แท็ก
ประกัน
หมวด 2
การออกหลักทรัพย์ของบริษัท
ส่วนที่ 3
การออกหุ้นกู้มีประกัน
มาตรา 41 ในการขออนุญาตตามมาตรา 33 หรือมาตรา 34 เพื่อออกหุ้นกู้มีประกัน ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) เสนอร่างข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(2) เสนอร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(3) ขอความเห็นชอบบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(4) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
ในกรณีที่บริษัทมหาชนจำกัดจะเสนอขายหุ้นกู้มีประกันที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตตามมาตรา 33 ให้บริษัทมหาชนจำกัดดำเนินการตามวรรคหนึ่งก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ด้วย
มาตรา 42 ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) สิทธิและเงื่อนไขตามหุ้นกู้
(2) ผลประโยชน์ตอบแทน
(3) ทรัพย์สินที่เป็นประกันหรือหลักประกันอื่น
(4) การแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(5) เงื่อนไขการเปลี่ยนตัวผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(6) คำยินยอมของผู้ถือหุ้นกู้ ที่จะให้ผู้ออกหุ้นกู้มีประกันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ที่ได้รับความเห็นชอบไว้ตามมาตรา 41 (3)
(7) คำรับรองของผู้ออกหุ้นกู้มีประกันที่จะจำนอง จำนำ หรือให้หลักประกันอย่างอื่นเพื่อเป็นประกันหุ้นกู้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 44
(8) วิธีการ เวลา และสถานที่สำหรับการชำระหนี้
(9) วิธีการแปลงสภาพแห่งสิทธิ (ถ้ามี)
(10) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา 43 สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) อำนาจและหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในการรับจำนองรับจำนำหรือรับหลักประกันอย่างอื่น การใช้สิทธิบังคับหลักประกันดังกล่าว หรือการดำเนินการให้ผู้ออกหุ้นกู้มีประกันปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ทำไว้กับผู้ถือหุ้นกู้ รวมทั้งการเรียกค่าเสียหาย
(2) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและบำเหน็จในการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(3) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา 44 เมื่อผู้ออกหุ้นกู้มีประกันได้เสนอขายหุ้นกู้มีประกันต่อผู้ถือหุ้น หรือต่อประชาชนหรือบุคคลใดๆ แล้ว ให้ผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิและหน้าที่ตามข้อกำหนดตามมาตรา 41 (1) และตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และให้ออกหุ้นกู้มีประกันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามคำยินยอมของผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมกับดำเนินการจำนอง จำนำหรือจัดให้มีหลักประกันอย่างอื่นให้กับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เปิดการเสนอขาย
มาตรา 45 ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอำนาจกระทำการในนามของตนเองเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวง ในการรับจำนอง รับจำนำ หรือรับหลักประกันอย่างอื่น การใช้สิทธิบังคับหลักประกัน และการดำเนินการให้ผู้ออกหุ้นกู้มีประกันปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้นกู้ รวมทั้งการเรียกค่าเสียหาย
การกระทำของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำของผู้ถือหุ้นกู้โดยตรง
มาตรา 46 ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการในการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้
มาตรา 47 นอกจากหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้ง ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีหน้าที่ดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้
ในกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กระทำการ งดเว้นกระทำการหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้ถือหุ้นกู้หรือสำนักงานมีสิทธิฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวงได้
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้ฟ้องร้องบังคับคดี ผู้ถือหุ้นดังกล่าวต้องมีจำนวนหุ้นกู้มีประกันหรือได้รับแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นกู้อื่น ซึ่งมีจำนวนหุ้นกู้มีประกันรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นกู้ มีประกันที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
มาตรา 48 ในกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กระทำความผิด เกี่ยวกับทรัพย์ตามบทบัญญัติ ในหมวด 1 หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 หรือหมวด 7 ของลักษณะ 12 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้สำนักงานเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย
ในกรณีตามวรรคหนึ่งเมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ให้พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแทนผู้ได้รับความเสียหายด้วย ในการนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 49 ในการออกหุ้นกู้ลักษณะอื่นนอกจากหุ้นกู้มีประกัน หากผู้ออกหุ้นกู้ประสงค์จะจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ต้องแสดงความจำนงในขณะที่ขออนุญาตออกหุ้นกู้ และให้นำบทบัญญัติ มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 47 และมาตรา 48 รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับกับการขออนุญาต การทำข้อกำหนด และสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้โดยอนุโลม
--ราชกิจจานุเบกษา--
การออกหลักทรัพย์ของบริษัท
ส่วนที่ 3
การออกหุ้นกู้มีประกัน
มาตรา 41 ในการขออนุญาตตามมาตรา 33 หรือมาตรา 34 เพื่อออกหุ้นกู้มีประกัน ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) เสนอร่างข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(2) เสนอร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(3) ขอความเห็นชอบบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(4) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
ในกรณีที่บริษัทมหาชนจำกัดจะเสนอขายหุ้นกู้มีประกันที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตตามมาตรา 33 ให้บริษัทมหาชนจำกัดดำเนินการตามวรรคหนึ่งก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ด้วย
มาตรา 42 ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) สิทธิและเงื่อนไขตามหุ้นกู้
(2) ผลประโยชน์ตอบแทน
(3) ทรัพย์สินที่เป็นประกันหรือหลักประกันอื่น
(4) การแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(5) เงื่อนไขการเปลี่ยนตัวผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(6) คำยินยอมของผู้ถือหุ้นกู้ ที่จะให้ผู้ออกหุ้นกู้มีประกันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ที่ได้รับความเห็นชอบไว้ตามมาตรา 41 (3)
(7) คำรับรองของผู้ออกหุ้นกู้มีประกันที่จะจำนอง จำนำ หรือให้หลักประกันอย่างอื่นเพื่อเป็นประกันหุ้นกู้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 44
(8) วิธีการ เวลา และสถานที่สำหรับการชำระหนี้
(9) วิธีการแปลงสภาพแห่งสิทธิ (ถ้ามี)
(10) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา 43 สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) อำนาจและหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในการรับจำนองรับจำนำหรือรับหลักประกันอย่างอื่น การใช้สิทธิบังคับหลักประกันดังกล่าว หรือการดำเนินการให้ผู้ออกหุ้นกู้มีประกันปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ทำไว้กับผู้ถือหุ้นกู้ รวมทั้งการเรียกค่าเสียหาย
(2) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและบำเหน็จในการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(3) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา 44 เมื่อผู้ออกหุ้นกู้มีประกันได้เสนอขายหุ้นกู้มีประกันต่อผู้ถือหุ้น หรือต่อประชาชนหรือบุคคลใดๆ แล้ว ให้ผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิและหน้าที่ตามข้อกำหนดตามมาตรา 41 (1) และตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และให้ออกหุ้นกู้มีประกันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามคำยินยอมของผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมกับดำเนินการจำนอง จำนำหรือจัดให้มีหลักประกันอย่างอื่นให้กับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เปิดการเสนอขาย
มาตรา 45 ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอำนาจกระทำการในนามของตนเองเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวง ในการรับจำนอง รับจำนำ หรือรับหลักประกันอย่างอื่น การใช้สิทธิบังคับหลักประกัน และการดำเนินการให้ผู้ออกหุ้นกู้มีประกันปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้นกู้ รวมทั้งการเรียกค่าเสียหาย
การกระทำของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำของผู้ถือหุ้นกู้โดยตรง
มาตรา 46 ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการในการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้
มาตรา 47 นอกจากหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้ง ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีหน้าที่ดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้
ในกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กระทำการ งดเว้นกระทำการหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้ถือหุ้นกู้หรือสำนักงานมีสิทธิฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวงได้
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้ฟ้องร้องบังคับคดี ผู้ถือหุ้นดังกล่าวต้องมีจำนวนหุ้นกู้มีประกันหรือได้รับแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นกู้อื่น ซึ่งมีจำนวนหุ้นกู้มีประกันรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นกู้ มีประกันที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
มาตรา 48 ในกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กระทำความผิด เกี่ยวกับทรัพย์ตามบทบัญญัติ ในหมวด 1 หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 หรือหมวด 7 ของลักษณะ 12 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้สำนักงานเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย
ในกรณีตามวรรคหนึ่งเมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ให้พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแทนผู้ได้รับความเสียหายด้วย ในการนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 49 ในการออกหุ้นกู้ลักษณะอื่นนอกจากหุ้นกู้มีประกัน หากผู้ออกหุ้นกู้ประสงค์จะจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ต้องแสดงความจำนงในขณะที่ขออนุญาตออกหุ้นกู้ และให้นำบทบัญญัติ มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 47 และมาตรา 48 รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับกับการขออนุญาต การทำข้อกำหนด และสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้โดยอนุโลม
--ราชกิจจานุเบกษา--