พระราชกฤษฏีกา
กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครอง
ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ
พ.ศ.2536
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2536
เป็นปีที่ 48 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเงื่อนไขการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ.2536"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ.2526
มาตรา 4 ในพระราชกฤษฎีกานี้
"ประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา" หมายความว่า ประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์น และการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาดังกล่าว รวมทั้งประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยความคุ้มครองลิขสิทธิ์อื่นใด ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตามบัญชีรายชื่อประเทศแนบท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
"โฆษณาพร้อมกัน" หมายความรวมถึง การโฆษณางาน อันมีลิขสิทธิ์ในประเทศที่มิใช่ภาคีแห่งอนุสัญญาเป็นครั้งแรก และต่อมาได้โฆษณางานนั้นในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาภายในสามสิบวันนับแต่ได้โฆษณาเป็นครั้งแรก
"ประเทศที่เกิดแห่งงาน" หมายความว่า
(1) ประเทศที่ผู้สร้างสรรค์มีสัญชาติ หรือเป็นคนในบังคับ หรือมีถิ่นที่อยู่ ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น ถ้างานนั้นเป็นงานที่ยังไม่ได้โฆษณา
(2) ประเทศที่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ถ้างานนั้นเป็นงานที่ได้โฆษณาแล้ว
(3) ประเทศที่กฎหมายบัญญัติอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไว้สั้นที่สุด ถ้างานนั้นเเป็นงานที่ได้โฆษณาพร้อมกันในหลายประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา หรือ
(4) ประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ถ้างานนั้นเป็นงานที่ได้โฆษณาพร้อมกันในประเทศที่มิได้เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาและในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา
ในกรณีที่เกี่ยวกับงานภาพยนตร์ให้ถือว่าประเทศที่ผู้สร้างได้ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่หรือมีถิ่นที่อยู่เป็นประเทศที่เกิดแห่งงานดังกล่าว
มาตรา 5 งานอันมีลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่งานนั้นยังไม่ได้โฆษณา ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติหรือเป็นคนในบังคับของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น
(2) ในกรณีที่ได้โฆษณางานแล้ว การโฆษณาต้องกระทำเป็นครั้งแรกในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา หรือได้โฆษณาพร้อมกันในประเทศที่มิใช่ภาคีแห่งอนุสัญญาและในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา
มาตรา 6 การให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ตามมาตรา 5 ให้มีอายุแห่งการคุ้มครองตามที่กฎหมายของประเทศที่เกิดแห่งงานนั้นกำหนดไว้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินกว่าอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
บัญชีท้ายพระราชกฤษฏีกา
กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ
พ.ศ.2536
รายชื่อประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์น
1. สาธารณรัฐอาร์เจนตินา
2. เครือรัฐออสเตรเลีย
3. สาธารณรัฐออสเตรีย
4. เครือรัฐบาฮามา
5. บาร์เบโดส
6. ราชอาณาจักรเบลเยียม
7. สาธารณรัฐเบนิน
8. สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
9. สาธาณรัฐบัลแกเรีย
10. บูร์กินาฟาโซ
11. สาธารณรัฐแคเมอรูน
12. แคนาดา
13. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
14. สาธารณรัฐชาด
15. สาธารณรัฐชิลี
16. สาธารณรัฐประชาชนจีน
17. สาธารณรัฐโคลัมเบีย
18. สาธารณรัฐคองโก
19. สาธารณรัฐคอสตาริกา
20. สาธารณรัฐโกตดิวัวร์
21. สาธารณรัฐโครเอเชีย
22. สาธารณรัฐไซปรัส
23. สาธารณรัฐเช็ก
24. ราชอาณาจักรเดนมาร์ก
25. สาธารณรัฐเอกวาดอร์
26. สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
27. สาธารณรัฐฟิจิ
28. สาธารณรัฐฟินแลนด์
29. สาธารณรัฐฝรั่งเศส
30. สาธารณรัฐกาบอง
31. สาธารณรัฐแกมเบีย
32. สาธารณรัฐเยอรมัน
33. สาธารณรัฐกานา
34. สาธารณรัฐเฮลเลนิก
35. สาธารณรัฐกินี
