พระราชบัญญัติ
การธนาคารพาณิชย์
พ.ศ.2505
————————————————
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2505
เป็นปีที่ 17 ในรัชกาลปัจจุบัน
มาตรา 17 /1 ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดทำการตามเวลาและหยุดทำการตามวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้เปิดทำการหรือหยุดทำการในเวลาหรือวันอื่นจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการอนุญาตดังกล่าวธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติด้วยก็ได้
ให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศเวลาทำการและวันหยุดทำการดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงาน
มาตรา 17 ทวิ /2 เพื่อแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ หรือเพื่อประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินหรือระบบสถาบันการเงิน ให้รัฐมนตรีด้วยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ระงับการดำเนินกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวภายในะระยะเวลาที่กำหนด และในการนี้จะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 18 ธนาคารพาณิชย์ใดหยุดทำการจ่ายเงิน ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นแจ้งให้รัฐมนตรีทราบทันทีและห้ามมิให้ทำกิจการใด ๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี แล้วให้รายงานโดยละเอียดแสดงเหตุที่ต้องหยุดทำการจ่ายเงินภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่หยุดทำการจ่ายเงิน
มาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งเป็นกรรมการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นในธนาคารพาณิชย์ใดเป็นกรรมการหรือดำรงตำแหน่งอื่นในธนาคารพาณิชย์อื่นอีกในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เว้นแต่ตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมาย หรือตำแหน่งที่ไม่มีหน้าที่ปฏิบัติหรือให้ความเห็นเกี่ยวแก่การดำเนินการของธนาคารพาณิชย์
มาตรา 20 ธนาคารพาณิชย์ใดฝ่าฝืนเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 5 มาตรา 6 หรือมาตรา 7 รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือสั่งให้เลิกสาขาตามที่ได้อนุญาตไปแล้ว แล้วแต่กรณี หรือจะสั่งควบคุมธนาคารพาณิชย์นั้นก็ได้ แต่ถ้าเห็นสมควรรัฐมนตรีจะสั่งให้ธนาคารพาณิชย์นั้นปฏิบัติการเพื่อแก้ไขให้เป็นไปตามเงื่อนไขเสียก่อนภายในเวลาที่รัฐมนตรีกำหนดก็ได้
มาตรา 21 ธนาคารพาณิชย์ใดฝ่าฝืนมาตรา 10 รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งธนาคารพาณิชย์นั้นมิให้แจกหรือจำหน่ายกำไรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยให้นำเงินกำไรนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปเพิ่มทุนสำรอง หรือไปเพิ่มสินทรัพย์ที่ต้องดำรงตามมาตรา 6 แล้วแต่กรณี และรัฐมนตรีจะสั่งห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์นั้นให้กู้ยืมหรือลงทุน หรือให้ทำได้ภายใต้เงื่อนไขใด ๆ จนกว่าธนาคารพาณิชย์จะปฏิบัติถูกต้องด้วยก็ได้
มาตรา 22 /3 ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่า ธนาคารพาณิชย์ใด
(1) ดำรงเงินสดสำรองไม่ได้ตามอัตราส่วนที่กำหนดเป็นเนืองนิจ
(2) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ได้ตามอัตราส่วนที่กำหนดเป็นเนืองนิจ
(3) รับฝากเงินหรือกู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันโดยไม่ลงบัญชีให้ถูกต้องและครบถ้วน หรือสร้างรายการให้สินเชื่อไม่ตรงต่อความเป็นจริง
(4) ให้สินเชื่อหรือลงทุนเกินอัตราที่กำหนด หรือให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นได้ว่าจะเรียกคืนไม่ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(5) ให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่ธนาคารพาณิชย์ หรือกรรมการของธนาคารพาณิชย์นั้นมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง หรือให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้นในปริมาณเกินสมควรหรือมีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดพิเศษผิดไปจากปกติ
(6) ไม่ตัดสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ออกจากบัญชี
(7) ไม่กันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
(8) กระทำการหรืองดเว้นกระทำการใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้น เพื่อพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชน
ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจสั่งให้ธนาคารพาณิชย์นั้นกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ หรือแก้ไขการดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ในการนี้จะกำหนดเงื่อนไขและระยะเวลาไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 23 รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ยื่นรายงานลับมีรายการตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้จะให้ยื่นตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวและจะให้ทำคำชี้แจงข้อความ เพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงานนั้นก็ได้ รายงานลับและคำชี้แจงให้ยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา 24 /4 รัฐมนตรีมีอำนาจตั้งผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ เพื่อตรวจสอบและรายงานกิจการและสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ หรือจะมอบอำนาจให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ก็ได้ แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆ รัฐมนตรีจะตั้งหรือมอบอำนาจให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ให้ทำการตรวจเพื่อทราบกิจการหรือทรัพย์สินของเอกชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะที่มีหรือปรากฏอยู่ในธนาคารพาณิชย์ใด ๆ มิได้ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 25 (3)
