พระราชกำหนด
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2541
______________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2541
เป็นปีที่ 53 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541"
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 3 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505
"มาตรา 3 ทวิ พระราชบัญญัตินี้เป็นกฏหมายเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพในเคหสถาน สิทธิในทรัพย์สินของบุคคล และเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพ ซึ่งตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 วรรคสอง มาตรา 48 และมาตรา 50 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคำว่า "สถาบันการเงิน" ระหว่างบทนิยาม คำว่า "บัตรเงินฝาก" และบทนิยามคำว่า "รัฐมนตรี" ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505
""สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฏหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(2) นิติบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา"
มาตรา 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 38 ทวิ มาตรา 38 ตรี มาตรา 38 จัตวา มาตรา 38 เบญจ มาตรา 38 ฉ และมาตรา 38 สัตต แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505
"มาตรา 38 ทวิ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ควบกิจการเข้าด้วยกันหรือควบกิจการเข้ากับสถาบันการเงิน ไม่มีผลเป็นการโอนใบอนุญาตของธนาคารพาณิชย์เดิมไปเป็นของธนาคารพาณิชย์ใหม่ หรือสถาบันการเงิน
มาตรา 38 ตรี การโอนกิจการของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่นหรือสถาบันการเงิน ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
เมื่อได้รับความเห็นชอบการโอนกิจการจากรัฐมนตรีแล้ว ให้ดำเนินการโอนกิจการได้ ทั้งนี้การโอนสิทธิเรียกร้องในการโอนกิจการนี้ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 38 จัตวา ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะควบกิจการกับธนาคารพาณิชย์อื่นหรือสถาบันการเงินหรือโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่นหรือสถาบันการเงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ให้คณะกรรมการธนาคารพาณิชย์นั้นจัดทำโครงการแสดงรายละเอียดการดำเนินงานเสนอต่อรัฐมนตรี ถ้ารัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นชอบกับโครงการดังกล่าว ให้รัฐมนตรีประกาศการให้ความเห็นชอบในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ในประกาศดังกล่าวจะกำหนดระยะเวลาดำเนินการและเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
ในการดำเนินการตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ถ้าธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี
(1) มาตรา 237 มาตรา 1117 มาตรา 1185 มาตรา 1220 มาตรา 1222 มาตรา 1224 มาตรา 1225 มาตรา 1226 และมาตรา 1240 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
(2) มาตรา 50 มาตรา 52 มาตรา 102 ประกอบกับมาตรา 33 วรรคสอง มาตรา 137 มาตรา 139 วรรคหนึ่ง มาตรา 140 มาตรา 141 มาตรา 147 และมาตรา 148 แห่งพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
(3) มาตรา 94 (2) มาตรา 114 และมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน เนื่องในการควบกิจการหรือโอนกิจการ
ในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นแก่บุคคลใดในการดำเนินการตามวรรคสอง ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินที่ควบกันหรือที่รับโอนกิจการต้องร่วมกันรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น
มาตรา 38 เบญจ เมื่อได้มีประกาศการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีตามมาตรา 38 จัตวา แล้ว ให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่จะควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการ จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาการควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการ ในการนี้มิให้นำบทกฏหมายเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการของธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินนั้นมาใช้บังคับ และให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินนั้นงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้นเมื่อพ้นเจ็ดวันนับแต่วันที่มีประกาศการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีตามมาตรา 38 จัตวา จนถึงวันประชุมผู้ถือหุ้น และเรียกประชุมผู้ถือหุ้นโดยจัดส่งหนังสือนัดให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันแต่ต้องไม่เกินสิบสี่วัน ทั้งนี้ ให้โฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันประชุมด้วย ในการประชุมถ้ามีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงของผู้ถือหุ้น ซึ่งมาประชุม ให้ถือว่าการควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการนั้นเป็นการชอบด้วยกฏหมาย
