กฎกระทรวง
ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2541)
ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
__________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา 90 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกฎกกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
"บริษัท" หมายความว่า บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทซึ่งได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ไม่ว่าจะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนด้วยหรือไม่ แต่มิได้หมายความรวมถึงบริษัทซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและสถาบันการเงิน
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ภายหลังจากมีสถานะเป็นบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์แล้ว
"บริษัทเงินทุน" หมายความว่า บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
"ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
"บริษัทแม่" หมายความว่า บริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันตามความในหมวด 1 แห่งกฎกระทรวงนี้ และจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกในขณะจัดตั้ง
"บริษัทลูก" หมายความว่า บริษัทซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยในขณะจัดตั้งจะมีบริษัทแม่เป็นผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับกับการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สำหรับบริษัทดังต่อไปนี้
(1) บริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันระหว่างบริษัทหลักทรัพย์
(2) บริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันระหว่างสถาบันการเงิน หรือบริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันระหว่างสถาบันการเงินกับบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์
(3) บริษัทลูก
(4) บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งซื้อกิจการของบริษัทหลักทรัพย์อื่น
ข้อ 3 ให้ผู้ประสงค์จะยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ยื่นคำขอต่อสำนักงานตามแบบและวิธีการ พร้อมทั้งหลักฐานตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
ข้อ 4 ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาคำขอที่ยื่นตามกฎกระทรวงนี้ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สำนักงานได้รับคำขอและหลักฐานครบถ้วน
ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำขอเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้และเสนอแนะต่อรัฐมนตรีว่าสมควรไห้ความเห็นชอบและสมควรออกใบอนุญาตให้รัฐมนตรีพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ข้อ 5 ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่รัฐมนตรีออกให้ตามกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
ข้อ 6 บริษัทใดได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่รัฐมนตรีออกให้ตามกฎกระทรวงนี้ต้องประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามประเภทที่ได้รับอนุญาตภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. และประกาศสำนักงานทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนั้น
หมวด 1
การออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ให้แก่
บริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันระหว่างบริษัทหลักทรัพย์
_______________
ข้อ 7 เมื่อบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะควบบริษัทเข้ากัน หากประสงค์จะให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่บรรดาบริษัทหลักทรัพย์นั้นมีอยู่ในขณะยื่นคำขอรับความเห็นชอบการควบบริษัทเข้ากันต่อไป ให้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบการควบบริษัทเข้ากัน และคำขอให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ โดยผู้ยื่นคำขอต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการการจัดตั้งและการดำเนินงานของบริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันด้วย
ในการควบบริษัทเข้ากันตามวรรคหนึ่ง หากมีบริษัทหลักทรัพย์บริษัทหนึ่งบริษัทใดได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนอยู่ด้วย การควบบริษัทเข้ากันในกรณีดังกล่าวจะมีบริษัทเงินทุนเข้าควบบริษัทเข้ากันด้วยก็ได้
การให้ความเห็นชอบตามขอตามวรรคหนึ่งให้กระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ยื่นคำขอแสดงได้ถึงเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทได้มีมติให้ควบบริษัทเข้ากัน
(2) บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันจะมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ที่ขอรับใบอนุญาตต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. และประกาศสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนั้น
(3) บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันจะมีความสามารถในการดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ณ วันที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับได้ไม่ต่ำกว่าอัตราที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
ข้อ 8 ในกรณีที่รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบคำขอควบบริษัทเข้ากันของบรรดาบริษัทตามข้อ 7 ให้รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ให้แก่บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บรรดาบริษัทตามข้อ 7 ต้องดำเนินการควบบริษัทเข้ากันและจดทะเบียนบริษัทใหม่ภายในระยะเวลาที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดแล้วแต่กรณี
(2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ออกให้แก่บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันใมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่การจดทะเบียนเป็นบริษัทใหม่มีผลสมบูรณ์โดยมีเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในขณะให้ความเห็นชอบการควบบริษัทเข้ากัน เว้นแต่จะปรากฏในภายหลังว่าเงื่อนไขที่ได้กำไนดไว้นั้นมีสภาพบังคับที่ไม่เหมาะสม รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะผ่อนผันหรือกำหนดเป็นประการอื่นก็ได้
ในกรณีที่มิได้มีการควบบริษัทเข้ากันหรือมิได้มีการจดทะเบียนบริษัทใหม่ภายในระยะเวลาตาม (1) ให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีเป็นอันสิ้นสุดลง เว้นแต่รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะผ่อนผันหรือกำหนดเป็นประการอื่น
