ส่วนที่ ๓
การประชุมผู้ถือหุ้น
___________________
มาตรา ๘๙/๒๖ ในการประชุมผู้ถือหุ้น บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนต้องเป็นผู้ถือหุ้นที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่คณะกรรมการกำหนด และจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายจะมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนให้เป็นไปตามที่ปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันเดียวกันนั้น ทั้งนี้ สิทธิของบุคคลดังกล่าวย่อมไม่ได้รับผลกระทบ แม้ว่าทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันประชุมผู้ถือหุ้นจะมีข้อมูล ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว วันที่กำหนดโดยคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งต้องเป็นวันที่ล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น ไม่เกินสองเดือน แต่ต้องไม่ก่อนวันที่คณะกรรมการอนุมัติให้มีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น และเมื่อคณะกรรมการกำหนดวันเพื่อกำหนดผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าประชุมแล้วจะเปลี่ยนแปลงมิได้ มาตรา ๘๙/๒๗ ให้คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีอำนาจประกาศกำหนดประเภทหรือรายละเอียดของข้อมูลที่คณะกรรมการต้องแจ้งต่อผู้ถือหุ้นในหนังสือนัดประชุมและระยะเวลาในการจัดส่งหนังสือนัดประชุม มาตรา ๘๙/๒๘ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงนับรวมกันได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท จะทำหนังสือเสนอเรื่องที่จะขอให้คณะกรรมการบรรจุเป็นวาระการประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งต้องระบุว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งรายละเอียดของเรื่องที่เสนอสำหรับการประชุมสามัญประจำปี หรือการประชุมวิสามัญก็ได้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
ให้คณะกรรมการบรรจุเรื่องที่เสนอโดยผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่งเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นที่จะจัดให้มีขึ้น เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ คณะกรรมการจะปฏิเสธการบรรจุเรื่องดังกล่าวเสนอเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นก็ได้
(๑) เป็นเรื่องที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในวรรคหนึ่ง
(๒) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัท และข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างโดย ผู้ถือหุ้นมิได้แสดงถึงเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับความไม่ปกติของเรื่องดังกล่าว
(๓) เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจที่บริษัทจะดำเนินการให้เกิดผลตามที่ประสงค์
(๔) เป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นได้เคยเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแล้วในรอบ สิบสองเดือนที่ผ่านมา และเรื่องดังกล่าวได้รับมติสนับสนุนด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละสิบ ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท เว้นแต่ข้อเท็จจริงในการนำเสนอครั้งใหม่จะได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญจากข้อเท็จจริงในขณะที่นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งก่อน
(๕) กรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
ในกรณีที่คณะกรรมการปฏิเสธการบรรจุเรื่องที่เสนอโดยผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่งเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด ให้แจ้งกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องเพื่อทราบในการประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งนั้น โดยต้องระบุเหตุผลในการปฏิเสธการบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ด้วย
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นในการประชุมตามวรรคสามมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง เห็นชอบให้มีการบรรจุเรื่องที่เสนอโดยผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่งเป็นวาระการประชุมของผู้ถือหุ้น ให้คณะกรรมการบรรจุเรื่องดังกล่าวเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นที่บริษัทจะจัดให้มีขึ้นในครั้งถัดไป
มาตรา ๘๙/๒๙ การดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ หากเป็นกรณีที่มีนัยสำคัญต่อบริษัทตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น (๑) การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือบริษัทย่อย (๒) การโอนหรือสละสิทธิประโยชน์ รวมตลอดถึงการสละสิทธิเรียกร้องที่มีต่อผู้ที่ก่อความเสียหายแก่บริษัท ไม่ว่าสิทธิประโยชน์นั้นจะเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินของบริษัทหรือบริษัทย่อย (๓) การเข้าทำ แก้ไข หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่าหรือให้เช่าซื้อกิจการหรือทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่ากิจการหรือทรัพย์สินนั้นจะดำเนินการโดยบริษัทหรือบริษัทย่อย (๔) การมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าบริหารจัดการธุรกิจทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ว่าธุรกิจนั้น จะดำเนินการโดยบริษัทหรือบริษัทย่อย (๕) การรวมกิจการกับบุคคลอื่น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างการบริหารจัดการบริษัท (๖) การให้กู้ยืมเงิน การให้สินเชื่อ การค้ำประกัน การทำนิติกรรมผูกพันบริษัท ให้ต้องรับภาระทางการเงินเพิ่มขึ้น ในกรณีที่บุคคลภายนอกขาดสภาพคล่องหรือไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ได้ หรือการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในลักษณะอื่นใดแก่บุคคลอื่นและมิใช่ธุรกิจปกติ ของบริษัท ไม่ว่าการนั้นจะดำเนินการโดยบริษัทหรือบริษัทย่อย (๗) การดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด ให้คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในเรื่องดังต่อไปนี้เพื่อใช้บังคับกับการดำเนินการของบริษัทตามวรรคหนึ่งได้ (๑) การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไปที่เกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัทตามวรรคหนึ่ง หรือข้อมูลในหนังสือนัดประชุมคณะกรรมการหรือหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น (๒) จำนวนคะแนนเสียงของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการลงมติอนุมัติการทำธุรกรรมดังกล่าว มาตรา ๘๙/๓๐ ในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด ถ้าได้มีการส่งหนังสือนัดประชุมหรือลงมติโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติในหมวดนี้ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งมีสิทธิออกเสียงนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอน มติในการประชุมครั้งนั้นก็ได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอน มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดมาใช้บังคับ โดยอนุโลม มาตรา ๘๙/๓๑ การชักชวน ชี้นำ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นการทั่วไป เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้ตนหรือบุคคลอื่นเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนนแทน ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด มาตรา ๘๙/๓๒ ในการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทอาจดำเนินการในห้องประชุมมากกว่า หนึ่งห้อง แต่ต้องให้ผู้เข้าประชุมในห้องอื่นสามารถแสดงความคิดเห็นให้ปรากฏต่อผู้ถือหุ้นอื่นในแต่ละห้องได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด" มาตรา ๒๒ ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา ๙๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๒๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๒ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๑๐๒ การให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด" มาตรา ๒๔ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(๔) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์อื่นเว้นแต่จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด" มาตรา ๒๕ ให้ยกเลิก (๘) ของมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๒๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑๑/๑ ในส่วนที่ ๒ การกำกับดูแลของหมวด ๔ ธุรกิจหลักทรัพย์ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๑๑๑/๑ เมื่อบริษัทหลักทรัพย์ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกทางการหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายอื่นสั่งระงับการดำเนินกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด ให้นำความในมาตรา ๔๓ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้บังคับแก่ลูกค้า และทรัพย์สินที่ถือว่าเป็นของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ในการนี้ให้สันนิษฐานว่ารายการและจำนวนทรัพย์สินของลูกค้า ซึ่งปรากฏตามบัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนดเป็นรายการและจำนวนที่ถูกต้อง เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ "ลูกค้า" หมายความว่า (๑) บุคคลที่ใช้บริการด้านธุรกิจหลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์หรือธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด และมีฐานะสุทธิเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์ โดยมีสิทธิเรียกเอาเงิน หลักทรัพย์ ตราสารทางการเงิน หรือทรัพย์สินอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับ ได้มาหรือมีไว้เพื่อบุคคลดังกล่าว (๒) บุคคลอื่นนอกจากบุคคลตาม (๑) ซึ่งมีฐานะสุทธิเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์ อันเนื่องมาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ดำเนินการเพื่อประโยชน์ของบุคคลตาม (๑) "ทรัพย์สินที่ถือว่าเป็นของลูกค้า" หมายความว่า (๑) บรรดาทรัพย์สินของลูกค้าและทรัพย์สินอื่นที่ได้มาแทนทรัพย์สินของลูกค้าตลอดจน ดอกผลของทรัพย์สินดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครอง หรืออำนาจสั่งการหรือสั่งจำหน่ายของบริษัทหลักทรัพย์ อันเนื่องมาจากประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด (๒) หลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่นใดที่บริษัทหลักทรัพย์ถือไว้ในลักษณะเป็น เจ้าของ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภท และชนิดเดียวกันกับหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินของลูกค้า ทั้งนี้ ในจำนวนที่จำเป็นเพื่อการส่งคืนหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินประเภทและชนิดเดียวกันนั้นแก่ลูกค้าตามสิทธิเรียกร้องที่ลูกค้ามีต่อบริษัทหลักทรัพย์" มาตรา ๒๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๓ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๑๑๓ ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด" มาตรา ๒๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๗๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๑๗๐/๑ ในกรณีที่ปรากฏต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่า กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิประโยชน์ของประชาชนหรือไม่เพียงพอ ที่จะคุ้มครองและรักษาความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจสั่งให้ตลาดหลักทรัพย์กำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม ยกเลิก หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้วได้" มาตรา ๒๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๑๘๔ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ "ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนซึ่งมิใช่ประเภทหุ้นในตลาดหลักทรัพย์คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อาจประกาศกำหนดให้บุคคลที่มิใช่บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์สามารถทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนดังกล่าวได้" มาตรา ๓๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๑๙๐ ในกรณีที่ต้องมีการส่งมอบ การโอน การยึดถือหรือส่งคืนหลักทรัพย์ จดทะเบียน ให้ใช้หลักทรัพย์ของนิติบุคคลเดียวกันหรือของโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภทและชนิดเดียวกัน และจำนวนเท่ากันแทนกันได้" มาตรา ๓๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙๕ และมาตรา ๑๙๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๑๙๕ ในกรณีที่เจ้าของหลักทรัพย์มีสัญญาให้บริษัทหลักทรัพย์ยึดถือหลักทรัพย์ จดทะเบียนไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีบัญชีหลักทรัพย์จดทะเบียนดังกล่าวตามแบบที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดและ ต้องลงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริง และเป็นปัจจุบัน (๒) รักษาหลักทรัพย์จดทะเบียนไว้ให้ตรงตามประเภท ชนิด และตามจำนวนสุทธิที่ ปรากฏในบัญชีหลักทรัพย์ตาม (๑) อยู่ตลอดเวลา เว้นแต่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จะประกาศกำหนดเป็นอย่างอื่น และต้องส่งคืนให้แก่ผู้กู้ได้ในทันทีที่ผู้กู้ได้ชำระหนี้เงินกู้ครบถ้วนแล้ว การยึดถือหลักทรัพย์จดทะเบียนไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ตามวรรคหนึ่งมิให้นำมาตรา ๗๕๒ และมาตรา ๗๕๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับการให้ประกันตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรานี้และมาตรา ๑๙๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ยึดถือหลักทรัพย์จดทะเบียนไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ตามวรรคหนึ่ง มีบุริมสิทธิเหนือหลักทรัพย์ดังกล่าวทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ มาตรา ๑๙๖ การบังคับขายหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ตามมาตรา ๑๙๕ ผู้ให้กู้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้กู้และผู้ให้ประกันก่อนเพื่อให้มีการชำระหนี้ภายในเวลาอันควร ถ้าผู้กู้และผู้ให้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวผู้ให้กู้มีสิทธินำหลักทรัพย์ที่เป็นประกันนั้นไปขายในตลาดหลักทรัพย์ตามวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด หรือขายทอดตลาดได้ ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับการบังคับจำนำหลักทรัพย์จดทะเบียนที่จำนำไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย โดยอนุโลม" มาตรา ๓๒ ให้ยกเลิกมาตรา ๒๑๒ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๑๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๒๑๖ ให้นำความในมาตรา ๙๑ มาตรา ๑๕๘ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๑ มาตรา ๑๖๒ มาตรา ๑๖๓ มาตรา ๑๗๐/๑ มาตรา ๑๘๖ มาตรา ๑๙๐ มาตรา ๑๙๓ มาตรา ๑๙๔ และมาตรา ๑๙๗ รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับ โดยอนุโลม" มาตรา ๓๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๒๓/๑ มาตรา ๒๒๓/๒ มาตรา ๒๒๓/๓ มาตรา ๒๒๓/๔ และมาตรา ๒๒๓/๕ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๒๒๓/๑ การเข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์โดยสำนักหักบัญชีและการวางหลักประกัน