พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ หมวด ๑/๑ การดำรงเงินกองทุนและสินทรัพย์สภาพคล่อง

ข่าวการเมือง Tuesday February 5, 2008 15:23 —พรบ.ประกันวินาศภัย

"หมวด ๑/๑

การดำรงเงินกองทุนและสินทรัพย์สภาพคล่อง

_________

มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณเงินกองทุนของบริษัท
บริษัทต้องดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพัน หรือความเสี่ยงตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
การกำหนดอัตราการดำรงเงินกองทุนตามวรรคสอง คณะกรรมการจะกำหนดตามขนาดหรือประเภทของสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพัน หรือความเสี่ยงรวมทุกประเภท หรือแต่ละประเภทก็ได้
ในกรณีที่บริษัทมีการซื้อหุ้นคืนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด มิให้นับหุ้นที่ซื้อคืนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินกองทุน โดยให้หักเงินกองทุนออกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ห้ามบริษัทนำเงินกองทุนไปใช้ก่อภาระผูกผัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๒๗/๑ บริษัทต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพัน หรือเงินสำรองตามมาตรา ๒๓ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
การกำหนดอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะกำหนด แต่เพียงบางประเภทหรือทุกประเภท หรือจะกำหนดอัตราส่วนของแต่ละประเภทในอัตราใดก็ได้
อัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรานี้ ถ้าเป็นการเพิ่มอัตราดังกล่าวต้องประกาศล่วงหน้าก่อนวันใช้บังคับไม่น้อยกว่าหกสิบวัน
มาตรา ๒๗/๒ สินทรัพย์สภาพคล่องได้แก่
(๑) เงินสด หรือเงินฝากธนาคารตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(๒) หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือหลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
(๓) หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
(๔) สินทรัพย์อื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
สินทรัพย์สภาพคล่องตาม (๒) (๓) และ (๔) ต้องปราศจากภาระผูกพันและสามารถ โอนเปลี่ยนมือได้
มาตรา ๒๗/๓ บริษัทต้องบริหารสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพัน และเงินสำรองตามมาตรา ๒๓ ให้มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการรับชำระเบี้ยประกันภัย การกู้ยืมเงิน หรือการรับเงินจากผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๒๗/๔ ให้บริษัทจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย ทั้งนี้ ตามประเภท ชนิด และสัดส่วนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ให้บริษัทนำเงินสำรองตามมาตรา ๒๓ ยกเว้นส่วนที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา ๒๔ และสินทรัพย์ตามวรรคหนึ่งฝากกับสถาบันการเงินหรือดำเนินการอย่างอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ห้ามบริษัทนำสินทรัพย์ตามวรรคสองไปใช้ก่อภาระผูกพัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๒๗/๕ ให้บริษัทจัดทำรายงานการดำรงเงินกองทุนเสนอต่อนายทะเบียนทุกเดือน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกำหนด
ในกรณีที่เงินกองทุนของบริษัทใดลดลงต่ำกว่าเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามมาตรา ๒๗ วรรคสอง ให้บริษัทเสนอโครงการ เพื่อแก้ไขฐานะเงินกองทุนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียนหรือวันที่ผู้สอบบัญชีหรือบริษัทตรวจพบ
โครงการตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายการ ดังต่อไปนี้

(๑) ขั้นตอนที่จะเพิ่มเงินกองทุนให้เพียงพอ

(๒) ระดับเงินกองทุนที่คาดว่าจะดำรงในแต่ละไตรมาสภายในระยะเวลาของโครงการ

(๓) ประเภทและธุรกิจที่จะประกอบการ

(๔) ระยะเวลาของโครงการซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปี

ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบนายทะเบียนจะต้องพิจารณาและแจ้งให้บริษัททราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับโครงการ ทั้งนี้ การให้ความเห็นชอบจะกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา ไว้ด้วยก็ได้

ในกรณีที่นายทะเบียนไม่ให้ความเห็นชอบโครงการ หรือบริษัทไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาที่นายทะเบียนกำหนด ให้บริษัทมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่ได้รับแจ้ง และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับอุทธรณ์

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

มาตรา ๒๗/๖ ในระหว่างดำเนินการตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบตามมาตรา ๒๗/๕ บริษัทสามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ แต่จะดำเนินการขยายธุรกิจไม่ได้จนกว่าจะสามารถ ดำรงเงินกองทุนได้ตามมาตรา ๒๗ วรรคสอง