ข้อ 9 เมื่อบริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันตามหมวดนี้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แล้ว การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นที่จะมีผลทำให้บุคคลใดเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์นั้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
หมวด 2
การออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ให้แก่
บริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันของสถาบันการเงิน
_________________
ข้อ 10 เมื่อบรรดาสถาบันการเงินประสงค์จะควบบริษัทเข้ากัน หรือสถาบันการเงินและบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะควบบริษัทเข้ากัน และได้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบต่อผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบการควบสถาบันการเงินเข้ากันตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินนั้นแล้วแต่กรณีแล้ว หากประสงค์จะให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันดังกล่าวประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่บรรดาสถาบันการเงินนั้นมีอยู่ในขณะยื่นคำขอรับความให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงนี้
การให้ความเห็นชอบคำขอตามวรรคหนึ่งจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ยื่นคำขอได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบการควบสถาบันการเงินเข้ากันตามวรรคหนึ่งแล้ว และผู้ยื่นคำขอแสดงได้ถึงเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทได้มีมติให้ควบบริษัทเข้ากัน
(2) บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันจะมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ที่ขอรับใบอนุญาตต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.และ ประกาศสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนั้น
ข้อ 11 ให้นำความในข้อ 8 ของหมวด 1 มาใช้บังคับกับการออกใบอนุญาตตามหมวดนี้ด้วยโดยอนุโลม
หมวด 3
การออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ให้แก่บริษัทลูก
______________
ข้อ 12 ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอตามหมวด 1 แห่งกฎกระทรวงนี้ประสงค์จะจัดตั้งบริษัทลูกบริษัทหนึ่งหรือหลายบริษัทเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามจำนวนและประเภทธุรกิจหลักทรัพย์ที่ไม่เกินจำนวนและประเภทของใบอนุญาตที่บริษัทหลักทรัพย์แต่ละบริษัทมีอยู่ในขณะยื่นคำขอรับความเห็นชอบการควบบริษัทเข้ากันหักด้วยจำนวนและประเภทของใบอนุญาตที่ผู้ยื่นคำขอตามหมวด 1 ได้มีคำขอให้ออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันแล้ว ให้ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอรับความเห็นชอบการจัดตั้งบริษัทลูกแต่ละบริษัทมาพร้อมกับการยื่นคำขอรับความเห็นชอบการควบบริษัทเข้ากันตามหมวด 1 โดยผู้ยื่นคำขอต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการการจัดตั้งและการดำเนินงานของบริษัทลูกซึ่งจะจัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย
การให้ความเห็นชอบคำขอจัดตั้งบริษัทลูกตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ก็ต่อเมื่อรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบคำขอควบบริษัทเข้ากันของผู้ยื่นคำขอด้วยและผู้ยื่นคำขอแสดงได้ถึงเรื่องดังต่อไปนี้
(1) บริษัทลูกมีวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน และมีความพร้อมด้านแหล่งเงินทุนและบุคลากร
(2) บริษัทลูกจะมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ที่ขอรับใบอนุญาตอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. และประกาศสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนั้น
(3) บริษัทลูกจะมีความสามารถในการดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ณ วันที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับได้ไม่ต่ำกว่าอัตราที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(4) ผู้ที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทลูกเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทลูกเมื่อบริษัทลูกได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แล้ว ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13
ข้อ 13 ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้กำหนดหรือมีความตกลงไว้ล่วงหน้าว่าจะให้บริษัทแม่หรือนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดารายใดเป็นหู้ถือหุ้นในบริษัทลูกไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทลูก เมื่อบริษัทลูกได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แล้ว ผู้ยื่นคำขอต้องแสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีของบริษัทแม่
(ก) ภายในระยะเวลาห้าปีย้อนหลังนับแต่วันยื่นคำขอ นิติบุคคลแต่ละรายซึ่งเป็นผู้ยื่นคำขอไม่เคยมีประวัติเสียหายหรือดำเนินกิจการใดที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบหรือสะท้อนถึงวิธีการทำธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ เว้นแต่กรณีที่เห็นเป็นการสมควร รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจพิจารณาผ่อนผันลักษณะต้องห้ามดังกล่าวให้แก่บุคคลนั้นได้
(ข) ประธานกรรมการ กรรมการ และผู้จัดการของนิติบุคคลแต่ละรายซึ่งเป็นผู้ยื่นคำขอไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
1. ไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (ก) โดยอนุโลม
2. ไม่มีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติกรรณอื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน
3. ภายในระยะเวลาสิบปีย้อนหลังนับแต่วันยื่นคำขอ บุคคลดังกล่าวไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
4. ภายในระยะเวลาสิบปีย้อนหลังนับแต่วันยื่นคำขอ บุคคลดังกล่าวไม่เคยถูกถอดถอนจากการเป็นประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน หรือธนาคารพาณิชย์โดยหน่วงงานที่มีอำนาจกำกับดูแลนิติบุคคลนั้น ๆ
5. ภายในระยะเวลาห้าปีย้อนหลังนับแต่วันยื่นคำขอ บุคคลดังกล่าวไม่เคยเป็นประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์ ตามใบอนุญาต หรือถูกระงับการดำเนินกิจการ หรือถูกควบคุมกิจการ เว้นแต่กรณีที่เป็นการสมควรรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจพิจารณาผ่อนผันลักษณะต้องห้ามดังกล่าวให้แก่บุคคลนั้นได้
(2) ในกรณีของนิติบุคคล
(ก) นิติบุคคลดังกล่าวไม่มีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน
(ข) นิติบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (1) (ก) และ (ข) โดยอนุโลม
(3) ในกรณีของบุคคลธรรมดา บุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (1) (ข) โดยอนุโลม