ซึ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สำนักหักบัญชีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย มาตรา ๒๒๓/๒ ในกรณีที่สำนักหักบัญชีเข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ ให้สำนักหักบัญชีมีความผูกพันตามสิทธิและหน้าที่ที่เกิดขึ้นตามสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ตนให้บริการในการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์เฉพาะกับสมาชิกของตนเท่านั้น ไม่ว่าสมาชิก ดังกล่าวจะดำเนินการเพื่อตนเองหรือเพื่อบุคคลอื่น มาตรา ๒๒๓/๓ ในกรณีที่สำนักหักบัญชีได้รับมาหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินจากสมาชิกเพื่อเป็นประกันการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่เกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ที่สมาชิกเป็นผู้รับผิดชอบต่อสำนักหักบัญชี ทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งของสมาชิกและของลูกค้า หรือทรัพย์สินที่สมาชิกนำมาวางไว้กับสำนักหักบัญชีเพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ให้นำความในมาตรา ๘๒ และมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้บังคับกับสำนักหักบัญชีในการดูแลรักษาและการใช้ทรัพย์สินดังกล่าว โดยอนุโลม มาตรา ๒๒๓/๔ เมื่อสมาชิกถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้นำความในมาตรา ๘๔ มาตรา ๘๕ มาตรา ๘๖ และมาตรา ๘๗ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้บังคับกับสำนักหักบัญชีและทรัพย์สินที่สำนักหักบัญชีได้รับมาหรือมีไว้ตาม มาตรา ๒๒๓/๓ โดยอนุโลม มาตรา ๒๒๓/๕ เมื่อสำนักหักบัญชีตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกทางการหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลสั่งระงับการดำเนินกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองทรัพย์สินของสมาชิกและลูกค้าของสมาชิกหรือระบบการชำระราคาและ ส่งมอบหลักทรัพย์ ให้นำความในมาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้บังคับกับสำนักหักบัญชีและทรัพย์สินที่สำนักหักบัญชีได้รับมาหรือมีไว้ตามมาตรา ๒๒๓/๓ โดยอนุโลม" มาตรา ๓๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๒๔ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๒๒๔ ในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้ประกอบการได้โดยมิต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทั้งนี้ ให้ตลาดหลักทรัพย์ประกอบการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนดตามมาตรา ๒๒๓" มาตรา ๓๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๒๒๘ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "การโอนหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งหรือภายในบัญชีผู้ฝากหลักทรัพย์รายเดียวกันให้ถือว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด" มาตรา ๓๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๒๘/๑ และมาตรา ๒๒๘/๒ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๒๒๘/๑ การใช้หลักทรัพย์ที่ฝากไว้กับตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่มิใช่กรณีตามมาตรา ๑๙๕ ให้มีผลสมบูรณ์เป็นประกันการชำระหนี้ และใช้ยันบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบุคคลภายนอกได้ เมื่อตลาดหลักทรัพย์ได้ลงบันทึกบัญชีที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดขึ้น ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน การบังคับชำระหนี้จากหลักทรัพย์ที่เป็นประกันตามวรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าว เป็นหนังสือไปยังลูกหนี้และผู้ให้ประกันก่อน เพื่อให้มีการชำระหนี้ภายในเวลาอันควรถ้าลูกหนี้ และผู้ให้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว เจ้าหนี้มีสิทธินำหลักทรัพย์ที่เป็นประกันนั้นไปขายใน ตลาดหลักทรัพย์ตามวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด หรือขายทอดตลาดได้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับการใช้หลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรานี้ ให้เจ้าหนี้ที่รับหลักทรัพย์ไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามวรรคหนึ่ง มีบุริมสิทธิเหนือหลักทรัพย์ดังกล่าวทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ มาตรา ๒๒๘/๒ ให้นำความในมาตรา ๒๒๕ มาตรา ๒๒๖ มาตรา ๒๒๗ มาตรา ๒๒๘ และมาตรา ๒๒๘/๑ มาใช้บังคับกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการรับฝากหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้" มาตรา ๓๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๒๙ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๒๒๙ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้ประกอบการได้โดยมิต้องได้รับใบอนุญาตจาก คณะกรรมการ ก.ล.