสรรทรัพย์สินไว้เป็นเงินสำรองตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นเงินสำรองตามวรรคหนึ่ง จะเป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือทรัพย์สินที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดก็ได้
มาตรา 24 รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดให้บริษัทวางเงินสำรองตามมาตรา 23 (1) ไว้กับนายทะเบียนตามประเภทของการประกันภัย และตามอัตราหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศ
มาตรา 25 ในกรณีที่หลักทรัพย์ประกันที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 19 และเงินสำรองที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 24 เป็นทรัพย์สินที่การโอนหรือการได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้นจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือต้องกระทำต่อบุคคลอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนหรือการได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องนั้นทราบ และห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องนั้นโอนหรือให้ไปซึ่งทรัพย์สินจนกว่านายทะเบียนจะมีหนังสือแจ้งการถอนหรือการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินนั้น
มาตรา 26 หลักทรัพย์ประกันที่บริษัทวางไว้ตามมาตรา 19 และเงินสำรองตามมาตรา 23 ที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 24 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่บริษัทยังมิได้เลิกกัน
ในกรณีที่บริษัทเลิกกัน ให้เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยมีบุริมสิทธิพิเศษเหนือทรัพย์สินที่วางเป็นหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 19 และเงินสำรองตามมาตรา 23 (1) ที่วางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 24 และมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษอื่น
ในกรณีที่บริษัทล้มละลาย ให้เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยมีบุริมสิทธิพิเศษเหนือทรัพย์สินที่วางเป็นหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 19 และเงินสำรองตามมาตรา 23 (1) ที่วางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 24 มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินดังกล่าวอย่างเดียวกันกับเจ้าหน้าที่มีประกันตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ทรัพย์สินของบริษัทนอกจากทรัพย์ประกันตามมาตรา 19 และเงินสำรองตามมาตรา 23 (1) ที่วางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 24 ให้เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยมีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 27 บริษัทต้องดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของเบี้ยประกันภัยสุทธิที่ได้รับทั้งหมดสำหรับปีปฏิทินที่ล่วงแต่แล้วทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่าสามสิบล้านบาท
--ราชกิจจานุเบกษา--
บริษัท
_________
มาตรา 6 ภายใต้บังคับมาตรา 7 การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยจะกระทำได้เมื่อได้จัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และโดยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยวินาศภัยจากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
การจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี ในการนี้จะกำหนดเงื่อนไขให้ปฎิบัติก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้
เมื่อได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดและได้วางหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 19 กับทั้งได้ดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนตามมาตรา 27 แล้ว จึงให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว
การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และในการอนุญาตรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 7 บริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศจะตั้งสาขาของบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีในการนี้รัฐมนตรีจะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขก็ได้
การขอใบรับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยโดยตั้งเป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
สาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต้องดำรงทรัพย์สินไว้ในประเทศไทยตามจำนวน ชนิด วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดจำนวนทรัพย์สินที่รัฐมนตรีกำหนดต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินกองทุนที่บริษัทต้องดำรงตามมาตรา 27
รัฐมนตรีจะออกใบอนุญาตตามความในวรรคหนึ่งก็ต่อเมื่อบริษัทได้วางหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 19 และดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินในประเทศไทยตามวรรคสามแล้ว
บริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศจะเปิดสาขา ณ ที่ใด ๆ มิได้
สาขาให้หมายความรวมถึงสำนักงานที่แยกออกจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดและได้รับเงินค่าใช้จ่ายจากบริษัทไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อมก็ตาม แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้ใช้เป็นที่ตั้งหน่วยปฎิบัติการข้อมูล สถานที่เก็บเอกสารและสถานที่ฝึกอบรมที่เกี่ยวกับกิจการของบริษัท
มาตรา 8 หุ้นของบริษัทจะต้องเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อผู้ถือ มีมูลค่าหุ้นไม่เกินหุ้นละหนึ่งร้อยบาท และข้อบังคับของบริษัทต้องไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น