มาตรา 24 ทวิ /4 เมื่อปรากฏหลักฐานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ธนาคารพาณิชย์ใดมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้ธนาคารพาณิชย์นั้นแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ในการนี้จะสั่งให้เพิ่มทุนหรือลดทุนด้วยก็ได้
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดไม่เพิ่มทุนหรือลดทุนภายในกำหนดเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น นับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว
ในกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องให้ธนาคารพาณิชย์ใดเพิ่มทุนหรือลดทุน เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นั้นสามารถพยุงฐานะและการดำเนินงานต่อไปได้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสั่งให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มทุนหรือลดทุนทันทีก็ได้โดยให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ในการเพิ่มทุนหรือลดทุนตามวรรคสองหรือวรรคสาม มิให้นำมาตรา 1220 มาตรา 1224 มาตรา 1225 และมาตรา 1226 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 149 วรรคสอง (2) มาตรา 152 และมาตรา 154 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2521 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ
มาตรา 24 ตรี /4 เมื่อปรากฎหลักฐานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ธนาคารพาณิชย์ใดมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือกรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศตามมาตรา 24 ทวิ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้ธนาคารพาณิชย์นั้นถอดถอนกรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้
ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งถอดถอนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นแต่งตั้งบุคคลอื่นโดยความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันถอดถอน
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดไม่ถอดถอนบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือถอดถอนแล้วไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคสอง ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งถอดถอนบุคคลดังกล่าวหรือแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนไปดำรงตำแหน่งแทนเป็นเวลาไม่เกินสามปี และมิให้นำความในมาตรา 12 จัตวา (8) มาใช้บังคับ
ให้ผู้ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งตามวรรคสามได้รับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด โดยให้จ่ายจากทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์นั้น และในระหว่างเวลาที่บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งอยู่ ผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์จะมีมติเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้
บุคคลซึ่งถูกถอดถอนตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการใด ๆ ในธนาคารพาณิชย์นั้นไม่ได้ไม่ว่าโดยทางตรงและทางอ้อม และต้องอำนวยความสะดวกและให้ข้อเท็จจริงแก่บุคคลที่ดำรงตำแหน่งแทนหรือตามที่ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์กำหนด
ให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้ถอดถอนหรือแต่งตั้งตามมาตรานี้เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มาตรา 25 /5 เมื่อรัฐมนตรีได้รับรายงานการตรวจสอบของผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์และเห็นว่าฐานะหรือการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ใดอยู่ในลักษณะอันจะเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ประโยชน์ของประชาชน รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งควบคุมธนาคารพาณิชย์หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก็ได้แต่ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการแก้ไขการบริหารงาน รวมทั้งย้ายหรือถอดถอนกรรมการหรือพนักงานของธนาคารพาณิชย์ตามคำแนะนำของรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด รัฐมนตรีจะยังไม่สั่งควบคุมธนาคารพาณิชย์นั้นหรือไม่สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก็ได้ ในการนี้รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์นั้น ให้ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
มาตรา 26 เมื่อปรากฎว่าธนาคารพาณิชย์ใดหยุดทำการจ่ายเงิน ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลที่รัฐมนตรีเห็นสมควรเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนพฤติการณ์ และเมื่อได้รับรายงานการสอบสวนจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งควบคุมธนาคารพาณิชย์นั้นได้
มาตรา 27 ในการสั่งควบคุมธนาคารพาณิชย์ใด ให้รัฐมนตรีแจ้งคำสั่งเป็นหนังสือให้ธนาคารพาณิชย์นั้นทราบและปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น กับทั้งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
มาตรา 28 ในการควบคุมธนาคารพาณิชย์ใด ให้รัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์นั้นประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสองคน คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่จัดดำเนินกิจการของธนาคารพาณิชย์นั้นได้ทุกประการ และให้ประธานกรรมการเป็นผู้แทนของธนาคารพาณิชย์นั้น
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและกำหนดอำนาจและหน้าที่พนักงานควบคุมธนาคารพาณิชย์คนหนึ่งหรือหลายคนให้ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งได้
การตั้งคณะกรรมการและการแต่งตั้งกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 29 เมื่อรัฐมนตรีได้แจ้งคำสั่งควบคุมแก่ธนาคารพาณิชย์ใด ห้ามมิให้กรรมการและพนักงานของธนาคารพาณิชย์กระทำกิจการของธนาคารพาณิชย์นั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์
มาตรา 30 เมื่อรัฐมนตรีได้แจ้งคำสั่งควบคุมแก่ธนาคารพาณิชย์ใด ให้กรรมการพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้นจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาทรัพย์และประโยชน์ของธนาคารพาณิชย์ไว้ และรีบรายงานกิจการและมอบสินทรัพย์พร้อมด้วยสมุดบัญชีเอกสารดวงตราและสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับกิจการและสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ให้แก่คณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์โดยมิชักช้า
มาตรา 31 เมื่อธนาคารพาณิชย์ใดถูกควบคุมให้ผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือเอกสารของธนาคารพาณิชย์นั้นแจ้งการครอบครองให้คณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์ทราบโดยมิชักช้า
มาตรา 32 เมื่อคณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์เห็นว่า ธนาคารพาณิชย์ที่ถูกควบคุมสมควรจะดำเนินกิจการของตนเองได้ ให้รายงานให้รัฐมนตรีทราบ ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้สั่งเลิกการควบคุม และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
มาตรา 33 เมื่อคณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์เห็นว่า ธนาคารพาณิชย์ที่ถูกควบคุมไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ให้รายงานให้รัฐมนตรีทราบ ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้สั่งเลิกธนาคารพาณิชย์นั้นและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
มาตรา 34 เมื่อรัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือสั่งเลิกธนาคารพาณิชย์ ให้มีการชำระบัญชี และให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีธนาคารพาณิชย์นั้น
การชำระบัญชีให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีบริษัทจำกัด เว้นแต่การใดที่เป็นอำนาจและหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของรัฐมนตรี
มาตรา 35 /6 เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา 24 หรือมาตรา 26 ให้ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่กรณีมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้กรรมการ พนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์ ผู้สอบบัญชีของธนาคารพาณิชย์ และผู้รวบรวมหรือประมวลข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือด้วยเครื่องมืออื่นใด มาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์
(2) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ หรือในสถานที่ซึ่งรวบรวมหรือประมวลข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือด้วยเครื่องมืออื่นใดในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเอกสาร หลักฐานหรือข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์
(3) เข้าไปตรวจสอบฐานะหรือการดำเนินงานในสถานที่ประกอบธุรกิจของลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์รวมทั้งส่งให้ลูกหนี้หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องได้ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าธนาคารพาณิชย์กระทำการตามมาตรา 22 (3) (4) หรือ (5)
ในการดำเนินการตาม (3) ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ก่อน
ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าของหรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา 35 ทวิ /7 ให้ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 7 ทวิ หรือมาตรา 8 เพื่อตรวจสอบได้ และให้มีอำนาจยึดหรืออายัดเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือดำเนินคดีได้
ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าของหรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นมีหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ตามสมควร
มาตรา 36 เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา 28 ให้คณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์หรือพนักงานควบคุมธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับมอบอำนาจ มีอำนาจสั่งให้บุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือให้แสดงหรือส่งสมุด บัญชี เอกสาร ดวงตราและหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับกิจการและสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่ถูกควบคุม
มาตรา 37 กรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์ พนักงานควบคุมธนาคารพาณิชย์และผู้ชำระบัญชีอาจได้รับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 38 ค่าใช้จ่ายและเงินค่าตอบแทนในการควบคุมหรือชำระบัญชีธนาคารพาณิชย์ใด ให้จ่ายจากสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์นั้น
--ราชกิจจานุเบกษา--
—————————————————————————————
/1 แก้ไขมาตรา 17 โดยมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2538
/2 มาตรา 17 ทวิ เพิ่มเติมโดยมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2538
/3 แก้ไขมาตรา 22 โดยมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2528
/4 มาตรา 24, มาตรา 24 ทวิ และ มาตรา 24 ตรี แก้ไขโดยมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2528
/5 แก้ไขมาตรา 25 โดยมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/6 แก้ไขมาตรา 35 โดยมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2528
/7 มาตรา 35 ทวิ เพิ่มเติมโดยมาตรา 19 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
การธนาคารพาณิชย์
พ.ศ.2505
————————————————
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2505
เป็นปีที่ 17 ในรัชกาลปัจจุบัน
มาตรา 17 /1 ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดทำการตามเวลาและหยุดทำการตามวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้เปิดทำการหรือหยุดทำการในเวลาหรือวันอื่นจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการอนุญาตดังกล่าวธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติด้วยก็ได้
ให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศเวลาทำการและวันหยุดทำการดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงาน
มาตรา 17 ทวิ /2 เพื่อแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ หรือเพื่อประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินหรือระบบสถาบันการเงิน ให้รัฐมนตรีด้วยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ระงับการดำเนินกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวภายในะระยะเวลาที่กำหนด และในการนี้จะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 18 ธนาคารพาณิชย์ใดหยุดทำการจ่ายเงิน ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นแจ้งให้รัฐมนตรีทราบทันทีและห้ามมิให้ทำกิจการใด ๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี แล้วให้รายงานโดยละเอียดแสดงเหตุที่ต้องหยุดทำการจ่ายเงินภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่หยุดทำการจ่ายเงิน
มาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งเป็นกรรมการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นในธนาคารพาณิชย์ใดเป็นกรรมการหรือดำรงตำแหน่งอื่นในธนาคารพาณิชย์อื่นอีกในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เว้นแต่ตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมาย หรือตำแหน่งที่ไม่มีหน้าที่ปฏิบัติหรือให้ความเห็นเกี่ยวแก่การดำเนินการของธนาคารพาณิชย์
มาตรา 20 ธนาคารพาณิชย์ใดฝ่าฝืนเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 5 มาตรา 6 หรือมาตรา 7 รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือสั่งให้เลิกสาขาตามที่ได้อนุญาตไปแล้ว แล้วแต่กรณี หรือจะสั่งควบคุมธนาคารพาณิชย์นั้นก็ได้ แต่ถ้าเห็นสมควรรัฐมนตรีจะสั่งให้ธนาคารพาณิชย์นั้นปฏิบัติการเพื่อแก้ไขให้เป็นไปตามเงื่อนไขเสียก่อนภายในเวลาที่รัฐมนตรีกำหนดก็ได้
มาตรา 21 ธนาคารพาณิชย์ใดฝ่าฝืนมาตรา 10 รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งธนาคารพาณิชย์นั้นมิให้แจกหรือจำหน่ายกำไรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยให้นำเงินกำไรนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปเพิ่มทุนสำรอง หรือไปเพิ่มสินทรัพย์ที่ต้องดำรงตามมาตรา 6 แล้วแต่กรณี และรัฐมนตรีจะสั่งห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์นั้นให้กู้ยืมหรือลงทุน หรือให้ทำได้ภายใต้เงื่อนไขใด ๆ จนกว่าธนาคารพาณิชย์จะปฏิบัติถูกต้องด้วยก็ได้
มาตรา 22 /3 ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่า ธนาคารพาณิชย์ใด
(1) ดำรงเงินสดสำรองไม่ได้ตามอัตราส่วนที่กำหนดเป็นเนืองนิจ
(2) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ได้ตามอัตราส่วนที่กำหนดเป็นเนืองนิจ
(3) รับฝากเงินหรือกู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันโดยไม่ลงบัญชีให้ถูกต้องและครบถ้วน หรือสร้างรายการให้สินเชื่อไม่ตรงต่อความเป็นจริง
(4) ให้สินเชื่อหรือลงทุนเกินอัตราที่กำหนด หรือให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นได้ว่าจะเรียกคืนไม่ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(5) ให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่ธนาคารพาณิชย์ หรือกรรมการของธนาคารพาณิชย์นั้นมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง หรือให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้นในปริมาณเกินสมควรหรือมีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดพิเศษผิดไปจากปกติ
(6) ไม่ตัดสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ออกจากบัญชี
(7) ไม่กันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
(8) กระทำการหรืองดเว้นกระทำการใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้น เพื่อพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชน
ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจสั่งให้ธนาคารพาณิชย์นั้นกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ หรือแก้ไขการดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ในการนี้จะกำหนดเงื่อนไขและระยะเวลาไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 23 รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ยื่นรายงานลับมีรายการตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้จะให้ยื่นตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวและจะให้ทำคำชี้แจงข้อความ เพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงานนั้นก็ได้ รายงานลับและคำชี้แจงให้ยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา 24 /4 รัฐมนตรีมีอำนาจตั้งผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ เพื่อตรวจสอบและรายงานกิจการและสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ หรือจะมอบอำนาจให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ก็ได้ แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆ รัฐมนตรีจะตั้งหรือมอบอำนาจให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ให้ทำการตรวจเพื่อทราบกิจการหรือทรัพย์สินของเอกชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะที่มีหรือปรากฏอยู่ในธนาคารพาณิชย์ใด ๆ มิได้ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 25 (3)
