พระราชบัญญัติ
การธนาคารพาณิชย์
พ.ศ.2505
————————————————
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2505
เป็นปีที่ 17 ในรัชกาลปัจจุบัน
มาตรา 6 /1 การประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยตั้งเป็นสาขาของธนาคารที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี ในการอนุญาต รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
สาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ ต้องดำรงสินทรัพย์ไว้ในประเทศไทยตามจำนวน ชนิด วิธีการและเงื่อนที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา /2
สินทรัพย์ที่ต้องดำรงตามวรรคสองต้องจัดหาด้วย
(1) เงินที่นำเข้ามาจากสำนักงานใหญ่และหรือสาขาอื่นนอกประเทศไทยของธนาคารต่างประเทศนั้น
(2) เงินสำรองต่างๆ แต่ไม่รวมถึงเงินสำรองสำหรับการลดค่าของสินทรัพย์และเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้หรือ
(3) เงินกำไรสุทธิแต่ละงวดการบัญชีของสาขาอันได้โอนเป็นส่วนของสำนักงานใหญ่แล้วและไม่ต้องส่งออก ทั้งนี้ เมื่อหักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกแล้ว
ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าสินทรัพย์ตามวรรคสองเป็นเงินกองทุน
มาตรา 7 ธนาคารพาณิชย์นอกจากสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธนาคารพาณิชย์อาจเปิดสาขาได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี คำขออนุญาตต้องมีรายการตามที่รัฐมนตรีกำหนด /3 ในการนี้รัฐมนตรีจะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขก็ได้
มาตรา 7 ทวิ /4 ผู้ใดจะกระทำการแทนธนาคารต่างประเทศโดยมีสำนักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปในราชอาณาจักร หรือธนาคารพาณิชย์ใดนอกจากสาขาของธนาคารต่างประเทศ จะตั้งสำนักงานเพื่อกระทำการแทนธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าในหรือนอกราชาอาณาจักร ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฎิบัติด้วยก็ได้
มาตรา 7 ตรี /4 เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา ณ ที่ใดแล้ว จะย้ายสำนักงานนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
มาตรา 8 ห้ามมิให้บุคคลนอกจากธนาคารพาณิชย์ประกอบการธนาคารพาณิชย์
มาตรา 9 ห้ามมิให้บุคคลใดนอกจากธนาคารพาณิชย์ใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า "ธนาคาร" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน
มาตรา 9 ทวิ /5 นอกจากการธนาคารพาณิชย์แล้ว ธนาคารพาณิชย์อาจจะทำธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการธนาคารพาณิชย์หรือธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำเช่นการเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงิน การรับอาวัลตั๋วเงิน การรับรองตั๋วเงิน การออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือการค้ำประกันหรือ ธุรกิจทำนองเดียวกันด้วยก็ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่จะประกอบการค้าหรือธุรกิจอื่นใดมิได้
มาตรา 9 ตรี /6 ธนาคารพาณิชย์จะรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยวิธีออกบัตรเงินฝากก็ได้
บัตรเงินฝากต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นบัตรเงินฝาก
(2) ชื่อธนาคารพาณิชย์ผู้ออกบัตรเงินฝาก
(3) วันที่ออกบัตรเงินฝาก
(4) จังหวัดที่ออกบัตรเงินฝาก
(5) ข้อตกลงอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินเป็นจำนวนหนึ่งที่แน่นอนพร้อมด้วยดอกเบี้ย (ถ้ามี)
(6) วันถึงกำหนดจ่ายเงิน
(7) สถานที่จ่ายเงิน
(8) ชื่อของผู้ฝากเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือ
(9) ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามแทนธนาคารพาณิชย์ผู้ออกบัตรเงินฝาก
มาตรา 9 จัตวา /6 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 ถึงมาตรา 907 มาตรา 977 มาตรา 913 (1) และ (2) มาตรา 914 ถึงมาตรา 916 มาตรา 917 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม มาตรา 918 ถึงมาตรา 922 มาตรา 925 มาตรา 926 มาตรา 938 ถึงมาตรา 942 มาตรา 945 มาตรา 946 มาตรา 948 มาตรา 949 มาตรา 959 มาตรา 967 มาตรา 971 มาตรา 973 มาตรา 986 มาตรา 994 ถึงมาตรา 1000 มาตรา 1006 ถึงมาตรา 1008 มาตรา 1010 และมาตรา 1011 มาใช้บังคับแก่บัตรเงินฝากโดยอนุโลม
มาตรา 10 /7 ให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สินหรือภาระผูกพันตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
การกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้ามีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราให้สูงขึ้นจะให้ใช้บังคับก่อนสิบห้าวันนับแต่วันประกาศมิได้
มาตรา 11 /8 ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงเงินสดสำรองเป็นอัตราส่วนกับเงินฝากและหรือเงินกู้ยืมตามที่ระบุไว้ในมาตรา 11 ทวิ ไม่ต่ำกว่าอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี /9
อัตราส่วนที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง จะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละห้า และไม่เกินร้อยละห้าสิบของเงินฝาก และหรือเงินกู้ยืมแล้วแต่กรณี และจะกำหนดให้เป็นอัตราส่วนกับเงินฝากและหรือเงินกู้ยืม ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทรวมกันหรือแยกกันก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการดำรงเงินสดสำรองตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดให้ถือเอาหลักทรัพย์รัฐบาลไทยเป็นส่วนหนึ่งของเงินสดสำรองที่พึงดำรงนั้นได้ /9
มาตรา 11 ทวิ /10 เงินฝากและหรือเงินกู้ยืมซึ่งธนาคารพาณิชย์จะต้องดำรงเงินสดสำรองให้ได้อัตราส่วน ได้แก่เงินฝาก และหรือเงินกู้ยืม ดังต่อไปนี้
(1) ยอดรวมเงินฝากทั้งหมด
(2) เงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม
(3) เงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้
(4) เงินกู้ยืมแต่ละประเภท การคำนวณยอดเงินฝากหรือเงินกู้ยืมตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีจะกำหนดให้คำนวณรวมกับยอดเงินให้เบิกเกินบัญชีที่ยังไม่ได้จ่ายไป โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินฝากหรือเงินกู้ยืมอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
มาตรา 11 ตรี /10 ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามที่ระบุไว้ในมาตรา 11 จัตวา เป็นอัตราส่วนกับยอดเงินฝาก และหรือยอดเงินกู้ยืมทั้งหมดหรือแต่ละประเภทซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
อัตราที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง จะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าและไม่เกินร้อยละห้าสิบของยอดเงินฝากและหรือยอดเงินกู้ยืมทั้งหมดหรือแต่ละประเภท แล้วแต่กรณี
การกำหนดให้ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดให้ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องแต่เพียงบางประเภทหรือทุกประเภทก็ได้ และจะกำหนดอัตราส่วนของแต่ละประเภทในอัตราใดก็ได้
มาตรา 11 จัตวา /10 สินทรัพย์สภาพคล่องได้แก่
(1) เงินสด
(2) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) เงินฝากสุทธิที่ธนาคารพาณิชย์อื่น
(4) หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่ปราศจากภาระผูกพัน
(5) หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยและปราศจากภาระผูกพัน
(6) สินทรัพย์อื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
มาตรา 11 เบญจ /10 การดำรงเงินสดสำรองตามมาตรา 11 ให้ได้อัตราส่วนกับเงินฝากและหรือเงินกู้ยืม และการดำรงสินทรัพย์คล่องตามมาตรา 11 ตรี ให้ได้อัตราส่วนกับยอดเงินฝากและหรือยอดเงินกู้ยืมแล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี /11
การกำหนดตามมาตรา 11 มาตรา 11 ทวิ วรรคสอง และมาตรา 11 ตรี วรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และถ้ามีผลเป็นการเพิ่มอัตราส่วนเงินสดสำรองและอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง จะให้ใช้บังคับก่อนสิบห้าวันนับแต่วันประกาศมิได้
มาตรา 11 ฉ /10 ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพของเงินตรา รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงเงินสดสำรองพิเศษไม่ต่ำกว่าอัตราที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต่างหากจากการดำรงเงินสดสำรองตามมาตรา 11
การกำหนดอัตราตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดเป็นอัตราส่วนกับเงินฝากและหรือเงินกู้ยืมตามมาตรา 11 ทวิ ทั้งหมดหรือแต่ละประเภท เฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นจากยอดเงินดังกล่าวเมื่อสิ้นวันใดวันหนึ่งและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 12 /12 ห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการดังต่อไปนี้
(1) ลดทุนโดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
(2) ให้สินเชื่อแก่กรรมการ หรือประกันหนี้ใด ๆ ของกรรมการหรือรับรอง รับอาวัล หรือสดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินที่กรรมการเป็นผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วหรือผู้สลักหลัง
(3) รับหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นประกัน หรือรับหุ้นของธนาคารพาณิชย์จากธนาคารพาณิชย์อื่นเป็นประกัน
(4) ซื้อหรือมีไว้เป็นประจำซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่
(ก) เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับดำเนินธุรกิจ หรือสำหรับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้นโดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการให้ความเห็นชอบนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(ข) เป็นการได้มาจากการชำระหนี้ หรือจากการประกันการให้สินเชื่อ หรือจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่จำนองไว้แก่ธนาคารพาณิชย์นั้นจากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(5) ซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดใดเกินร้อยละสิบ ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น หรือซื้อหรือมีหุ้นมีมูลค่าหุ้นรวมกันทั้งสิ้นเกินอัตราส่วนกับเงินกองทุนทั้งหมดหรือเงินกองทุนชนิดหนึ่งชนิดใดหรือหลายชนิดตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการอนุญาตนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ /13
(6) ซื้อหรือมีหุ้นธนาคารพาณิชย์อื่น เว้นแต่เป็นการได้มาจากการชำระหนี้หรือการประกันการให้สินเชื่อแต่ต้องจำหน่ายภายในเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ได้มา หรือเป็นการได้มาโดยได้รับผ่อนผันจากรัฐมนตรีด้วยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการผ่อนผันนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(7) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่กรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้น เป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจใด ๆ ของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ นอกจากบำเหน็จ เงินเดือน เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ
(8) ขายหรือให้อสังหาริมทรัพย์ใด ๆ หรือสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดแก่กรรมการหรือซื้อทรัพย์สินจากกรรมการ ทั้งนี้ รวมถึงบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมการตามมาตรา 12 ทวิ ด้วย เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(9) กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงิน หรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 12 ทวิ /14 การให้สินเชื่อแก่หรือการประกันหนี้ใด ๆ ของบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้หรือการรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินที่บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วหรือผู้สลักหลัง ให้ถือว่าเป็นการให้สินเชื่อ หรือการประกัน หรือการรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าแก่กรรมการตามมาตรา 12 (2) ด้วย
(1) คู่สมรสของกรรมการ
(2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการ
(3) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่กรรมการหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน
(4) ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่กรรมการหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบกันเกินร้อยละสามสิบของทุนทั้งหมด ของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น
(5) บริษัทจำกัดที่กรรมการหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น
(6) บริษัทจำกัดที่กรรมการหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) หรือบริษัทจำกัดตาม (5) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น
มาตรา 12 ตรี /14 ธนาคารพาณิชย์ต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ตกเป็นของธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 12 (4) (ข) ภายในห้าปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นของธนาคารพาณิชย์ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะขยายระยะเวลาให้หรือให้ความเห็นชอบเพื่อใช้เป็นสถานที่ตามมาตรา 12 (4) (ก)
มาตรา 12 จัตวา /14 ห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์ตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติหรือลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือที่ปรึกษาของธนาคารพาณิชย์
(1) เป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
(3) เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ หรือองค์การหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ฐานทุจริตต่อหน้าที่
(4) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการของธนาคารพาณิชย์ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ถูกถอดถอนจากธนาคารพาณิชย์ตามคำแนะนำของรัฐมนตรีตามมาตรา 25
(6) เป็นข้าราชการเมือง
(7) เป็นข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมธนาคารพาณิชย์ หรือพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เว้นแต่เป็นกรณีของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือเป็นกรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์
(8) เป็นผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด ซึ่งตนหรือบุคคลตามมาตรา 12 ทวิ ถือหุ้นอยู่ เว้นแต่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งไม่มีอำนาจลงนามผูกพันธนาคารพาณิชย์ด้วยตนเองหรือร่วมกับผู้อื่น /15
มาตรา 13 /16 ห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อหรือลงทุนในกิจการของผู้อื่นหรือก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เกินอัตราส่วนกับเงินกองทุนทั้งหมดหรือเงินกองทุนชนิดหนึ่งชนิดใด หรือหลายชนิดตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนด ในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติด้วยก็ได้
การกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและถ้ามีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราให้ต่ำลงจะให้ใช้บังคับก่อนสิบห้าวันนับแต่วันประกาศมิได้
ให้นำความในมาตรา 12 ทวิ มาใช้บังคับแก่การกระทำตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 13 ทวิ /17 บทบัญญัติแห่งมาตรา 13 ไม่ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ธนาคารพาณิชย์
(1) ให้กู้ยืมเงินโดยการซื้อหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือหลักทรัพย์อื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(2) ให้กู้ยืมเงินโดยมีประกันด้วยหลักทรัพย์รัฐบาลไทยหรือหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินมูลค่าแห่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ธนาคารพาณิชย์นั้นได้ตีราคารับไว้เป็นประกัน
(3) ให้สินเชื่อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดหรือ
(4) รับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน ออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ธนาคารพาณิชย์มีความผูกพันในการชำระเงิน หรือค้ำประกันการกู้ยืมเงิน หรือค้ำประกันการขาย ขายลดหรือขายช่วงลดตั๋วเงิน ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
การกำหนดตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 13 ตรี /17 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศหรือเพื่อแก้ไขภาวะเศรษฐกิจ รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดการดังต่อไปนี้ได้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ
(1) ให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อในกิจการประเภทใด ๆ ไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนด
(2) ห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อในกิจการใด ๆ เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นเกินอัตราที่กำหนด
การกำหนดตาม (1) ทุกครั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอัตราที่กำหนดตาม (1) รวมกันทั้งสิ้นทุกประเภทของกิจการ ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในวันสิ้นปีก่อนหน้านั้น
การกำหนดตาม (2) ให้กำหนดเป็นร้อยละของยอดเงินให้สินเชื่อในแต่ละกิจการของธนาคารพาณิชย์นั้นในขณะใดขณะหนึ่งก็ได้
การกำหนดตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจะกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและระยะเวลาเพื่อปฏิบัติการไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 13 จัตวา /18 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดหลักเณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงิน การกู้ยืมเงินหรือการซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใดได้
การกำหนดตามวรรคหนึ่งจะกำหนดตามประเภทของเงินฝากหรือเงินกู้ยืม ประเภทของบุคคล ประเภทของเอกสารการรับฝากเงินหรือการกู้ยืมเงินหรือประเภทของตราสารก็ได้
มาตรา 14 /19 ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์อาจจ่ายได้ /20
(2) ดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ /20
(3) ค่าบริการที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้
(4) เงินมัดจำที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเรียก
(5) หลักประกันเป็นทรัพย์สินที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเรียก
บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นใดที่อาจกำหนดเป็นเงินได้ ที่ผู้ฝากเงินหรือบุคคลอื่นได้รับจากธนคารพาณิชย์หรือพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้น เนื่องจากการฝากเงินหรือที่ธนาคารพาณิชย์หรือพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้นได้รับ เนื่องจากการประกอบธุรกิจนั้นของธนาคารพาณิชย์ให้ถือว่าเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลด หรือค่าบริการตามความใน (1) หรือ (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี เว้นแต่ค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดตาม (3) ไม่ให้ถือว่าเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม (2)
การกำหนดตามมาตรานี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 15 ให้ธนาคารพาณิชย์จดแจ้งบัญชีแสดงหนี้สินและสินทรัพย์ให้ครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง และประกาศรายการย่อตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยแสดงหนี้สินและสินทรัพย์ที่มีอยู่ในวันทำงานวันสุดท้ายของทุกเดือน หรือในวันอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย /21
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้เสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยหนึ่งฉบับ และให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดไป และให้ลงในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับด้วย เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา 15 ทวิ ให้ธนาคารพาณิชย์ปิดบัญชีทุกงวดการบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือน ถ้าธนาคารพาณิชย์ใดมีสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้หรือที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นตัดสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ดังกล่าวออกจากบัญชีหรือกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ดังกล่าวออกจากบัญชีหรือกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ดังกล่าวเมื่อสิ้นงวดการบัญชีนั้นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ในการอนุญาตนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ /22
ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ถ้านำสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ในส่วนที่ไม่ได้ตัดออกจากบัญชีหรือสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ในส่วนที่ไม่ได้กันเงินสำรองมาหักออกจากเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้นแล้ว หากปรากฏว่าเงินกองทุนที่คงเหลือมีจำนวนต่ำกว่าเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามมาตรา 10 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดมาตรการใด ๆ ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นถือปฏิบัติจนกว่าจะได้ตัดสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้นั้นหมดสิ้นไป หรือกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้นั้นครบจำนวนแล้ว /23
มาตรา 16 /24 ภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีให้ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 5 ประกาศงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่ได้รับอนุญาตจากที่ประชุมใหญ่แล้ว ตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ประกาศดังกล่าวให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้นลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับและเสนอต่อรัฐมนตรีและธนาคารแห่งประเทศไทยภายในยี่สิบเอ็ดวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ทั้งนี้ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
งบดุลตามวรรคหนึ่งจะต้องมีการรับรองของผู้สอบบัญชี ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบในแต่ละปีบัญชี และต้องมิใช่กรรมการ พนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้น
ให้ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 6 ประกาศงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของธนาคารในต่างประเทศที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขา ภายในเวลาสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของธนาคารต่างประเทศนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุขัดข้องอันสมควร ประกาศดังกล่าวให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น
--ราชกิจจานุเบกษา--
_________________________________________
/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/3 ดูประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 หน้า 33
/4 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/6 มาตรา 9 ตรี และ มาตรา 9 จัตวา ถูกเพิ่มโดยมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/7 มาตรา 10 แก้ไขโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/9
/10 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/11 ดูประกอบธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2536 หน้า 47
/12 แก้ไขมาตรา 12 โดยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/13 แก้ไขมาตรา 12 (5) โดยมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/14 มาตรา 12 ทวิ ตรี จัตวา แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/15
/16 แก้ไขมาตรา 13 โดยมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับ 3) พ.ศ. 2535
/17
/18 มาตรา 13 จัตวา แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/19
/20
/21
/22 มาตรา 15 ทวิ วรรคหนึ่ง แก้ไขโดย มาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2528
/23 มาตรา 15 ทวิ วรรคสอง แก้ไขโดยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/24 มาตรา 16 แก้ไขโดยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
การธนาคารพาณิชย์
พ.ศ.2505
————————————————
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2505
เป็นปีที่ 17 ในรัชกาลปัจจุบัน
มาตรา 6 /1 การประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยตั้งเป็นสาขาของธนาคารที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี ในการอนุญาต รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
สาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ ต้องดำรงสินทรัพย์ไว้ในประเทศไทยตามจำนวน ชนิด วิธีการและเงื่อนที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา /2
สินทรัพย์ที่ต้องดำรงตามวรรคสองต้องจัดหาด้วย
(1) เงินที่นำเข้ามาจากสำนักงานใหญ่และหรือสาขาอื่นนอกประเทศไทยของธนาคารต่างประเทศนั้น
(2) เงินสำรองต่างๆ แต่ไม่รวมถึงเงินสำรองสำหรับการลดค่าของสินทรัพย์และเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้หรือ
(3) เงินกำไรสุทธิแต่ละงวดการบัญชีของสาขาอันได้โอนเป็นส่วนของสำนักงานใหญ่แล้วและไม่ต้องส่งออก ทั้งนี้ เมื่อหักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกแล้ว
ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าสินทรัพย์ตามวรรคสองเป็นเงินกองทุน
มาตรา 7 ธนาคารพาณิชย์นอกจากสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธนาคารพาณิชย์อาจเปิดสาขาได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี คำขออนุญาตต้องมีรายการตามที่รัฐมนตรีกำหนด /3 ในการนี้รัฐมนตรีจะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขก็ได้
มาตรา 7 ทวิ /4 ผู้ใดจะกระทำการแทนธนาคารต่างประเทศโดยมีสำนักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปในราชอาณาจักร หรือธนาคารพาณิชย์ใดนอกจากสาขาของธนาคารต่างประเทศ จะตั้งสำนักงานเพื่อกระทำการแทนธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าในหรือนอกราชาอาณาจักร ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฎิบัติด้วยก็ได้
มาตรา 7 ตรี /4 เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา ณ ที่ใดแล้ว จะย้ายสำนักงานนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
มาตรา 8 ห้ามมิให้บุคคลนอกจากธนาคารพาณิชย์ประกอบการธนาคารพาณิชย์
มาตรา 9 ห้ามมิให้บุคคลใดนอกจากธนาคารพาณิชย์ใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า "ธนาคาร" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน
มาตรา 9 ทวิ /5 นอกจากการธนาคารพาณิชย์แล้ว ธนาคารพาณิชย์อาจจะทำธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการธนาคารพาณิชย์หรือธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำเช่นการเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงิน การรับอาวัลตั๋วเงิน การรับรองตั๋วเงิน การออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือการค้ำประกันหรือ ธุรกิจทำนองเดียวกันด้วยก็ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่จะประกอบการค้าหรือธุรกิจอื่นใดมิได้
มาตรา 9 ตรี /6 ธนาคารพาณิชย์จะรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยวิธีออกบัตรเงินฝากก็ได้
บัตรเงินฝากต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นบัตรเงินฝาก
(2) ชื่อธนาคารพาณิชย์ผู้ออกบัตรเงินฝาก
(3) วันที่ออกบัตรเงินฝาก
(4) จังหวัดที่ออกบัตรเงินฝาก
(5) ข้อตกลงอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินเป็นจำนวนหนึ่งที่แน่นอนพร้อมด้วยดอกเบี้ย (ถ้ามี)
(6) วันถึงกำหนดจ่ายเงิน
(7) สถานที่จ่ายเงิน
(8) ชื่อของผู้ฝากเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือ
(9) ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามแทนธนาคารพาณิชย์ผู้ออกบัตรเงินฝาก
มาตรา 9 จัตวา /6 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 ถึงมาตรา 907 มาตรา 977 มาตรา 913 (1) และ (2) มาตรา 914 ถึงมาตรา 916 มาตรา 917 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม มาตรา 918 ถึงมาตรา 922 มาตรา 925 มาตรา 926 มาตรา 938 ถึงมาตรา 942 มาตรา 945 มาตรา 946 มาตรา 948 มาตรา 949 มาตรา 959 มาตรา 967 มาตรา 971 มาตรา 973 มาตรา 986 มาตรา 994 ถึงมาตรา 1000 มาตรา 1006 ถึงมาตรา 1008 มาตรา 1010 และมาตรา 1011 มาใช้บังคับแก่บัตรเงินฝากโดยอนุโลม
มาตรา 10 /7 ให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สินหรือภาระผูกพันตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
การกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้ามีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราให้สูงขึ้นจะให้ใช้บังคับก่อนสิบห้าวันนับแต่วันประกาศมิได้
มาตรา 11 /8 ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงเงินสดสำรองเป็นอัตราส่วนกับเงินฝากและหรือเงินกู้ยืมตามที่ระบุไว้ในมาตรา 11 ทวิ ไม่ต่ำกว่าอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี /9
อัตราส่วนที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง จะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละห้า และไม่เกินร้อยละห้าสิบของเงินฝาก และหรือเงินกู้ยืมแล้วแต่กรณี และจะกำหนดให้เป็นอัตราส่วนกับเงินฝากและหรือเงินกู้ยืม ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทรวมกันหรือแยกกันก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการดำรงเงินสดสำรองตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดให้ถือเอาหลักทรัพย์รัฐบาลไทยเป็นส่วนหนึ่งของเงินสดสำรองที่พึงดำรงนั้นได้ /9
มาตรา 11 ทวิ /10 เงินฝากและหรือเงินกู้ยืมซึ่งธนาคารพาณิชย์จะต้องดำรงเงินสดสำรองให้ได้อัตราส่วน ได้แก่เงินฝาก และหรือเงินกู้ยืม ดังต่อไปนี้
(1) ยอดรวมเงินฝากทั้งหมด
(2) เงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม
(3) เงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้
(4) เงินกู้ยืมแต่ละประเภท การคำนวณยอดเงินฝากหรือเงินกู้ยืมตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีจะกำหนดให้คำนวณรวมกับยอดเงินให้เบิกเกินบัญชีที่ยังไม่ได้จ่ายไป โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินฝากหรือเงินกู้ยืมอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