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจมีหุ้นในธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินใดไม่ต่ำกว่าร้อยละเก้าสิบ เมื่อได้มีประกาศการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีตามมาตรา 38 จัตวา แล้ว ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีเป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และการควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการนั้นเป็นการชอบด้วยกฏหมายโดยไม่ต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินตามมาตรา 38 จัตวา เป็นคดีล้มละลายในระหว่างการดำเนินการเพื่อควบกิจการหรือโอนกิจการตามที่ได้มีประกาศการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีตามมาตรา 38 จัตวา
ให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินตามมาตรา 38 จัตวา ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากรต่าง ๆ บรรดาที่เกิดจากการควบกิจการหรือการโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยจะกำหนดเป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะรายก็ได้
คณะกรรมการของสถาบันการเงินที่ควบกันแล้วมีสิทธิยื่นขอจดทะเบียนการควบกิจการได้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีประกาศการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีตามมาตรา 38 จัตวา
มาตรา 38 ฉ ในการควบกิจการของธนาคารพาณิชย์เข้าด้วยกันหรือควบกิจการเข้ากับสถาบันการเงิน หรือโอนกิจการของธนาคารพาณิชย์ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่นหรือสถาบันการเงิน หากมีการโอนสินทรัพย์ที่มีหลักประกันอย่างอื่นที่มิใช่สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือสิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกัน ให้หลักประกันนั้นตกแก่ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่ควบกันหรือที่รับโอนกิจการแล้วแต่กรณี
มาตรา 38 สัตต ในการควบกิจการของธนาคารพาณิชย์เข้าด้วยกันหรือควบกิจการเข้ากับสถาบันการเงิน หรือโอนกิจการของธนาคารพาณิชย์ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่นหรือสถาบันการเงิน ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่ควบกันหรือที่รับโอนกิจการ แล้วแต่กรณีเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว และอาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้แล้ว ถามค้านพยานที่สืบมาแล้ว และคัดค้านพยานหลักฐานที่ได้สืบไปแล้วได้ และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น"
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับฐานะหรือการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเข้มแข็งจำเป็นต้องให้ธนาคารพาณิชย์สามารถควบกิจการเข้าด้วยกัน หรือควบกิจการเข้ากับสถาบันการเงินอื่น หรือโอนกิจการระหว่างกันหรือกับสถาบันการเงินอื่นได้ จึงจำเป็นต้องมีกฏหมายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 51 ก--
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2541
______________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2541
เป็นปีที่ 53 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541"
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 3 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505
"มาตรา 3 ทวิ พระราชบัญญัตินี้เป็นกฏหมายเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพในเคหสถาน สิทธิในทรัพย์สินของบุคคล และเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพ ซึ่งตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 วรรคสอง มาตรา 48 และมาตรา 50 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคำว่า "สถาบันการเงิน" ระหว่างบทนิยาม คำว่า "บัตรเงินฝาก" และบทนิยามคำว่า "รัฐมนตรี" ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505
""สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฏหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(2) นิติบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา"
มาตรา 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 38 ทวิ มาตรา 38 ตรี มาตรา 38 จัตวา มาตรา 38 เบญจ มาตรา 38 ฉ และมาตรา 38 สัตต แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505
"มาตรา 38 ทวิ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ควบกิจการเข้าด้วยกันหรือควบกิจการเข้ากับสถาบันการเงิน ไม่มีผลเป็นการโอนใบอนุญาตของธนาคารพาณิชย์เดิมไปเป็นของธนาคารพาณิชย์ใหม่ หรือสถาบันการเงิน
มาตรา 38 ตรี การโอนกิจการของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่นหรือสถาบันการเงิน ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
เมื่อได้รับความเห็นชอบการโอนกิจการจากรัฐมนตรีแล้ว ให้ดำเนินการโอนกิจการได้ ทั้งนี้การโอนสิทธิเรียกร้องในการโอนกิจการนี้ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 38 จัตวา ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะควบกิจการกับธนาคารพาณิชย์อื่นหรือสถาบันการเงินหรือโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่นหรือสถาบันการเงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ให้คณะกรรมการธนาคารพาณิชย์นั้นจัดทำโครงการแสดงรายละเอียดการดำเนินงานเสนอต่อรัฐมนตรี ถ้ารัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นชอบกับโครงการดังกล่าว ให้รัฐมนตรีประกาศการให้ความเห็นชอบในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ในประกาศดังกล่าวจะกำหนดระยะเวลาดำเนินการและเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
ในการดำเนินการตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ถ้าธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี
(1) มาตรา 237 มาตรา 1117 มาตรา 1185 มาตรา 1220 มาตรา 1222 มาตรา 1224 มาตรา 1225 มาตรา 1226 และมาตรา 1240 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
(2) มาตรา 50 มาตรา 52 มาตรา 102 ประกอบกับมาตรา 33 วรรคสอง มาตรา 137 มาตรา 139 วรรคหนึ่ง มาตรา 140 มาตรา 141 มาตรา 147 และมาตรา 148 แห่งพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
(3) มาตรา 94 (2) มาตรา 114 และมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน เนื่องในการควบกิจการหรือโอนกิจการ
ในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นแก่บุคคลใดในการดำเนินการตามวรรคสอง ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินที่ควบกันหรือที่รับโอนกิจการต้องร่วมกันรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น
มาตรา 38 เบญจ เมื่อได้มีประกาศการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีตามมาตรา 38 จัตวา แล้ว ให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่จะควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการ จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาการควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการ ในการนี้มิให้นำบทกฏหมายเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการของธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินนั้นมาใช้บังคับ และให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินนั้นงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้นเมื่อพ้นเจ็ดวันนับแต่วันที่มีประกาศการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีตามมาตรา 38 จัตวา จนถึงวันประชุมผู้ถือหุ้น และเรียกประชุมผู้ถือหุ้นโดยจัดส่งหนังสือนัดให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันแต่ต้องไม่เกินสิบสี่วัน ทั้งนี้ ให้โฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันประชุมด้วย ในการประชุมถ้ามีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงของผู้ถือหุ้น ซึ่งมาประชุม ให้ถือว่าการควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการนั้นเป็นการชอบด้วยกฏหมาย
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจมีหุ้นในธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินใดไม่ต่ำกว่าร้อยละเก้าสิบ เมื่อได้มีประกาศการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีตามมาตรา 38 จัตวา แล้ว ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีเป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และการควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการนั้นเป็นการชอบด้วยกฏหมายโดยไม่ต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินตามมาตรา 38 จัตวา เป็นคดีล้มละลายในระหว่างการดำเนินการเพื่อควบกิจการหรือโอนกิจการตามที่ได้มีประกาศการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีตามมาตรา 38 จัตวา
ให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินตามมาตรา 38 จัตวา ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากรต่าง ๆ บรรดาที่เกิดจากการควบกิจการหรือการโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยจะกำหนดเป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะรายก็ได้
คณะกรรมการของสถาบันการเงินที่ควบกันแล้วมีสิทธิยื่นขอจดทะเบียนการควบกิจการได้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีประกาศการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีตามมาตรา 38 จัตวา
มาตรา 38 ฉ ในการควบกิจการของธนาคารพาณิชย์เข้าด้วยกันหรือควบกิจการเข้ากับสถาบันการเงิน หรือโอนกิจการของธนาคารพาณิชย์ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่นหรือสถาบันการเงิน หากมีการโอนสินทรัพย์ที่มีหลักประกันอย่างอื่นที่มิใช่สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือสิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกัน ให้หลักประกันนั้นตกแก่ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่ควบกันหรือที่รับโอนกิจการแล้วแต่กรณี
มาตรา 38 สัตต ในการควบกิจการของธนาคารพาณิชย์เข้าด้วยกันหรือควบกิจการเข้ากับสถาบันการเงิน หรือโอนกิจการของธนาคารพาณิชย์ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่นหรือสถาบันการเงิน ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่ควบกันหรือที่รับโอนกิจการ แล้วแต่กรณีเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว และอาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้แล้ว ถามค้านพยานที่สืบมาแล้ว และคัดค้านพยานหลักฐานที่ได้สืบไปแล้วได้ และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น"
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับฐานะหรือการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเข้มแข็งจำเป็นต้องให้ธนาคารพาณิชย์สามารถควบกิจการเข้าด้วยกัน หรือควบกิจการเข้ากับสถาบันการเงินอื่น หรือโอนกิจการระหว่างกันหรือกับสถาบันการเงินอื่นได้ จึงจำเป็นต้องมีกฏหมายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 51 ก--