การขยายธุรกิจของบริษัทตามวรรคหนึ่งให้หมายถึง

(๑) การรับประกันภัยรายใหม่ หรือการขยายวงเงินการรับประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัย ที่มีอยู่

(๒) การเพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท

(๓) การก่อภาระผูกพันเพิ่มเติม เว้นแต่เป็นการดำเนินการตามภาระผูกพันที่มีอยู่

(๔) การทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยเพิ่มเติม

(๕) การรับโอนกิจการของบริษัท

กรณีใดเป็นการเพิ่มความเสี่ยงตาม (๒) หรือเป็นการก่อภาระผูกพันเพิ่มเติมตาม (๓) ให้เป็นไปตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนด

มาตรา ๒๗/๗ ให้นายทะเบียนพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๒ เมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) บริษัทไม่เสนอโครงการตามมาตรา ๒๗/๕ ต่อนายทะเบียนภายในกำหนดเวลา

(๒) บริษัทไม่ดำเนินการตามโครงการ หรือดำเนินการไม่เป็นไปตามโครงการที่ได้รับ ความเห็นชอบตามมาตรา ๒๗/๕ ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่นายทะเบียนกำหนด

(๓) โครงการที่เสนอตามมาตรา ๒๗/๕ ไม่ได้รับความเห็นชอบและบริษัทไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์"

มาตรา ๑๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕

"มาตรา ๓๐/๑ ให้ถือว่าข้อความหรือภาพที่โฆษณา หรือหนังสือชักชวนเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ประกันภัย หากข้อความหรือภาพใดมีความหมายขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่กรณี

ห้ามตัวแทนประกันวินาศภัยนำข้อความหรือภาพโฆษณา หรือหนังสือชักชวนที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากบริษัทไปใช้ในการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัย"

มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความใน (๑๗) ของมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"(๑๗) ขายหรือให้อสังหาริมทรัพย์ใด ๆ หรือสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่ นายทะเบียนกำหนดแก่กรรมการบริษัท หรือซื้อทรัพย์สินจากกรรมการบริษัท ทั้งนี้ รวมถึงบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับกรรมการบริษัทตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการบริษัทและได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน"

มาตรา ๒๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๓๓ บริษัทต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ตกเป็นของบริษัทตามมาตรา ๓๑ (๑๐) ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทมีไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบธุรกิจหรือสำหรับใช้ เพื่อสวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท หรือเพื่อใช้สำหรับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่น ตามมาตรา ๓๑ (๑๐) (ก) หรือ (ข) ถ้ามิได้ใช้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวแล้วให้จำหน่ายภายในห้าปี นับแต่วันที่เลิกใช้

(๒) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทได้มาจากการรับชำระหนี้ หรือจากการบังคับจำนอง ตามมาตรา ๓๑ (๑๐) (ค) ให้จำหน่ายภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนให้มีไว้เพื่อใช้ในกิจการตามมาตรา ๓๑ (๑๐) (ก) หรือ (ข) นายทะเบียนอาจขยายระยะเวลาที่กำหนดตาม (๑) และ (๒) ได้อีกตามระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขในการให้ขยายระยะเวลาไว้ด้วยก็ได้ มาตรา ๓๔ กรรมการ ผู้จัดการ บุคคลซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนบริษัท หรือที่ปรึกษา ของบริษัทต้องเป็นบุคคลซึ่งมีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๒) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (๓) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทในช่วงเวลา ที่บริษัทนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยหรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ประกันชีวิต เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งนายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเช่นว่านั้นในช่วงเวลาดังกล่าว (๔) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอื่นที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (๕) ถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทตามมาตรา ๕๓ (๖) เป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๗) เป็นข้าราชการหรือพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัท เว้นแต่กรณีของบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานของบริษัทหรือเป็นผู้ได้รับแต่งตั้ง ตามมาตรา ๕๓ (๘) มีประวัติเสียหายหรือดำเนินกิจการใดที่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ มาตรา ๓๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๖ ห้ามมิให้บริษัทมอบหมายหรือยินยอมให้บุคคลใด ทำการรับประกันวินาศภัยโดยใช้กรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท ห้ามมิให้บริษัทมอบหมายหรือยินยอมให้บุคคลใดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยบางส่วนหรือทั้งหมด นอกจากการประกันต่อ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน" มาตรา ๒๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๕/๑ มาตรา ๓๕/๒ มาตรา ๓๕/๓ มาตรา ๓๕/๔ มาตรา ๓๕/๕ มาตรา ๓๕/๖ มาตรา ๓๕/๗ มาตรา ๓๕/๘ และมาตรา ๓๕/๙ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๓๕/๑ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้เอาประกันภัย การตรวจสอบและประเมินวินาศภัยประเภทใดและจำนวนเงินเอาประกันภัยเท่าใดที่ต้องดำเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๓๕/๒ ผู้ใดจะเป็นผู้ประเมินวินาศภัยต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและ ขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย การขออนุญาต การอนุญาต และการขึ้นทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๓๕/๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยต้องผ่านการอบรมจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือสถาบันที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยรับรองและต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๒) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์หรือความผิด ตามมาตรา ๙๐/๑ หรือมาตรา ๙๐/๒ เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต (๓) เป็นพนักงาน ลูกจ้าง หรือที่ปรึกษาของบริษัท (๔) อยู่ระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย (๕) เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยในระยะเวลาห้าปีก่อนวันขอรับ ใบอนุญาต มาตรา ๓๕/๔ ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

การขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอภายในกำหนดสองเดือนก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ โดยผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตต้องมีหนังสือรับรองว่าผ่านการฝึกอบรมเพิ่มเติมจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือสถาบันที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยรับรอง

การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

มาตรา ๓๕/๕ ในกรณีที่เกิดวินาศภัยตามประเภทและจำนวนเงินเอาประกันภัยที่คณะกรรมการประกาศกำหนดตามมาตรา ๓๕/๑ ให้คู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยเลือกผู้ประเมินวินาศภัย ที่ขึ้นทะเบียนไว้ ณ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินวินาศภัยที่บริษัทจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

ในการตรวจสอบและประเมินวินาศภัย ผู้ประเมินวินาศภัยต้องจัดทำรายงานหรือเอกสาร ที่เกี่ยวข้องตามแบบและรายการที่นายทะเบียนประกาศกำหนดเพื่อยื่นต่อคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยฝ่ายละหนึ่งฉบับ

มาตรา ๓๕/๖ ผู้ประเมินวินาศภัยต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๓๕/๗ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย เมื่อปรากฏ แก่นายทะเบียนว่าผู้ประเมินวินาศภัยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของนายทะเบียนหรือของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๕/๕ หรือมาตรา ๓๕/๖

การพักใช้ใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินครั้งละหนึ่งปี

มาตรา ๓๕/๘ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย เมื่อปรากฏ แก่นายทะเบียนว่าผู้ประเมินวินาศภัย

(๑) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๕/๓

(๒) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วและกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๓๕/๗ อีก

มาตรา ๓๕/๙ ผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย ตามมาตรา ๓๕/๗ หรือมาตรา ๓๕/๘ มีสิทธิ อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด"

มาตรา ๒๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๖/๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕

"มาตรา ๓๖/๑ ในกรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการประกันภัย การจ่ายค่าสินไหมทดแทน การชดใช้เงินหรือประโยชน์อื่นใดตามกรมธรรม์ประกันภัย นายทะเบียนอาจจัดให้มีการพิจารณา ข้อร้องเรียนและดำเนินการไกล่เกลี่ยได้"

มาตรา ๒๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๓๗ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้ได้

(๑) การเก็บเบี้ยประกันภัย

(๒) การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท

(๓) การประกันต่อ

(๔) การจำแนกประเภทค่าใช้จ่าย

(๕) การจัดสรรเงินสำรองเพื่อการเสี่ยงภัยไว้เป็นประเภท ๆ

(๖) การกำหนดวิธีการออกและเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย

(๗) การกำหนดอัตราค่าจ้างหรือบำเหน็จสำหรับตัวแทนประกันวินาศภัย และนายหน้า ประกันวินาศภัยตามประเภทของการประกันวินาศภัย

(๘) การกำหนดแบบ ขนาด ตัวอักษร ภาษาที่ใช้ และข้อความของเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัท

(๙) การกำหนดประเภทและอัตราอย่างสูงของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรับประกันภัย

(๑๐) การรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายใน

(๑๑) การชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย

(๑๒) การกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัท"