ต. และให้คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นำความในมาตรา ๒๒๕ มาตรา ๒๒๖ มาตรา ๒๒๗ มาตรา ๒๒๘ และมาตรา ๒๒๘/๑ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ทั้งนี้ การใดที่เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนตามบทบัญญัติดังกล่าวให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย และให้ตลาดหลักทรัพย์ตามมาตราดังกล่าวหมายความถึงธนาคารแห่งประเทศไทย" มาตรา ๓๙ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า "กิจการ" ในมาตรา ๒๔๕ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ""กิจการ" หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีลักษณะตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด" มาตรา ๔๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๒๔๖ บุคคลใดกระทำการไม่ว่าโดยตนเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นอันเป็นผลให้ตนหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการในจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อรวมกันแล้ว มีจำนวนทุกร้อยละห้าของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการนั้นไม่ว่าจะมีการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์นั้นหรือไม่ และไม่ว่าการเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นจะมีจำนวนเท่าใดในแต่ละครั้ง บุคคลนั้นต้องรายงานการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนหลักทรัพย์ในทุกร้อยละห้าของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการดังกล่าวต่อสำนักงานทุกครั้ง ทั้งนี้ การคำนวณจำนวนสิทธิออกเสียงและการรายงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด การเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึง การมีสิทธิที่จะซื้อหรือได้รับการส่งมอบหลักทรัพย์ของกิจการอันเนื่องมาจากการเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ที่กิจการมิได้เป็นผู้ออกหรือจากการเข้าเป็นคู่สัญญากับบุคคลอื่นใด ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด มาตรา ๒๔๗ บุคคลใดเสนอซื้อหรือได้มาไม่ว่าโดยตนเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือกระทำการอื่นใด อันเป็นผลหรือจะเป็นผลให้ตนหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการรวมกันถึงร้อยละ ยี่สิบห้าขึ้นไปของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการนั้น ให้ถือว่าเป็นการเข้าถือหลักทรัพย์ เพื่อครอบงำกิจการ เว้นแต่การเป็นผู้ถือหลักทรัพย์นั้นเป็นผลจากการได้มาโดยทางมรดก ในการนี้ ให้คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ โดยอาจกำหนดให้บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลที่ร่วมกันจัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ก็ได้ ในกรณีที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนดให้จัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง คำเสนอดังกล่าวต้องยื่นต่อสำนักงาน และให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด" มาตรา ๔๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๕๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๒๕๐ เมื่อได้รับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามมาตรา ๒๔๙ ให้กิจการนั้นจัดทำความเห็นเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ และให้ยื่นต่อสำนักงานพร้อมทั้งส่งสำเนาให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด" มาตรา ๔๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๕๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๒๕๐/๑ กิจการจะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการใดในประการที่น่าจะมีผลต่อการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการได้ ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด การกระทำการหรืองดเว้นกระทำการที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติในมาตรานี้ไม่มีผลผูกพันกิจการ และให้กรรมการของกิจการต้องรับผิดต่อความเสียหายของบุคคลภายนอกที่สุจริตและเสียค่าตอบแทน" มาตรา ๔๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๕๘ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๒๕๘ หลักทรัพย์ของกิจการที่บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้ถืออยู่ให้นับรวมเป็นหลักทรัพย์ของบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ ด้วย (๑) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ (๒) บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ เกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว โดยให้นับรวมสิทธิออกเสียงของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ถือหุ้นนั้นด้วย (๓) นิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นในบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ เกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว (๔) ผู้ถือหุ้นในบุคคลตาม (๓) ต่อไปเป็นทอด ๆ เริ่มจากการถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (๓) โดยการถือหุ้นในแต่ละทอดเกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้น ทั้งนี้ หากการถือหุ้นในทอดใดมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาให้นับรวมจำนวนสิทธิออกเสียงของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวในนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้นนั้นด้วย (๕) นิติบุคคลที่มีบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) เป็นผู้ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว (๖) นิติบุคคลที่มีบุคคลตาม (๕) เป็นผู้ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ เริ่มจากผู้ถือหุ้นในนิติบุคคล (๕) โดยการถือหุ้นในแต่ละทอดเกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้นดังกล่าว (๗) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ หรือมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม (๘) เป็นหุ้นส่วน (๘) ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ หรือมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) หรือห้างหุ้นส่วนสามัญตาม (๗) เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด (๙) นิติบุคคลที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ มีอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์" มาตรา ๔๔ ให้ยกเลิกหมวด ๙ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ มาตรา ๒๖๐ และมาตรา ๒๖๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๖๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๒๖๒/๑ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับ ตลาดทุน หรือสำนักงาน ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือทำรายงานเกี่ยวกับสภาพของ ตลาดทุนหรือตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือแนวทางการกำกับดูแลตลาดทุนหรือตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้" มาตรา ๔๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๖๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๒๖๔/๑ เมื่อหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายอื่นในทำนองเดียวกันของต่างประเทศร้องขอ ให้สำนักงานมีอำนาจให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมหรือตรวจสอบข้อมูลหรือหลักฐานที่จำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายอื่นในทำนองเดียวกันของประเทศผู้ร้องขอ ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือในกรณีดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) การให้ความช่วยเหลือนั้นต้องไม่ขัดต่อประโยชน์สาธารณะหรือการรักษาความลับของประเทศ (๒) การกระทำซึ่งเป็นมูลกรณีของความช่วยเหลือนั้นเข้าลักษณะประเภทความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ (๓) หน่วยงานต่างประเทศที่ร้องขอความช่วยเหลือตกลงหรือยินยอมที่จะให้ความช่วยเหลือในทำนองเดียวกันเป็นการตอบแทนหากได้รับคำร้องขอจากสำนักงาน เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้นำความในมาตรา ๒๖๔ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม" มาตรา ๔๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๖๗/๑ ของหมวด ๑๒ บทกำหนดโทษ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๒๖๗/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๒/๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" มาตรา ๔๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๘๑/๑ ถึงมาตรา ๒๘๑/๑๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๒๘๑/๑ บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นด้วย
มาตรา ๒๘๑/๒ กรรมการหรือผู้บริหารบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต ตามมาตรา ๘๙/๗ จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย หรือทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินจำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ แต่ทั้งนี้ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาท
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ แต่ทั้งนี้ค่าปรับดังกล่าวต้อง ไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๑/๓ กรรมการหรือผู้บริหารบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๑๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘๑/๔ คณะกรรมการบริษัทใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๑๕ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ประธานกรรมการบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๑๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘๑/๕ เลขานุการบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดตามมาตรา ๘๙/๑๕ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือมาตรา ๘๙/๑๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๒๘๑/๖ บริษัทใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘๑/๗ เลขานุการบริษัทผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๒๓ จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย หรือทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับไม่เกินจำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ แต่ทั้งนี้ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนบาท
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ แต่ทั้งนี้ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๘๑/๘ ผู้สอบบัญชีผู้ใดหรือคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๒๘๑/๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๙/๓๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท มาตรา ๒๘๑/๑๐ ผู้ใดมีหน้าที่เปิดเผยเอกสารต่อผู้ถือหุ้นหรือประชาชนทั่วไปตามที่บัญญัติในหมวด ๓/๑ การบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน ห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" มาตรา ๔๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘๓ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๒๘๓ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๖ มาตรา ๑๐๒ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ มาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๐๙ มาตรา ๑๑๐ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๒๓ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๕ มาตรา ๑๔๐ วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม มาตรา ๑๕๑ หรือมาตรา ๑๙๕ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๓๕ หรือมาตรา ๑๕๐ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นด้วย ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕ มาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๓๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓๖ หรือมาตรา ๑๓๙ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙๐ วรรคสี่ มาตรา ๙๑ มาตรา ๙๘ (๗) หรือ (๑๐) มาตรา ๑๓๙ (๔) มาตรา ๑๔๑ มาตรา ๑๔๒ มาตรา ๑๔๓ หรือมาตรา ๑๔๔ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นด้วย" มาตรา ๕๐ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๘๕ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๑๓๓ วรรคสอง กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นด้วย" มาตรา ๕๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๒๘๖ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๑๓๘ หรือมาตรา ๑๓๙ (๕) กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นด้วย" มาตรา ๕๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๙๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๒๙๐ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗๑ วรรคสอง มาตรา ๑๘๘ หรือมาตรา ๒๑๓ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีการ หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๑๘๖ (๑) หรือมาตรา ๒๐๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง" มาตรา ๕๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๙๙ มาตรา ๓๐๐ และมาตรา ๓๐๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๒๙๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕๐ หรือมาตรา ๒๕๐/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๓๐๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๘ มาตรา ๒๖๙ มาตรา ๒๗๐ มาตรา ๒๗๑ มาตรา ๒๗๒ มาตรา ๒๗๓ มาตรา ๒๗๔ มาตรา ๒๗๙ มาตรา ๒๘๐ มาตรา ๒๘๑ มาตรา ๒๘๑/๖ มาตรา ๒๘๑/๙ มาตรา ๒๘๑/๑๐ มาตรา ๒๘๔ มาตรา ๒๘๖ มาตรา ๒๙๐ มาตรา ๒๙๒ มาตรา ๒๙๖ มาตรา ๒๙๗ มาตรา ๒๙๘ หรือมาตรา ๒๙๙ เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น มาตรา ๓๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๘ มาตรา ๒๘๘ หรือมาตรา ๒๘๙ เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น" มาตรา ๕๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๑๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๓๑๕/๑ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษผู้ใดตามมาตรา ๒๔๑ หรือมาตรา ๒๔๓ ให้พนักงานอัยการมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้จ่ายเงินสินบนให้แก่ผู้นำจับหรือผู้ที่แจ้งข้อมูล เกี่ยวกับการกระทำความผิด และเงินรางวัลให้แก่ผู้จับ จากเงินค่าปรับที่ผู้กระทำความผิดดังกล่าว ได้นำมาชำระต่อศาลไม่เกินร้อยละสามสิบของจำนวนเงินค่าปรับนั้น และให้จ่ายเงินได้เมื่อคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดแล้ว ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบในความผิดตามมาตรา ๒๔๑ หรือมาตรา ๒๔๓ ให้สำนักงาน มีอำนาจร้องขอต่อคณะกรรมการเปรียบเทียบให้จ่ายเงินสินบนให้แก่ผู้ที่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิด จากเงินค่าปรับที่ผู้กระทำความผิดดังกล่าวได้ชำระตามคำสั่งคณะกรรมการเปรียบเทียบไม่เกินร้อยละสามสิบของจำนวนเงินค่าปรับนั้น ให้คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรานี้ได้ บุคคลดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิได้รับเงินสินบนและเงินรางวัลตามมาตรานี้ (๑) กรรมการ ก.ล.