ข้อ 14 ในกรณีที่รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบคำขอจัดตั้งบริษัทลูก ให้ความเห็นชอบดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่การจดทะเบียนเป็นบริษัทใหม่ของบริษัทแม่มีผลสมบูรณ์
เมื่อความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีผลใช้บังคับ ให้บริษัทแม่ดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกให้เป็นไปตามที่ได้รับความเห็นชอบ และเมื่อบริษัทลูกได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้ว ให้บริษัทลูกเป็นผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งออกให้แก่บริษัทลูกให้มีเงื่อนไขตามที่รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้กำหนดไว้ในขณะที่ให้ความเห็นชอบคำขอจัดตั้งบริษัทลูกเว้นแต่จะปรากฏในภายหลังว่าเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้นั้นมีสภาพบังคับไม่เหมาะสม รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะผ่อนผันหรือกำหนดเป็นประการอื่นก็ได้
ในกรณีที่บริษัทแม่มิได้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูก หรือการจัดตั้งบริษัทลูกมิได้เป็นไปตามที่ได้รับความเห็นชอบ หรือบริษัทลูกมิได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ภายในหกเดือนนับแต่วันที่การให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีผลใช้บังคับ ให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีเป็นอันสิ้นสุดลงเว้นแต่รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะผ่อนผันหรือกำหนดเป็นประการอื่น
ข้อ 15 การพิจารณษออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้แก่บริษัทลูก ให้กระทำได้ต่อเมื่อบริาทลูกได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพยืประเภทอื่นมาพร้อมกันตามหมวดนี้ และจะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนั้นจากรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ข้อ 16 ให่นำความในข้อ 9 ของหมวด 1 มาใช้บังคับกับบริษํทลูกซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามหมวดนี้ด้วยโดยอนุโลม
มิให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทลูกเมื่อบริษัทลูกได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แล้วตามที่ผู้ยื่นคำขอได้แสดงไว้ในคำขอจัดตั้งบริษัทลูกตามข้อ 12 (4) เว้นแต่บุคคลดังกล่าวจะมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดเช่นเดียวกับลักษณะต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13 ภายหลัง จากที่ได้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบการจัดตั้งบริษัทลูกตามข้อ 12 แล้ว
หมวด 4
การออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ให้แก่
บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งซื้อกิจการของบริษัทหลักทรัพย์อื่น
_____________
ข้อ 17 บริษัทหลักทรัพย์ใดซื้อกิจการของบริษัทหลักทรัพย์อื่นโดยการซื้อหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์อื่นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าขึ้นไปของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์อื่นนั้น บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งกิจการจะขอรับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใด ประเทภหนึ่งหรือหลายประเภทจากบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งถูกซื้อกิจการก็ได้ โดยให้บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งซื้อกิจการยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่จะขอรับโอน และให้บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งถูกซื้อกิจการยื่นคำขออนุญาตเลิกประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันนั้นมาพร้อมกัน
การอนุญาตตามวรรคหนึ่งจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ยื่นคำขอแสดงได้ถึงเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งถูกซื้อกิจการมีมติเห็นชอบให้บริษัทขออนุญาตเลิกประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนั้นได้ โดยต้องไม่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านมติดังกล่าวเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(2) บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งซื้อกิจการได้ซื้อหรือมีความตกลงไว้ล่วงหน้าว่าจะซื้อสินทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งถูกซื้อกิจการในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ขอรับโอนรวมเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของสินทรัพย์ที่อาจโอนกันได้ ภายในสามเดือนนับแต่วันที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ออกให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อกิจการตามหมวดนี้มีผลใช้บังคับ
(3) บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งซื้อกิจการแสดงได้ว่าตนจะมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ขอรับโอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. และประกาศสำนักงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนั้น
ข้อ 18 ในกรณีที่รัฐมนตรีพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งซื้อกิจการของบริษัทหลักทรัพย์อื่นตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ใบอนุญาตดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ในวันเดียวกับวันที่ยกเลิกใบอนุญาตของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งถูกซื้อกิจการ
ข้อ 19 เมื่อใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ออกให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งซื้อกิจการตามหมวดนี้มีผลใชับังคับแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพยืซึ่งซื้อกิจการซื้อสินทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งถูกซื้อกิจการในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ขอรับโอนตามที่ได้แสดงไว้ในคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามข้อ 17 วรรคสอง (2) เว้นแต่รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะผ่อนผันหรือกำหนดเป็นประการอื่น
ข้อ 20 ให้นำความในข้อ 9 ของหมวด 1 มาใช้บังคับบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามหมวดนี้ด้วยโดยอนุโลม
ข้อ 21 บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามหมวดนี้จะจำหน่ายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งถูกตนซื้อกิจการให้แก่บุคคลใดซึ่งจะมีผลทำให้บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นได้ ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นขอบจากสำนักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(ยังมีต่อ)