มาตรา ๒๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๔๕ ให้บริษัทเก็บรักษาสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีตามมาตรา ๔๔ ไว้ที่สำนักงานของบริษัทไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในสมุดทะเบียนหรือสมุดบัญชีนั้น หรือ นับแต่วันที่บริษัทพ้นจากความรับผิดตามรายการที่มีความรับผิดหลังสุด ทั้งนี้ แล้วแต่อย่างใดจะยาวกว่า" มาตรา ๒๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๔๗ บริษัทต้องจัดทำและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของ บริษัทต่อคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้ (๑) งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว (๒) งบการเงินสำหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว (๓) รายงานประจำปีแสดงการดำเนินงานของบริษัท การจัดทำและยื่นงบการเงินและรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และผู้สอบบัญชีต้องเป็นผู้สอบบัญชี รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี สำหรับบริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ นอกจากต้องดำเนินการ ตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ต้องส่งรายงานประจำปีของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ตนเป็นสาขาด้วยภายในห้าเดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศนั้น" มาตรา ๒๗ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๔๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้บริษัทยื่นรายงานหรือเอกสารใด ๆ เกี่ยวกับ การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย โดยคณะกรรมการจะให้ทำคำชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความ แห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้" มาตรา ๒๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๕๐ ให้บริษัทประกาศรายการงบดุลและงบกำไรขาดทุนตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งงบการเงินตามมาตรา ๔๗ (๒) ในหนังสือพิมพ์รายวันที่ออกจำหน่ายแพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามวัน และให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัทไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนด้วย" มาตรา ๒๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๐/๑ และมาตรา ๕๐/๒ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๕๐/๑ เพื่อประโยชน์ในการให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๕๐/๒ ให้บริษัทส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่รับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยต่อคณะกรรมการตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนด" มาตรา ๓๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๕๒ เมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่งตามมาตรา ๒๗/๗ หรือปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่าบริษัทใดมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ บริษัทนั้นแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด หรือสั่งให้เพิ่มทุนหรือลดทุนเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๒๗ วรรคสอง และจะสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้ ในกรณีที่บริษัทใดไม่เพิ่มทุนหรือลดทุนภายในกำหนดเวลาที่นายทะเบียนสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาตามคำสั่งของ นายทะเบียนดังกล่าว ในกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องให้บริษัทใดเพิ่มทุนหรือลดทุนเพื่อให้บริษัทนั้นสามารถพยุงฐานะและการดำเนินการต่อไปได้ นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ จะสั่งให้บริษัทเพิ่มทุนหรือลดทุนทันทีก็ได้ โดยให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวเป็นมติ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น

ในการเพิ่มทุนหรือลดทุนตามวรรคสองหรือวรรคสาม มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๖ วรรคสอง (๒) มาตรา ๑๓๙ และมาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ มาใช้บังคับ"

มาตรา ๓๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๕๗ บริษัทใดประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยให้ยื่นคำขออนุญาต ต่อคณะกรรมการ

เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือ ผู้มีส่วนได้เสีย ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ให้บริษัทต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จก่อนที่คณะกรรมการจะอนุญาตให้เลิกกิจการ

(๑) วิธีจัดการหรือการโอนภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีผลผูกพันอยู่

(๒) วิธีการบอกกล่าวให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยและ ผู้มีส่วนได้เสียทราบ และใช้สิทธิตามกฎหมาย

(๓) การโอนหรือการขอรับเงินสำรองตามมาตรา ๒๓ (๑) ที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียนตามมาตรา ๒๔

(๔) การจัดการทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการประกันวินาศภัยและกิจการที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตามมาตรา ๒๘

(๕) ระยะเวลาของการดำเนินการตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)

ในกรณีที่คณะกรรมการอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และบริษัทประสงค์ จะเลิกบริษัท การเลิกบริษัทให้มีผลนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและให้มีการชำระบัญชี แต่ในกรณีที่ไม่ประสงค์จะเลิกบริษัท ให้บริษัทดำเนินการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิโดยเปลี่ยนแปลงชื่อและวัตถุประสงค์ไม่ให้เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย

ในการชำระบัญชีหรือการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วย บริษัทมหาชนจำกัด