36. สาธารณรัฐกินีบิสเชา
37. รัฐสันตะปาปา
38. สาธารณรัฐฮอนดูรัส
39. สาธารณรัฐฮังการี
40. สาธารณรัฐไอซ์แลนด์
41. สาธารณรัฐอินเดีย
42. ไอร์แลนด์
43. รัฐอิสราเอล
44. สาธารรัฐอิตาลี
45. ญี่ปุ่น
46. สาธารณรัฐเลบานอน
47. ราชอาณาจักรเลโซโธ
48. สาธารณรัฐไลบีเรีย
49. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
50. ราชรัฐลิกเตนสไตน์
51. ราชรัฐลักเซมเบิร์ก
52. สาธารณรัฐมาดากัสการ์
53. สาธารณรัฐมาลาวี
54. มาเลเซีย
55. สาธารณรัฐมาลี
56. สาธารณรัฐมอลตา
57. สาธารณรัฐอิสลามมอริเตนีย
58. มอริเชียส
59. สหรัฐเม็กซิโก
60. ราชรัฐโมนาโก
61. ราชอาณาจักรโมร็อกโก
62. ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
63. นิวซีแลนด์
64. สาธารณรัฐไนเจอร์
65. ราชอาณาจักรนอรเว
66. สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
67. สาธารณรัฐปารากวัย
68. สาธารณรัฐเปรู
69. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
70. สาธารณรัฐโปแลนด์
71. สาธารณรัฐโปรตุเกส
72. โรมาเนีย
73. สาธารณรัฐราวันดา
74. สาธารณรัฐเซเนกัล
75. สาธารณรัฐสโลวัก
76. สาธารณรัฐสโลวีเนีย
77. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
78. ราชอาณาจักรสเปน
79. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
80. สาธารณรัฐซูรินาเม
81. ราชอาณาจักรสวีเดน
82. สมาพันธรัฐสวิส
83. ราชอาณาจักรไทย
84. สาธารณรัฐโตโก
85. สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก
86. สาธารณรัฐตูนีเซีย
87. สาธารณรัฐตุรกี
88. สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
(รวมถึงดินแดนภายใต้อาณัติของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์เหนือ)
89. สหรัฐอเมริกา
90. อุรุกวัย
91. สาธารณรัฐเวเนซูเอลา
92. สมาพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย
93. สาธารณรัฐซาอีร์
94. สาธารณรัฐแซมเบีย
95. สาธารณรัฐซิมบับเว
--ราชกิจจานุเบกษา--
_____________________________________
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และสอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์น ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครอง
ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ
พ.ศ.2536
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2536
เป็นปีที่ 48 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเงื่อนไขการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ.2536"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ.2526
มาตรา 4 ในพระราชกฤษฎีกานี้
"ประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา" หมายความว่า ประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์น และการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาดังกล่าว รวมทั้งประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยความคุ้มครองลิขสิทธิ์อื่นใด ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตามบัญชีรายชื่อประเทศแนบท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
"โฆษณาพร้อมกัน" หมายความรวมถึง การโฆษณางาน อันมีลิขสิทธิ์ในประเทศที่มิใช่ภาคีแห่งอนุสัญญาเป็นครั้งแรก และต่อมาได้โฆษณางานนั้นในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาภายในสามสิบวันนับแต่ได้โฆษณาเป็นครั้งแรก
"ประเทศที่เกิดแห่งงาน" หมายความว่า
(1) ประเทศที่ผู้สร้างสรรค์มีสัญชาติ หรือเป็นคนในบังคับ หรือมีถิ่นที่อยู่ ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น ถ้างานนั้นเป็นงานที่ยังไม่ได้โฆษณา
(2) ประเทศที่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ถ้างานนั้นเป็นงานที่ได้โฆษณาแล้ว
(3) ประเทศที่กฎหมายบัญญัติอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไว้สั้นที่สุด ถ้างานนั้นเเป็นงานที่ได้โฆษณาพร้อมกันในหลายประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา หรือ
(4) ประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ถ้างานนั้นเป็นงานที่ได้โฆษณาพร้อมกันในประเทศที่มิได้เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาและในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา
ในกรณีที่เกี่ยวกับงานภาพยนตร์ให้ถือว่าประเทศที่ผู้สร้างได้ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่หรือมีถิ่นที่อยู่เป็นประเทศที่เกิดแห่งงานดังกล่าว
มาตรา 5 งานอันมีลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่งานนั้นยังไม่ได้โฆษณา ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติหรือเป็นคนในบังคับของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น
(2) ในกรณีที่ได้โฆษณางานแล้ว การโฆษณาต้องกระทำเป็นครั้งแรกในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา หรือได้โฆษณาพร้อมกันในประเทศที่มิใช่ภาคีแห่งอนุสัญญาและในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา
มาตรา 6 การให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ตามมาตรา 5 ให้มีอายุแห่งการคุ้มครองตามที่กฎหมายของประเทศที่เกิดแห่งงานนั้นกำหนดไว้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินกว่าอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
บัญชีท้ายพระราชกฤษฏีกา
กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ
พ.ศ.2536
รายชื่อประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์น
1. สาธารณรัฐอาร์เจนตินา
2. เครือรัฐออสเตรเลีย
3. สาธารณรัฐออสเตรีย
4. เครือรัฐบาฮามา
5. บาร์เบโดส
6. ราชอาณาจักรเบลเยียม
7. สาธารณรัฐเบนิน
8. สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
9. สาธาณรัฐบัลแกเรีย
10. บูร์กินาฟาโซ
11. สาธารณรัฐแคเมอรูน
12. แคนาดา
13. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
14. สาธารณรัฐชาด
15. สาธารณรัฐชิลี
16. สาธารณรัฐประชาชนจีน
17. สาธารณรัฐโคลัมเบีย
18. สาธารณรัฐคองโก
19. สาธารณรัฐคอสตาริกา
20. สาธารณรัฐโกตดิวัวร์
21. สาธารณรัฐโครเอเชีย
22. สาธารณรัฐไซปรัส
23. สาธารณรัฐเช็ก
24. ราชอาณาจักรเดนมาร์ก
25. สาธารณรัฐเอกวาดอร์
26. สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
27. สาธารณรัฐฟิจิ
28. สาธารณรัฐฟินแลนด์
29. สาธารณรัฐฝรั่งเศส
30. สาธารณรัฐกาบอง
31. สาธารณรัฐแกมเบีย
32. สาธารณรัฐเยอรมัน
33. สาธารณรัฐกานา
34. สาธารณรัฐเฮลเลนิก
35. สาธารณรัฐกินี
36. สาธารณรัฐกินีบิสเชา
37. รัฐสันตะปาปา
38. สาธารณรัฐฮอนดูรัส
39. สาธารณรัฐฮังการี
40. สาธารณรัฐไอซ์แลนด์
41. สาธารณรัฐอินเดีย
42. ไอร์แลนด์
43. รัฐอิสราเอล
44. สาธารรัฐอิตาลี
45. ญี่ปุ่น
46. สาธารณรัฐเลบานอน
47. ราชอาณาจักรเลโซโธ
48. สาธารณรัฐไลบีเรีย
49. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
50. ราชรัฐลิกเตนสไตน์
51. ราชรัฐลักเซมเบิร์ก
52. สาธารณรัฐมาดากัสการ์
53. สาธารณรัฐมาลาวี
54. มาเลเซีย
55. สาธารณรัฐมาลี
56. สาธารณรัฐมอลตา
57. สาธารณรัฐอิสลามมอริเตนีย
58. มอริเชียส
59. สหรัฐเม็กซิโก
60. ราชรัฐโมนาโก
61. ราชอาณาจักรโมร็อกโก
62. ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
63. นิวซีแลนด์
64. สาธารณรัฐไนเจอร์
65. ราชอาณาจักรนอรเว
66. สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
67. สาธารณรัฐปารากวัย
68. สาธารณรัฐเปรู
69. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
70. สาธารณรัฐโปแลนด์
71. สาธารณรัฐโปรตุเกส
72. โรมาเนีย
73. สาธารณรัฐราวันดา
74. สาธารณรัฐเซเนกัล
75. สาธารณรัฐสโลวัก
76. สาธารณรัฐสโลวีเนีย
77. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
78. ราชอาณาจักรสเปน
79. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
80. สาธารณรัฐซูรินาเม
81. ราชอาณาจักรสวีเดน
82. สมาพันธรัฐสวิส
83. ราชอาณาจักรไทย
84. สาธารณรัฐโตโก
85. สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก
86. สาธารณรัฐตูนีเซีย
87. สาธารณรัฐตุรกี
88. สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
(รวมถึงดินแดนภายใต้อาณัติของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์เหนือ)
89. สหรัฐอเมริกา
90. อุรุกวัย
91. สาธารณรัฐเวเนซูเอลา
92. สมาพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย
93. สาธารณรัฐซาอีร์
94. สาธารณรัฐแซมเบีย
95. สาธารณรัฐซิมบับเว
--ราชกิจจานุเบกษา--
_____________________________________
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และสอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์น ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้