มาตรา 24 ทวิ /4 เมื่อปรากฏหลักฐานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ธนาคารพาณิชย์ใดมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้ธนาคารพาณิชย์นั้นแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ในการนี้จะสั่งให้เพิ่มทุนหรือลดทุนด้วยก็ได้
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดไม่เพิ่มทุนหรือลดทุนภายในกำหนดเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น นับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว
ในกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องให้ธนาคารพาณิชย์ใดเพิ่มทุนหรือลดทุน เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นั้นสามารถพยุงฐานะและการดำเนินงานต่อไปได้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสั่งให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มทุนหรือลดทุนทันทีก็ได้โดยให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ในการเพิ่มทุนหรือลดทุนตามวรรคสองหรือวรรคสาม มิให้นำมาตรา 1220 มาตรา 1224 มาตรา 1225 และมาตรา 1226 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 149 วรรคสอง (2) มาตรา 152 และมาตรา 154 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2521 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ
มาตรา 24 ตรี /4 เมื่อปรากฎหลักฐานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ธนาคารพาณิชย์ใดมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือกรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศตามมาตรา 24 ทวิ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้ธนาคารพาณิชย์นั้นถอดถอนกรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้
ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งถอดถอนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นแต่งตั้งบุคคลอื่นโดยความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันถอดถอน
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดไม่ถอดถอนบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือถอดถอนแล้วไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคสอง ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งถอดถอนบุคคลดังกล่าวหรือแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนไปดำรงตำแหน่งแทนเป็นเวลาไม่เกินสามปี และมิให้นำความในมาตรา 12 จัตวา (8) มาใช้บังคับ
ให้ผู้ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งตามวรรคสามได้รับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด โดยให้จ่ายจากทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์นั้น และในระหว่างเวลาที่บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งอยู่ ผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์จะมีมติเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้
บุคคลซึ่งถูกถอดถอนตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการใด ๆ ในธนาคารพาณิชย์นั้นไม่ได้ไม่ว่าโดยทางตรงและทางอ้อม และต้องอำนวยความสะดวกและให้ข้อเท็จจริงแก่บุคคลที่ดำรงตำแหน่งแทนหรือตามที่ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์กำหนด
ให้ถือว่าคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้ถอดถอนหรือแต่งตั้งตามมาตรานี้เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มาตรา 25 /5 เมื่อรัฐมนตรีได้รับรายงานการตรวจสอบของผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์และเห็นว่าฐานะหรือการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ใดอยู่ในลักษณะอันจะเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ประโยชน์ของประชาชน รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งควบคุมธนาคารพาณิชย์หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก็ได้แต่ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการแก้ไขการบริหารงาน รวมทั้งย้ายหรือถอดถอนกรรมการหรือพนักงานของธนาคารพาณิชย์ตามคำแนะนำของรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด รัฐมนตรีจะยังไม่สั่งควบคุมธนาคารพาณิชย์นั้นหรือไม่สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก็ได้ ในการนี้รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์นั้น ให้ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
มาตรา 26 เมื่อปรากฎว่าธนาคารพาณิชย์ใดหยุดทำการจ่ายเงิน ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลที่รัฐมนตรีเห็นสมควรเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนพฤติการณ์ และเมื่อได้รับรายงานการสอบสวนจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งควบคุมธนาคารพาณิชย์นั้นได้
มาตรา 27 ในการสั่งควบคุมธนาคารพาณิชย์ใด ให้รัฐมนตรีแจ้งคำสั่งเป็นหนังสือให้ธนาคารพาณิชย์นั้นทราบและปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น กับทั้งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
มาตรา 28 ในการควบคุมธนาคารพาณิชย์ใด ให้รัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์นั้นประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสองคน คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่จัดดำเนินกิจการของธนาคารพาณิชย์นั้นได้ทุกประการ และให้ประธานกรรมการเป็นผู้แทนของธนาคารพาณิชย์นั้น
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและกำหนดอำนาจและหน้าที่พนักงานควบคุมธนาคารพาณิชย์คนหนึ่งหรือหลายคนให้ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งได้