ต. กรรมการกำกับตลาดทุน เลขาธิการ และพนักงานของสำนักงาน (๒) กรรมการ ผู้จัดการ และพนักงานตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์" มาตรา ๕๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๓๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๓๑๗ ความผิดตามมาตรา ๒๖๘ มาตรา ๒๖๙ มาตรา ๒๗๐ มาตรา ๒๗๑ มาตรา ๒๗๒ มาตรา ๒๗๓ มาตรา ๒๗๔ มาตรา ๒๗๕ มาตรา ๒๗๖ มาตรา ๒๗๗ มาตรา ๒๗๙ มาตรา ๒๘๐ มาตรา ๒๘๑ มาตรา ๒๘๑/๑ มาตรา ๒๘๑/๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๘๑/๓ มาตรา ๒๘๑/๔ มาตรา ๒๘๑/๕ มาตรา ๒๘๑/๖ มาตรา ๒๘๑/๗ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๘๑/๘ มาตรา ๒๘๑/๙ มาตรา ๒๘๑/๑๐ มาตรา ๒๘๒ มาตรา ๒๘๓ มาตรา ๒๘๔ มาตรา ๒๘๕ มาตรา ๒๘๕ ทวิ มาตรา ๒๘๕ ตรี มาตรา ๒๘๖ มาตรา ๒๘๖ ทวิ มาตรา ๒๘๗ มาตรา ๒๙๐ มาตรา ๒๙๑ มาตรา ๒๙๒ มาตรา ๒๙๓ มาตรา ๒๙๔ มาตรา ๒๙๕ มาตรา ๒๙๖ มาตรา ๒๙๗ มาตรา ๒๙๘ มาตรา ๒๙๙ และมาตรา ๓๐๐ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้"
มาตรา ๕๖ ให้แก้ไขคำว่า "คณะกรรมการ ก.ล.ต." ในมาตรา ๖ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๗ มาตรา ๖๙ มาตรา ๗๐ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๘๘ มาตรา ๙๒ มาตรา ๙๘ มาตรา ๑๐๐ มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๙ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๙ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๓ มาตรา ๑๓๔ มาตรา ๑๓๕ มาตรา ๑๔๐ มาตรา ๑๔๑ มาตรา ๑๔๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔๕ มาตรา ๑๘๑ มาตรา ๑๙๙ มาตรา ๒๑๐ มาตรา ๒๒๓ มาตรา ๒๔๘ มาตรา ๒๕๒ มาตรา ๒๕๕ และมาตรา ๒๕๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นคำว่า "คณะกรรมการกำกับตลาดทุน" มาตรา ๕๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอชื่อบุคคลต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อมีมติแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๕๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตินี้ (๑) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คัดเลือกกันเองโดยวิธีการจับสลากให้เหลือจำนวนสามคน และให้ถือว่าการออกจากตำแหน่งโดยการจับสลาก เป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ (๒) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการ ก.ล.ต. ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ ให้ประธานกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการ ก.ล.ต. ที่มิใช่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกันเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. จำนวน สองเท่าของจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะแต่งตั้งต่อคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๑/๓ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาคัดเลือกและเสนอชื่อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อมีคำสั่งแต่งตั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อ เมื่อครบสองปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๑) ออกจากตำแหน่ง และให้ถือว่าการออกจากตำแหน่งดังกล่าวเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ มาตรา ๕๙ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับอยู่ในตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีการแต่งตั้งประธานกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา ๕๗ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา ๕๘ มาตรา ๖๐ ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทำหน้าที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน ให้ประธานกรรมการ ก.ล.ต. และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ร่วมกันเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับตลาดทุนตามมาตรา ๑๖/๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ต่อคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อดำเนินการตามที่กำหนดในมาตรา ๓๑/๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๑ ให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ อยู่ในตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง
มิให้นำความในมาตรา ๒๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อาจได้รับการพิจารณาเสนอชื่อ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้อีกวาระหนึ่ง
มาตรา ๖๒ ในกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๖๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๖๑ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์พิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไปได้จนเสร็จสิ้นตามประกาศหรือระเบียบที่ใช้บังคับแก่การพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น
มาตรา ๖๓ ให้บรรดาประกาศ ระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับ ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังใช้บังคับอยู่ ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป จนกว่าจะได้มีประกาศระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับเป็นอย่างอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี