หมวด 4
ธุรกิจหลักทรัพย์
ส่วนที่ 2
การกำกับและควบคุม
มาตรา 94 บริษัทหลักทรัพย์ต้องใช้ชื่อมีคำว่า "บริษัทหลักทรัพย์" นำหน้า และ "จำกัด" ต่อท้าย
มาตรา 95 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากบริษัทหลักทรัพย์ใช้ชื่อ หรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า "บริษัทหลักทรัพย์" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน
มาตรา 96 บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีทุนจดทะเบียน ซึ่งชำระแล้วตามจำนวนที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
มาตรา 97 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดำรงเงินกองทุนให้เพียงพอตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด
มาตรา 98 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทำการดังต่อไปนี้
(1) ลดทุนโดยมิให้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(2) กระทำการใด ๆ อันจะทำให้ลูกค้า หรือบุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคา คุณค่า และลักษณะของหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง
(3) กระทำการใด ๆ อันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(4) ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายในนามของตนเอง หรือลูกค้าเว้นแต่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดให้กระทำได้
(5) ขายหลักทรัพย์ โดยที่บริษัทยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองหรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดให้กระทำได้
(6) รับคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์จากลูกค้านอกสถานที่ทำการของสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา เว้นแต่สำนักงานจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
(7) ซื้อหรือมีหุ้น เว้นแต่
(ก) เป็นการได้มาเนื่องจากประกอบการค้าหลักทรัพย์การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ หรือธุรกิจหลักทรัพย์อื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด หรือ
(ข) เป็นการได้มา โดยได้รับผ่อนผันจากสำนักงานตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(8) ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
การประกอบกิจการอื่นใดตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการให้กู้ยืมเงิน เพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการประกอบการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ หรือการซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ และในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าหลักทรัพย์
(9) ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาโดยมิได้รับอนุญาตจากสำนักงาน
(10) โฆษณากิจการของบริษัทหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่การโฆษณานั้นจะได้กระทำตามหลักเกณฑ์เงื่นไขและวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
มาตรา 99 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับใบหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ครอบครองอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งว่า บริษัทหลักทรัพย์ได้ครอบครองไว้เพื่อตนเองหรือเพื่อลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทได้ครอบครองไว้เพื่อลูกค้ารายใด ให้เป็นไปตามลำดับก่อนหลังดังต่อไปนี้
(1) ให้การครอบครองของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์อยู่ในลำดับก่อนการครอบครองของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อตนเอง
(2) ให้ลูกค้าที่สั่งซื้อก่อนได้รับประโยชน์ตามลำดับก่อนหลังหลักทรัพย์ที่ซื้อ ทั้งนี้ ไม่ว่าบริษัทหลักทรัพย์นั้นจะยึดถือหลักทรัพย์ดังกล่าวไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ด้วยหรือไม่ก็ตาม
มาตรา 100 การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทน หรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานก่อน
การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา 101 ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งเป็นหนังสือต่อสำนักงานภายในสิบห้าวัน นับแต่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลังสือบริคณสนธิหรือข้อบังคับของบริษัทหลักทรัพย์
มาตรา 102 การให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา 103 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ ตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์
(1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
(3) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(4) เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลมีอำนาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์อื่น
(5) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้จัดการตามมาตรา 144 หรือ มาตรา 145 หรือเคยถูกถอดถอนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น
(6) เป็นข้าราชการการเมือง
(7) เป็นข้าราชการ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัทหลักทรัพย์ พนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสำนักงาน เว้นแต่
(ก)เป็นกรณีที่ได้รับการแต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อเข้าไปช่วยเหลือในการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ หรือ
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 145
(ค) เป็นกรณีของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(8) เป็นผู้จัดการหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดซึ่งตนหรือบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดตาม มาตรา 258 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) เป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นอยู่ เว้นแต่
(ก) เป็นที่ปรึกษาหรือกรรมการซึ่งไม่มีอำนาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพราะมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์
(ค) เป็นกรณีที่ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 145
(ง) เป็นกรณีมีหุ้นอยู่ในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นรวมกันไม่เกินร้อยละหนึ่งของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว
(จ) เป็นกรณีถือหุ้นอยู่ในบริษัทจำกัดนั้น รวมกันไม่เกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดดังกล่าว
(9) เป็นบุคคลซึ่งมิได้มีคุณวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานหรือคุณสมบัติอื่น ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(10) มีลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา 104 บริษัทหลักทรัพย์จะแต่งตั้งกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือทำสัญญาให้บุคคลอื่นมีอำนาจทั้งหมด หรือบางส่วนในการบริหารงานของบริษัทหลักทรัพย์ได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
ในกรณีที่ปรากฎในภายหลังว่าบุคคลตามวรรคหนึ่ง มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 ให้สำนักงานมีอำนาจเพิกถอนความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้และให้บริษัทหลักทรัพย์เสนอชื่อบุคคลอื่นแทนเพื่อขอความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้ และให้บริษัทหลักทรัพย์เสนอชื่อบุคคลอื่นแทนเพื่อขอความเห็นชอบจากสำนักงานภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนความเห็นชอบ
ให้นำความในมาตรา 103 มาใช้บังคับแก่บุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ทำสัญญาให้มีอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการบริหารงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้นตลอดจนผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่บุคคลนั้นด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 105 ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำบัญชีเพื่แสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง โดยถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสถาบันวิชาชีพ ที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบ และข้อกำหนดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา 106 ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนทุกงวด การบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือน ตามแบบที่สำนักงานประกาศกำหนด งบดุลนั้นต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี ที่สำนักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในรอบปีบัญชีนั้น
ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกาศงบดุลและบัญชีงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน ที่จัดทำขึ้นตามวรรคหนึ่งทุกงวดการบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือน โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ลงประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับและเสนอต่อสำนักงานหนึ่งฉบับ
การจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนสำหรับงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชีตามวรรคหนึ่งและการประกาศตามวรรคสอง ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นงวดการบัญชี และสำหรับงวดประจำปีบัญชี ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในยี่สิบเอ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ แต่ระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น ทั้งนี้เว้นแต่สำนักงานจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 107 ผู้สอบบัญชีตามมาตรา 106 ต้องรักษามารยาทและปฏิบัติงานสอบบัญชี เพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีและข้อกำหนดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ทำเอกสารประกอบการลงบัญชีและหรือลงบัญชีไม่ตรงกับความเป็นจริงให้ผู้สอบบัญชีเปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของบัญชีที่มีผลกระทบต่องบการเงินไว้ในรายงานการสอบบัญชีที่ตนจะต้องลงลายมือชื่อ เพื่อแสดงความเห็น
ผู้สอบบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้สำนักงานมีอำนาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีนั้นได้
มาตรา 108 ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกาศรายการหรือเปิดเผยข้อมูลอื่นใด เกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์นั้นตามหลักเณฑ์และระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด ประกาศรายการหรือข้อมูลดังกล่าวให้แสดงไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น และให้รายงานต่อสำนักงานทราบพร้อมด้วยสำเนาประกาศรายการหรือข้อมูลที่เปิดเผย
มาตรา 109 สำนักงานจะกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ใดยื่นรายงาน หรือแสดงเอกสารใดตามระยเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่สำนักงานกำหนดก็ได้และสำนักงานจะให้ทำคำชี้แจง เพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงาน หรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ และภายในกำหนดเวลาที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
รายงานและเอกสารที่ยื่นหรือแสดงหรือคำชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องทำให้ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริง
มาตรา 110 บริษัทหลักทรัพย์ต้องเปิดทำการตามเวลา และหยุดทำการตามวันที่สำนักงานกำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสำนักงานให้เปิดทำการหรือหยุดทำการในเวลาหรือวันอื่น
มาตรา 111 มิให้นำความในมาตรา 94 มาตรา 98 (1) (7) (8) และ (9) มาตรา 104 มาตรา 106 มาตรา 107 มาตรา 108 และมาตรา 110 มาใช้บังคับแก่สถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น และได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 90
--ราชกิจจานุเบกษา--
ธุรกิจหลักทรัพย์
ส่วนที่ 2
การกำกับและควบคุม
มาตรา 94 บริษัทหลักทรัพย์ต้องใช้ชื่อมีคำว่า "บริษัทหลักทรัพย์" นำหน้า และ "จำกัด" ต่อท้าย
มาตรา 95 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากบริษัทหลักทรัพย์ใช้ชื่อ หรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า "บริษัทหลักทรัพย์" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน
มาตรา 96 บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีทุนจดทะเบียน ซึ่งชำระแล้วตามจำนวนที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
มาตรา 97 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดำรงเงินกองทุนให้เพียงพอตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด
มาตรา 98 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทำการดังต่อไปนี้
(1) ลดทุนโดยมิให้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(2) กระทำการใด ๆ อันจะทำให้ลูกค้า หรือบุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคา คุณค่า และลักษณะของหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง
(3) กระทำการใด ๆ อันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(4) ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายในนามของตนเอง หรือลูกค้าเว้นแต่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดให้กระทำได้
(5) ขายหลักทรัพย์ โดยที่บริษัทยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองหรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดให้กระทำได้
(6) รับคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์จากลูกค้านอกสถานที่ทำการของสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา เว้นแต่สำนักงานจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
(7) ซื้อหรือมีหุ้น เว้นแต่
(ก) เป็นการได้มาเนื่องจากประกอบการค้าหลักทรัพย์การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ หรือธุรกิจหลักทรัพย์อื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด หรือ
(ข) เป็นการได้มา โดยได้รับผ่อนผันจากสำนักงานตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(8) ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
การประกอบกิจการอื่นใดตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการให้กู้ยืมเงิน เพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการประกอบการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ หรือการซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ และในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าหลักทรัพย์
(9) ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาโดยมิได้รับอนุญาตจากสำนักงาน
(10) โฆษณากิจการของบริษัทหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่การโฆษณานั้นจะได้กระทำตามหลักเกณฑ์เงื่นไขและวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
มาตรา 99 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับใบหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ครอบครองอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งว่า บริษัทหลักทรัพย์ได้ครอบครองไว้เพื่อตนเองหรือเพื่อลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทได้ครอบครองไว้เพื่อลูกค้ารายใด ให้เป็นไปตามลำดับก่อนหลังดังต่อไปนี้
(1) ให้การครอบครองของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์อยู่ในลำดับก่อนการครอบครองของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อตนเอง
(2) ให้ลูกค้าที่สั่งซื้อก่อนได้รับประโยชน์ตามลำดับก่อนหลังหลักทรัพย์ที่ซื้อ ทั้งนี้ ไม่ว่าบริษัทหลักทรัพย์นั้นจะยึดถือหลักทรัพย์ดังกล่าวไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ด้วยหรือไม่ก็ตาม
มาตรา 100 การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทน หรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานก่อน
การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา 101 ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งเป็นหนังสือต่อสำนักงานภายในสิบห้าวัน นับแต่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลังสือบริคณสนธิหรือข้อบังคับของบริษัทหลักทรัพย์
มาตรา 102 การให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา 103 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ ตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์
(1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
(3) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(4) เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลมีอำนาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์อื่น
(5) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้จัดการตามมาตรา 144 หรือ มาตรา 145 หรือเคยถูกถอดถอนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น
(6) เป็นข้าราชการการเมือง
(7) เป็นข้าราชการ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัทหลักทรัพย์ พนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสำนักงาน เว้นแต่
(ก)เป็นกรณีที่ได้รับการแต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อเข้าไปช่วยเหลือในการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ หรือ
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 145
(ค) เป็นกรณีของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(8) เป็นผู้จัดการหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดซึ่งตนหรือบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดตาม มาตรา 258 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) เป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นอยู่ เว้นแต่