มาตรา 11 ตรี /10 ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามที่ระบุไว้ในมาตรา 11 จัตวา เป็นอัตราส่วนกับยอดเงินฝาก และหรือยอดเงินกู้ยืมทั้งหมดหรือแต่ละประเภทซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
อัตราที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง จะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าและไม่เกินร้อยละห้าสิบของยอดเงินฝากและหรือยอดเงินกู้ยืมทั้งหมดหรือแต่ละประเภท แล้วแต่กรณี
การกำหนดให้ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดให้ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องแต่เพียงบางประเภทหรือทุกประเภทก็ได้ และจะกำหนดอัตราส่วนของแต่ละประเภทในอัตราใดก็ได้
มาตรา 11 จัตวา /10 สินทรัพย์สภาพคล่องได้แก่
(1) เงินสด
(2) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) เงินฝากสุทธิที่ธนาคารพาณิชย์อื่น
(4) หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่ปราศจากภาระผูกพัน
(5) หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยและปราศจากภาระผูกพัน
(6) สินทรัพย์อื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
มาตรา 11 เบญจ /10 การดำรงเงินสดสำรองตามมาตรา 11 ให้ได้อัตราส่วนกับเงินฝากและหรือเงินกู้ยืม และการดำรงสินทรัพย์คล่องตามมาตรา 11 ตรี ให้ได้อัตราส่วนกับยอดเงินฝากและหรือยอดเงินกู้ยืมแล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี /11
การกำหนดตามมาตรา 11 มาตรา 11 ทวิ วรรคสอง และมาตรา 11 ตรี วรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และถ้ามีผลเป็นการเพิ่มอัตราส่วนเงินสดสำรองและอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง จะให้ใช้บังคับก่อนสิบห้าวันนับแต่วันประกาศมิได้
มาตรา 11 ฉ /10 ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพของเงินตรา รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงเงินสดสำรองพิเศษไม่ต่ำกว่าอัตราที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต่างหากจากการดำรงเงินสดสำรองตามมาตรา 11
การกำหนดอัตราตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดเป็นอัตราส่วนกับเงินฝากและหรือเงินกู้ยืมตามมาตรา 11 ทวิ ทั้งหมดหรือแต่ละประเภท เฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นจากยอดเงินดังกล่าวเมื่อสิ้นวันใดวันหนึ่งและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 12 /12 ห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการดังต่อไปนี้
(1) ลดทุนโดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
(2) ให้สินเชื่อแก่กรรมการ หรือประกันหนี้ใด ๆ ของกรรมการหรือรับรอง รับอาวัล หรือสดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินที่กรรมการเป็นผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วหรือผู้สลักหลัง
(3) รับหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นประกัน หรือรับหุ้นของธนาคารพาณิชย์จากธนาคารพาณิชย์อื่นเป็นประกัน
(4) ซื้อหรือมีไว้เป็นประจำซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่
(ก) เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับดำเนินธุรกิจ หรือสำหรับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้นโดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการให้ความเห็นชอบนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(ข) เป็นการได้มาจากการชำระหนี้ หรือจากการประกันการให้สินเชื่อ หรือจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่จำนองไว้แก่ธนาคารพาณิชย์นั้นจากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(5) ซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดใดเกินร้อยละสิบ ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น หรือซื้อหรือมีหุ้นมีมูลค่าหุ้นรวมกันทั้งสิ้นเกินอัตราส่วนกับเงินกองทุนทั้งหมดหรือเงินกองทุนชนิดหนึ่งชนิดใดหรือหลายชนิดตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการอนุญาตนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ /13
(6) ซื้อหรือมีหุ้นธนาคารพาณิชย์อื่น เว้นแต่เป็นการได้มาจากการชำระหนี้หรือการประกันการให้สินเชื่อแต่ต้องจำหน่ายภายในเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ได้มา หรือเป็นการได้มาโดยได้รับผ่อนผันจากรัฐมนตรีด้วยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการผ่อนผันนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(7) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่กรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้น เป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจใด ๆ ของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ นอกจากบำเหน็จ เงินเดือน เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ
(8) ขายหรือให้อสังหาริมทรัพย์ใด ๆ หรือสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดแก่กรรมการหรือซื้อทรัพย์สินจากกรรมการ ทั้งนี้ รวมถึงบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมการตามมาตรา 12 ทวิ ด้วย เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(9) กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงิน หรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 12 ทวิ /14 การให้สินเชื่อแก่หรือการประกันหนี้ใด ๆ ของบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้หรือการรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินที่บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วหรือผู้สลักหลัง ให้ถือว่าเป็นการให้สินเชื่อ หรือการประกัน หรือการรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าแก่กรรมการตามมาตรา 12 (2) ด้วย
(1) คู่สมรสของกรรมการ
(2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการ
(3) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่กรรมการหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน
(4) ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่กรรมการหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบกันเกินร้อยละสามสิบของทุนทั้งหมด ของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น
(5) บริษัทจำกัดที่กรรมการหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น
(6) บริษัทจำกัดที่กรรมการหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) หรือบริษัทจำกัดตาม (5) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น
มาตรา 12 ตรี /14 ธนาคารพาณิชย์ต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ตกเป็นของธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 12 (4) (ข) ภายในห้าปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นของธนาคารพาณิชย์ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะขยายระยะเวลาให้หรือให้ความเห็นชอบเพื่อใช้เป็นสถานที่ตามมาตรา 12 (4) (ก)
มาตรา 12 จัตวา /14 ห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์ตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติหรือลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือที่ปรึกษาของธนาคารพาณิชย์
(1) เป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
(3) เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ หรือองค์การหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ฐานทุจริตต่อหน้าที่
(4) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการของธนาคารพาณิชย์ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ถูกถอดถอนจากธนาคารพาณิชย์ตามคำแนะนำของรัฐมนตรีตามมาตรา 25
(6) เป็นข้าราชการเมือง
(7) เป็นข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมธนาคารพาณิชย์ หรือพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เว้นแต่เป็นกรณีของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือเป็นกรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์
(8) เป็นผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด ซึ่งตนหรือบุคคลตามมาตรา 12 ทวิ ถือหุ้นอยู่ เว้นแต่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งไม่มีอำนาจลงนามผูกพันธนาคารพาณิชย์ด้วยตนเองหรือร่วมกับผู้อื่น /15
มาตรา 13 /16 ห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อหรือลงทุนในกิจการของผู้อื่นหรือก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เกินอัตราส่วนกับเงินกองทุนทั้งหมดหรือเงินกองทุนชนิดหนึ่งชนิดใด หรือหลายชนิดตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนด ในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติด้วยก็ได้
การกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและถ้ามีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราให้ต่ำลงจะให้ใช้บังคับก่อนสิบห้าวันนับแต่วันประกาศมิได้
ให้นำความในมาตรา 12 ทวิ มาใช้บังคับแก่การกระทำตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 13 ทวิ /17 บทบัญญัติแห่งมาตรา 13 ไม่ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ธนาคารพาณิชย์
(1) ให้กู้ยืมเงินโดยการซื้อหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือหลักทรัพย์อื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(2) ให้กู้ยืมเงินโดยมีประกันด้วยหลักทรัพย์รัฐบาลไทยหรือหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินมูลค่าแห่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ธนาคารพาณิชย์นั้นได้ตีราคารับไว้เป็นประกัน
(3) ให้สินเชื่อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดหรือ
(4) รับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน ออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ธนาคารพาณิชย์มีความผูกพันในการชำระเงิน หรือค้ำประกันการกู้ยืมเงิน หรือค้ำประกันการขาย ขายลดหรือขายช่วงลดตั๋วเงิน ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
การกำหนดตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 13 ตรี /17 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศหรือเพื่อแก้ไขภาวะเศรษฐกิจ รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดการดังต่อไปนี้ได้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ
(1) ให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อในกิจการประเภทใด ๆ ไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนด
(2) ห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อในกิจการใด ๆ เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นเกินอัตราที่กำหนด
การกำหนดตาม (1) ทุกครั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอัตราที่กำหนดตาม (1) รวมกันทั้งสิ้นทุกประเภทของกิจการ ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในวันสิ้นปีก่อนหน้านั้น
การกำหนดตาม (2) ให้กำหนดเป็นร้อยละของยอดเงินให้สินเชื่อในแต่ละกิจการของธนาคารพาณิชย์นั้นในขณะใดขณะหนึ่งก็ได้
การกำหนดตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจะกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและระยะเวลาเพื่อปฏิบัติการไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 13 จัตวา /18 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดหลักเณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงิน การกู้ยืมเงินหรือการซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใดได้
การกำหนดตามวรรคหนึ่งจะกำหนดตามประเภทของเงินฝากหรือเงินกู้ยืม ประเภทของบุคคล ประเภทของเอกสารการรับฝากเงินหรือการกู้ยืมเงินหรือประเภทของตราสารก็ได้
มาตรา 14 /19 ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์อาจจ่ายได้ /20
(2) ดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ /20
(3) ค่าบริการที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้
(4) เงินมัดจำที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเรียก
(5) หลักประกันเป็นทรัพย์สินที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเรียก
บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นใดที่อาจกำหนดเป็นเงินได้ ที่ผู้ฝากเงินหรือบุคคลอื่นได้รับจากธนคารพาณิชย์หรือพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้น เนื่องจากการฝากเงินหรือที่ธนาคารพาณิชย์หรือพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้นได้รับ เนื่องจากการประกอบธุรกิจนั้นของธนาคารพาณิชย์ให้ถือว่าเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลด หรือค่าบริการตามความใน (1) หรือ (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี เว้นแต่ค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดตาม (3) ไม่ให้ถือว่าเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม (2)
การกำหนดตามมาตรานี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 15 ให้ธนาคารพาณิชย์จดแจ้งบัญชีแสดงหนี้สินและสินทรัพย์ให้ครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง และประกาศรายการย่อตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยแสดงหนี้สินและสินทรัพย์ที่มีอยู่ในวันทำงานวันสุดท้ายของทุกเดือน หรือในวันอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย /21
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้เสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยหนึ่งฉบับ และให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดไป และให้ลงในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับด้วย เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา 15 ทวิ ให้ธนาคารพาณิชย์ปิดบัญชีทุกงวดการบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือน ถ้าธนาคารพาณิชย์ใดมีสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้หรือที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นตัดสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ดังกล่าวออกจากบัญชีหรือกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ดังกล่าวออกจากบัญชีหรือกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ดังกล่าวเมื่อสิ้นงวดการบัญชีนั้นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ในการอนุญาตนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ /22
ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ถ้านำสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ในส่วนที่ไม่ได้ตัดออกจากบัญชีหรือสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ในส่วนที่ไม่ได้กันเงินสำรองมาหักออกจากเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้นแล้ว หากปรากฏว่าเงินกองทุนที่คงเหลือมีจำนวนต่ำกว่าเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามมาตรา 10 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดมาตรการใด ๆ ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นถือปฏิบัติจนกว่าจะได้ตัดสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้นั้นหมดสิ้นไป หรือกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้นั้นครบจำนวนแล้ว /23
มาตรา 16 /24 ภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีให้ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 5 ประกาศงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่ได้รับอนุญาตจากที่ประชุมใหญ่แล้ว ตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ประกาศดังกล่าวให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้นลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับและเสนอต่อรัฐมนตรีและธนาคารแห่งประเทศไทยภายในยี่สิบเอ็ดวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ทั้งนี้ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
งบดุลตามวรรคหนึ่งจะต้องมีการรับรองของผู้สอบบัญชี ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบในแต่ละปีบัญชี และต้องมิใช่กรรมการ พนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้น
ให้ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 6 ประกาศงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของธนาคารในต่างประเทศที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขา ภายในเวลาสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของธนาคารต่างประเทศนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุขัดข้องอันสมควร ประกาศดังกล่าวให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น
--ราชกิจจานุเบกษา--
_________________________________________
/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/3 ดูประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 หน้า 33
/4 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/6 มาตรา 9 ตรี และ มาตรา 9 จัตวา ถูกเพิ่มโดยมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/7 มาตรา 10 แก้ไขโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/9
/10 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/11 ดูประกอบธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2536 หน้า 47
/12 แก้ไขมาตรา 12 โดยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/13 แก้ไขมาตรา 12 (5) โดยมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/14 มาตรา 12 ทวิ ตรี จัตวา แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
/15
/16 แก้ไขมาตรา 13 โดยมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับ 3) พ.ศ. 2535
/17
/18 มาตรา 13 จัตวา แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/19
/20
/21
/22 มาตรา 15 ทวิ วรรคหนึ่ง แก้ไขโดย มาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2528
/23 มาตรา 15 ทวิ วรรคสอง แก้ไขโดยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
/24 มาตรา 16 แก้ไขโดยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522