มาตรา 9 บริษัทต้องมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติถืออยู่ไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และต้องมีกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
มาตรา 10 บุคคลใดได้หุ้นของบริษัทใดมา และการได้มานั้นเป็นเหตุให้จำนวนหุ้นหรือบุคคลผู้ถือหุ้นอยู่เป็นไปโดยฝ่าฝืนมาตรา 9 และไม่ปฏิบัติตามมาตรา 11 บุคคลนั้นจะยกเอาการถือหุ้นในส่วนที่เกินจำนวนที่ถือไว้ขึ้นใช้ยันต่อบริษัทนั้นมิได้ และบริษัทจะจ่ายเงินปันผลหรือเงินตอบแทนอื่นใดให้แก่บุคคลนั้น หรือให้บุคคลนั้นออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมของผู้ถือหุ้นตามหุ้นส่วนตามจำนวนหุ้นส่วนที่เกินมิได้
มาตรา 11 เพื่อประโยชน์ในการปฎิบัติตามมาตรา 9 และมาตรา 10 ให้บริษัทตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าสามเดือนก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นทุกคราว และแจ้งผลการตรวจสอบต่อนายทะเบียนตามรายการและภายในเวลาที่นายทะเบียนกำหนดในกรณีที่พบว่ามีจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถือหุ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 9 ให้บริษัทแจ้งให้ผู้นั้นทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตรวจพบและให้ผู้นั้นดำเนินการแก้ไขภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันรับแจ้ง
มาตรา 12 บทบัญญัติมาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 11 มิให้นำมาใช้บังคับแก่บริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศตามมาตรา 7
มาตรา 13 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยจะควบกับบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดอื่นมิได้ เว้นแต่จะควบกับบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยด้วยกัน
การควบบริษัทตามวรรคหนึ่งเข้ากัน ให้กระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีในการให้ความเห็นชอบรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขให้ปฎิบัติก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้
เมื่อได้จดทะเบียนควบบริษัทเข้ากันตามกฎหมายแล้ว บริษัทใหม่ที่ควบเข้ากันต้องขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามมาตรา 6 ภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนดแต่ต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันจดทะเบียนบริษัทใหม่ที่ควบเข้ากันนั้น ในระหว่างขอรับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปพลางได้ตามใบอนุญาตเดิม หากไม่ขอรับใบอนุญาตภายในดังกล่าวหรือควบบริษัทเข้ากันโดยฝ่าฝืนมาตรานี้ ให้ถือว่าใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเดิมที่ออกให้แก่บริษัทก่อนควบเข้ากันนั้นเป็นอันสิ้นอายุ
มาตรา 14 นอกจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยบริษัทต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปี สำหรับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยทุกปี เว้นแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
บริษัทใดไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในสามเดือนนับตั้งแต่วันสิ้นปีปฎิทิน ให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัทนั้นสิ้นอายุ
มาตรา 15 เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัทใดสิ้นอายุ ให้ถือว่าบริษัทนั้นถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย
มาตรา 16 บริษัทตามมาตรา 6 ที่จะเปิดสาขาหรือย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน และให้นำความในมาตรา 7 วรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลมการขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขรัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการเป็นผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญาประกันภัยกับบุคคลใดๆ เว้นแต่จะเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยวินาศภัยตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 18 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า "ประกันวินาศภัย" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกันนอกจากบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บริษัท
(2) สมาคมที่มีสมาชิกส่วนมากเป็นบริษัทหรือสมาคมที่มีสมาชิกส่วนมากเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท
(3) สมาคมที่มีสมาชิกส่วนมากเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย
(4) สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานที่มีสมาชิกส่วนมากเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท
(5) ตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยที่ใช้เพื่อเป็นคำแสดงชื่อในธุรกิจการเป็นตัวแทนประกันภัยวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยของตน แล้วแต่กรณี
(6) สถาบันการศึกษาวิชาประกันวินาศภัยหรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันวินาศภัยซึ่งใช้เพื่อเป็นคำแสดงชื่อของสถาบันนั้น
(7) กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง สมาชิก หรือผู้มีฐานะ มีตำแหน่งหรือเจ้าหน้าที่ใด ๆ ในบริษัท สมาคม สหภาพแรงงาน สถาบันการศึกษาวิชาประกันวินาศภัย หรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันวินาศภัย ตาม (1) (2) (3) (4) และ (6) ซึ่งใช้เพื่อแสดงความเป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง สมาชิก หรือความมีฐานะ มีตำแหน่งหรือหน้าที่ของตนในบริษัท สมาคมสหภาพแรงงาน หรือสถาบันดังกล่าว