(ก) เป็นที่ปรึกษาหรือกรรมการซึ่งไม่มีอำนาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพราะมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์
(ค) เป็นกรณีที่ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 145
(ง) เป็นกรณีมีหุ้นอยู่ในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นรวมกันไม่เกินร้อยละหนึ่งของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว
(จ) เป็นกรณีถือหุ้นอยู่ในบริษัทจำกัดนั้น รวมกันไม่เกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดดังกล่าว
(9) เป็นบุคคลซึ่งมิได้มีคุณวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานหรือคุณสมบัติอื่น ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(10) มีลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา 104 บริษัทหลักทรัพย์จะแต่งตั้งกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือทำสัญญาให้บุคคลอื่นมีอำนาจทั้งหมด หรือบางส่วนในการบริหารงานของบริษัทหลักทรัพย์ได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
ในกรณีที่ปรากฎในภายหลังว่าบุคคลตามวรรคหนึ่ง มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 ให้สำนักงานมีอำนาจเพิกถอนความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้และให้บริษัทหลักทรัพย์เสนอชื่อบุคคลอื่นแทนเพื่อขอความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้ และให้บริษัทหลักทรัพย์เสนอชื่อบุคคลอื่นแทนเพื่อขอความเห็นชอบจากสำนักงานภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนความเห็นชอบ
ให้นำความในมาตรา 103 มาใช้บังคับแก่บุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ทำสัญญาให้มีอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการบริหารงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้นตลอดจนผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่บุคคลนั้นด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 105 ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำบัญชีเพื่แสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง โดยถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสถาบันวิชาชีพ ที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบ และข้อกำหนดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา 106 ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนทุกงวด การบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือน ตามแบบที่สำนักงานประกาศกำหนด งบดุลนั้นต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี ที่สำนักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในรอบปีบัญชีนั้น
ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกาศงบดุลและบัญชีงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน ที่จัดทำขึ้นตามวรรคหนึ่งทุกงวดการบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือน โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ลงประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับและเสนอต่อสำนักงานหนึ่งฉบับ
การจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนสำหรับงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชีตามวรรคหนึ่งและการประกาศตามวรรคสอง ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นงวดการบัญชี และสำหรับงวดประจำปีบัญชี ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในยี่สิบเอ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ แต่ระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น ทั้งนี้เว้นแต่สำนักงานจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 107 ผู้สอบบัญชีตามมาตรา 106 ต้องรักษามารยาทและปฏิบัติงานสอบบัญชี เพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีและข้อกำหนดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ทำเอกสารประกอบการลงบัญชีและหรือลงบัญชีไม่ตรงกับความเป็นจริงให้ผู้สอบบัญชีเปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของบัญชีที่มีผลกระทบต่องบการเงินไว้ในรายงานการสอบบัญชีที่ตนจะต้องลงลายมือชื่อ เพื่อแสดงความเห็น
ผู้สอบบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้สำนักงานมีอำนาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีนั้นได้
มาตรา 108 ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกาศรายการหรือเปิดเผยข้อมูลอื่นใด เกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์นั้นตามหลักเณฑ์และระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด ประกาศรายการหรือข้อมูลดังกล่าวให้แสดงไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น และให้รายงานต่อสำนักงานทราบพร้อมด้วยสำเนาประกาศรายการหรือข้อมูลที่เปิดเผย
มาตรา 109 สำนักงานจะกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ใดยื่นรายงาน หรือแสดงเอกสารใดตามระยเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่สำนักงานกำหนดก็ได้และสำนักงานจะให้ทำคำชี้แจง เพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงาน หรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ และภายในกำหนดเวลาที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
รายงานและเอกสารที่ยื่นหรือแสดงหรือคำชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องทำให้ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริง
มาตรา 110 บริษัทหลักทรัพย์ต้องเปิดทำการตามเวลา และหยุดทำการตามวันที่สำนักงานกำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสำนักงานให้เปิดทำการหรือหยุดทำการในเวลาหรือวันอื่น
มาตรา 111 มิให้นำความในมาตรา 94 มาตรา 98 (1) (7) (8) และ (9) มาตรา 104 มาตรา 106 มาตรา 107 มาตรา 108 และมาตรา 110 มาใช้บังคับแก่สถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น และได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 90
--ราชกิจจานุเบกษา--