ประกาศกระทรวงการคลัง
ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์
พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
การธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522
————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงการคลังออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2515
(2) ประกาศกระทรวงการคลังออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2530
ข้อ 2 สาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 6 ต้องดำรงสินทรัพย์ไว้ในประเทศไทยเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 125 ล้านบาท
ข้อ 3 สินทรัพย์ที่สาขาของธนาคารต่างประเทศต้องดำรงตามข้อ 2 มีดังนี้
(1) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์รัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) หุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เกษตร หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(3) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันตัวเงินและดอกเบี้ย
(4) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหน้าที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือรัฐวิสาหกิจอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นชอบ
(5) อสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับดำเนินธุรกิจหรือสำหรับพนักงานและลูกจ้าง โดยหักค่าเสื่อมราคาตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นชอบ
ข้อ 4 ในการดำรงสินทรัพย์ตามข้อ 3 สาขาของธนาคารต่างประเทศต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) สินทรัพย์ที่ดำรงต้องปราศจากภาระผูกพัน
(2) สินทรัพย์ที่ดำรงต้องเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากสินทรัพย์สภาพคล่องซึ่งต้องดำรงไว้ตามมาตรา 11 ตรี
(3) สำหรับสินทรัพย์สินตามข้อ 3 (1)-(4) ให้คำณวนมูลค่าทรัพย์สิน โดยถือตามราคาที่ตราไว้หรือราคาทุนแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
(4) สำหรับสินทรัพย์ตามข้อ 3 (5)ให้ถือเป็นสินทรัพย์ที่ดำรงได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของสินทรัพย์ที่ต้องดำรง
(5) สินทรัพย์ที่ดำรงต้องจัดหาด้วยเงินทุนตามมาตรา 6 วรรคสาม
(6) ในการใช้เงินทุนเพื่อดำรงสินทรัพย์ตามข้อ 3 สาขาของธนาคารต่างประเทศที่มีบัญชีระหว่างกันกับสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นที่เป็นนิติบุคคลเดียวกัน จะต้องมีดุลเป็นลูกหนี้สุทธิต่อสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นดังกล่าว ในเวลาใดเวลาหนึ่งไม่น้อยกว่าสินทรัพย์ที่ต้องดำรงตามข้อ 3
สำหรับการคำนวณหาดุลเป็นลูกหนี้สุทธิดังกล่าวข้างต้นให้นำยอดที่สาขาของธนาคารต่างประเทศเป็นลูกหนี้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นดังกล่าว มาหักด้วย (1) ยอดที่สาขาของธนาคารต่างประเทศนั้นเป็นเจ้าหนี้ สำหนักงานใหญ่และสาขาอื่นดังกล่าว (ยอดสุทธิบัญชีระหว่างกัน) และ (2) ผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานประจำปีซึ่งได้ผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีในประเทศไทยแล้ว
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2534
สุธี สิงห์เสน่ห์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
--ราชกิจจานุเบกษา--
ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์
พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
การธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522
————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงการคลังออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2515
(2) ประกาศกระทรวงการคลังออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2530
ข้อ 2 สาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 6 ต้องดำรงสินทรัพย์ไว้ในประเทศไทยเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 125 ล้านบาท
ข้อ 3 สินทรัพย์ที่สาขาของธนาคารต่างประเทศต้องดำรงตามข้อ 2 มีดังนี้
(1) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์รัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) หุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เกษตร หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(3) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันตัวเงินและดอกเบี้ย
(4) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหน้าที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือรัฐวิสาหกิจอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นชอบ
(5) อสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับดำเนินธุรกิจหรือสำหรับพนักงานและลูกจ้าง โดยหักค่าเสื่อมราคาตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นชอบ
ข้อ 4 ในการดำรงสินทรัพย์ตามข้อ 3 สาขาของธนาคารต่างประเทศต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) สินทรัพย์ที่ดำรงต้องปราศจากภาระผูกพัน
(2) สินทรัพย์ที่ดำรงต้องเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากสินทรัพย์สภาพคล่องซึ่งต้องดำรงไว้ตามมาตรา 11 ตรี
(3) สำหรับสินทรัพย์สินตามข้อ 3 (1)-(4) ให้คำณวนมูลค่าทรัพย์สิน โดยถือตามราคาที่ตราไว้หรือราคาทุนแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
(4) สำหรับสินทรัพย์ตามข้อ 3 (5)ให้ถือเป็นสินทรัพย์ที่ดำรงได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของสินทรัพย์ที่ต้องดำรง
(5) สินทรัพย์ที่ดำรงต้องจัดหาด้วยเงินทุนตามมาตรา 6 วรรคสาม
(6) ในการใช้เงินทุนเพื่อดำรงสินทรัพย์ตามข้อ 3 สาขาของธนาคารต่างประเทศที่มีบัญชีระหว่างกันกับสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นที่เป็นนิติบุคคลเดียวกัน จะต้องมีดุลเป็นลูกหนี้สุทธิต่อสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นดังกล่าว ในเวลาใดเวลาหนึ่งไม่น้อยกว่าสินทรัพย์ที่ต้องดำรงตามข้อ 3
สำหรับการคำนวณหาดุลเป็นลูกหนี้สุทธิดังกล่าวข้างต้นให้นำยอดที่สาขาของธนาคารต่างประเทศเป็นลูกหนี้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นดังกล่าว มาหักด้วย (1) ยอดที่สาขาของธนาคารต่างประเทศนั้นเป็นเจ้าหนี้ สำหนักงานใหญ่และสาขาอื่นดังกล่าว (ยอดสุทธิบัญชีระหว่างกัน) และ (2) ผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานประจำปีซึ่งได้ผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีในประเทศไทยแล้ว
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2534
สุธี สิงห์เสน่ห์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
--ราชกิจจานุเบกษา--