การตั้งคณะกรรมการและการแต่งตั้งกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 29 เมื่อรัฐมนตรีได้แจ้งคำสั่งควบคุมแก่ธนาคารพาณิชย์ใด ห้ามมิให้กรรมการและพนักงานของธนาคารพาณิชย์กระทำกิจการของธนาคารพาณิชย์นั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์
มาตรา 30 เมื่อรัฐมนตรีได้แจ้งคำสั่งควบคุมแก่ธนาคารพาณิชย์ใด ให้กรรมการพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้นจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาทรัพย์และประโยชน์ของธนาคารพาณิชย์ไว้ และรีบรายงานกิจการและมอบสินทรัพย์พร้อมด้วยสมุดบัญชีเอกสารดวงตราและสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับกิจการและสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ให้แก่คณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์โดยมิชักช้า
มาตรา 31 เมื่อธนาคารพาณิชย์ใดถูกควบคุมให้ผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือเอกสารของธนาคารพาณิชย์นั้นแจ้งการครอบครองให้คณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์ทราบโดยมิชักช้า
มาตรา 32 เมื่อคณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์เห็นว่า ธนาคารพาณิชย์ที่ถูกควบคุมสมควรจะดำเนินกิจการของตนเองได้ ให้รายงานให้รัฐมนตรีทราบ ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้สั่งเลิกการควบคุม และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
มาตรา 33 เมื่อคณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์เห็นว่า ธนาคารพาณิชย์ที่ถูกควบคุมไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ให้รายงานให้รัฐมนตรีทราบ ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้สั่งเลิกธนาคารพาณิชย์นั้นและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
มาตรา 34 เมื่อรัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือสั่งเลิกธนาคารพาณิชย์ ให้มีการชำระบัญชี และให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีธนาคารพาณิชย์นั้น
การชำระบัญชีให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีบริษัทจำกัด เว้นแต่การใดที่เป็นอำนาจและหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของรัฐมนตรี
มาตรา 35 /6 เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา 24 หรือมาตรา 26 ให้ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่กรณีมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้กรรมการ พนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์ ผู้สอบบัญชีของธนาคารพาณิชย์ และผู้รวบรวมหรือประมวลข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือด้วยเครื่องมืออื่นใด มาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์
(2) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ หรือในสถานที่ซึ่งรวบรวมหรือประมวลข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือด้วยเครื่องมืออื่นใดในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเอกสาร หลักฐานหรือข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์
(3) เข้าไปตรวจสอบฐานะหรือการดำเนินงานในสถานที่ประกอบธุรกิจของลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์รวมทั้งส่งให้ลูกหนี้หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องได้ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าธนาคารพาณิชย์กระทำการตามมาตรา 22 (3) (4) หรือ (5)
ในการดำเนินการตาม (3) ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ก่อน
ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าของหรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา 35 ทวิ /7 ให้ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 7 ทวิ หรือมาตรา 8 เพื่อตรวจสอบได้ และให้มีอำนาจยึดหรืออายัดเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือดำเนินคดีได้
ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าของหรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นมีหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ตามสมควร
มาตรา 36 เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา 28 ให้คณะกรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์หรือพนักงานควบคุมธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับมอบอำนาจ มีอำนาจสั่งให้บุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือให้แสดงหรือส่งสมุด บัญชี เอกสาร ดวงตราและหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับกิจการและสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่ถูกควบคุม
มาตรา 37 กรรมการควบคุมธนาคารพาณิชย์ พนักงานควบคุมธนาคารพาณิชย์และผู้ชำระบัญชีอาจได้รับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 38 ค่าใช้จ่ายและเงินค่าตอบแทนในการควบคุมหรือชำระบัญชีธนาคารพาณิชย์ใด ให้จ่ายจากสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์นั้น
--ราชกิจจานุเบกษา--
—————————————————————————————
/1 แก้ไขมาตรา 17 โดยมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2538
/2 มาตรา 17 ทวิ เพิ่มเติมโดยมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2538
/3 แก้ไขมาตรา 22 โดยมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2528
/4 มาตรา 24, มาตรา 24 ทวิ และ มาตรา 24 ตรี แก้ไขโดยมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2528
/5 แก้ไขมาตรา 25 โดยมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/6 แก้ไขมาตรา 35 โดยมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2528
/7 มาตรา 35 ทวิ เพิ่มเติมโดยมาตรา 19 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522