ในกรณีที่บริษัทซึ่งเป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศเลิกกิจการให้มีการชำระบัญชี ในการชำระบัญชีนั้นให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ และมาตรา ๖๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม" มาตรา ๓๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๕๗/๑ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อนายทะเบียนพร้อมกับยื่นคำขอรับคืนหลักทรัพย์ประกันที่บริษัทวางไว้ตามมาตรา ๑๙ ทั้งนี้ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๖ วรรคสองและวรรคสาม" มาตรา ๓๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๖๓ ผู้ใดจะกระทำการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน คำขอรับใบอนุญาตและใบอนุญาต ให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ให้ระบุด้วยว่าเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทใด" มาตรา ๓๔ ให้ยกเลิกความใน (๕) ของมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย" มาตรา ๓๕ ให้ยกเลิกความใน (๗) ของมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(๗) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยในระยะเวลาห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต" มาตรา ๓๖ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๖๕ ผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๖๔ ซึ่งประสงค์จะเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ของบริษัทใด ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทนั้นต่อนายทะเบียนพร้อมด้วยหนังสือแสดงความต้องการของบริษัทให้ผู้นั้นเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย และหนังสือรับรอง ว่าผ่านการอบรมจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ ผ่านการอบรมตามหลักสูตรและวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยประกาศกำหนด การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด" มาตรา ๓๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๕/๑ และมาตรา ๖๕/๒ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๖๕/๑ บริษัทต้องร่วมรับผิดกับตัวแทนประกันวินาศภัยต่อความเสียหายที่ตัวแทนประกันวินาศภัยนั้นได้ก่อขึ้นจากการกระทำการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัท มาตรา ๖๕/๒ ในการปฏิบัติหน้าที่หรือกระทำการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัท ตัวแทนประกันวินาศภัยต้องไม่แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่ตัวแทนประกันวินาศภัยไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิของ ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง" มาตรา ๓๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๖๖ ให้ตัวแทนประกันวินาศภัยมีสิทธิรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท ตัวแทนประกันวินาศภัยอาจทำสัญญาประกันภัยในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับหนังสือมอบอำนาจจากบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัยหรือพนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน อาจรับ เบี้ยประกันภัยในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับหนังสือมอบอำนาจจากบริษัท หนังสือมอบอำนาจของบริษัทตามวรรคสองและวรรคสามให้ทำตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด หนังสือมอบอำนาจของบริษัท แม้มิได้ทำตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดก็ไม่เป็นเหตุให้ เสื่อมสิทธิของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง" มาตรา ๓๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๖/๑ และมาตรา ๖๖/๒ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๖๖/๑ ตัวแทนประกันวินาศภัยต้องแสดงใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ทุกครั้งที่มีการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัย หรือรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท ตัวแทนประกันวินาศภัยต้องออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัททุกครั้งที่มีการรับ เบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท มาตรา ๖๖/๒ นายหน้าประกันวินาศภัยหรือพนักงานของบริษัทต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจจากบริษัททุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัยหรือพนักงานของบริษัทต้องออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัททุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่พนักงานของบริษัทซึ่งปฏิบัติหน้าที่รับเบี้ยประกันภัย ณ สำนักงานของบริษัท" มาตรา ๔๐ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของวรรคสองของมาตรา ๖๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(๔) นิติบุคคลนั้นต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยในระยะเวลาห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต" มาตรา ๔๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๗๒ ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ถ้าผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในกำหนดสองเดือนก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ โดยผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตต้องมีหนังสือรับรองว่าผ่านการฝึกอบรมเพิ่มเติมจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผ่านการอบรมตามหลักสูตรและวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยประกาศกำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งได้ต่ออายุใบอนุญาตครบสองคราวติดต่อกันแล้วและได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ใบอนุญาตที่ออกให้ต่อไปมีอายุครั้งละห้าปี การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด"

มาตรา ๔๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๗๖ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย เมื่อปรากฏแก่นายทะเบียนว่าตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย (๑) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ (๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนหรือคณะกรรมการประกาศกำหนด (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๖๔ หรือมาตรา ๖๗ แล้วแต่กรณี (๔) ดำเนินงานทำให้เกิดหรืออาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือประชาชน เมื่อนายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้แจ้งคำสั่งนั้นไปยังผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต" มาตรา ๔๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๔/๑ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย มาตรา ๗๘/๑ มาตรา ๗๘/๒ มาตรา ๗๘/๓ มาตรา ๗๘/๔ มาตรา ๗๘/๕ มาตรา ๗๘/๖ มาตรา ๗๘/๗ มาตรา ๗๘/๘ มาตรา ๗๘/๙ และมาตรา ๗๘/๑๐ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕


แท็ก ประกัน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