มาตรา 19 บริษัทต้องมีหลักทรัพย์ของบริษัทวางไว้กับนายทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ประกันตามประเภทของการประกันภัย
การกำหนดประเภทของการประกันภัยและมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางไว้กับนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หลักทรัพย์ของบริษัทที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนจะเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาลไทยหรือทรัพย์สินอย่างอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดก็ได้
บริษัทอาจขอเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์ประกันที่วางไว้ได้ ทั้งนี้ ภายใต้บังคับวรรคสองและวรรคสาม
มาตรา 20 ในกรณีที่หลักทรัพย์ประกันของบริษัทใดมีมูลค่าลดต่ำลงกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 19 ให้นายทะเบียนสั่งให้บริษัทนั้นนำหลักทรัพย์ประกันมาเพิ่มจนครบจำนวนที่กำหนดภายในสองเดือนนับแต่วันได้รับคำสั่ง
มาตรา 21 ในกรณีที่หลักทรัพย์ประกันของบริษัทใดมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่ากำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 19 ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งถอนหลักทรัพย์ประกันส่วนที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นนั้นได้ตามคำขอของบริษัทซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ถึงมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
มาตรา 22 ในกรณีที่บริษัทเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเภทใดอันมีผลให้หลักทรัพย์ประกันที่ได้วางไว้แล้วมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าของหลักทรัพย์ประกันที่กำหนดไว้สำหรับประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยที่คงดำเนินการต่อไปบริษัทมีสิทธิได้รับคืนทรัพย์สินที่ได้วางไว้เป็นหลักทรัพย์ประกันเฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าของหลักทรัพย์ประกันที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยประเภทที่คงดำเนินการต่อไปนั้น ทั้งนี้ เมื่อบริษัทได้แสดงหลักฐานให้เป็นที่พอใจนายทะเบียนว่า ได้ปลดเปลื้องหนี้สินและไม่มีความรับผิดเหลืออยู่สำหรับการประกอบธุรกิจประกอบวินาศภัยประเภทที่เลิกนั้นแล้ว
มาตรา 23 ให้บริษัทจัดสรรเงินสำรองดังนี้
(1) เงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท
(2) เงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทน และ
(3) เงินสำรองเพื่อการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
การจัดสรรทรัพย์สินไว้เป็นเงินสำรองตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นเงินสำรองตามวรรคหนึ่ง จะเป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือทรัพย์สินที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดก็ได้
มาตรา 24 รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดให้บริษัทวางเงินสำรองตามมาตรา 23 (1) ไว้กับนายทะเบียนตามประเภทของการประกันภัย และตามอัตราหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศ
มาตรา 25 ในกรณีที่หลักทรัพย์ประกันที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 19 และเงินสำรองที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 24 เป็นทรัพย์สินที่การโอนหรือการได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้นจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือต้องกระทำต่อบุคคลอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนหรือการได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องนั้นทราบ และห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องนั้นโอนหรือให้ไปซึ่งทรัพย์สินจนกว่านายทะเบียนจะมีหนังสือแจ้งการถอนหรือการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินนั้น
มาตรา 26 หลักทรัพย์ประกันที่บริษัทวางไว้ตามมาตรา 19 และเงินสำรองตามมาตรา 23 ที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 24 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่บริษัทยังมิได้เลิกกัน
ในกรณีที่บริษัทเลิกกัน ให้เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยมีบุริมสิทธิพิเศษเหนือทรัพย์สินที่วางเป็นหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 19 และเงินสำรองตามมาตรา 23 (1) ที่วางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 24 และมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษอื่น
ในกรณีที่บริษัทล้มละลาย ให้เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยมีบุริมสิทธิพิเศษเหนือทรัพย์สินที่วางเป็นหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 19 และเงินสำรองตามมาตรา 23 (1) ที่วางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 24 มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินดังกล่าวอย่างเดียวกันกับเจ้าหน้าที่มีประกันตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ทรัพย์สินของบริษัทนอกจากทรัพย์ประกันตามมาตรา 19 และเงินสำรองตามมาตรา 23 (1) ที่วางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา 24 ให้เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยมีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 27 บริษัทต้องดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของเบี้ยประกันภัยสุทธิที่ได้รับทั้งหมดสำหรับปีปฏิทินที่ล่วงแต่แล้วทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่าสามสิบล้านบาท
--ราชกิจจานุเบกษา--