กฎกระทรวง
ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2524)
ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522
——————————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 12 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
"ลูกจ้าง" หมายความว่า ลูกจ้าง ข้าราชการ หรือพนักงานองค์การของรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 12 หรือมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 แล้วแต่กรณี
"นายจ้าง" หมายความว่า นายจ้าง ส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 12 หรือมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 แล้วแต่กรณี
ข้อ 2 ในการขอรับบำเหน็จพิเศษ ให้ยื่นหลังจากที่ได้มีการออกสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ลูกจ้างได้ทำการประดิษฐ์หรือออกแบบแล้ว ทั้งนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างรู้ว่ามีการออกสิทธิบัตร ในกรณีที่ลูกจ้างมีเหตุอันสมควรแสดงให้เห็นได้ว่าไม่อาจรู้ว่ามีการออกสิทธิบัตร ให้ยื่นได้ภายในเวลาอายุของสิทธิบัตร
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง ให้ลูกจ้างยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดและจัดพิมพ์ขึ้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ จำนวนสามชุด โดยแสดงเหตุผลพร้อมทั้งหลักฐานประกอบ (ถ้ามี) และให้ระบุจำนวนบำเหน็จพิเศษที่ลูกจ้างเห็นว่าตนสมควรได้รับด้วย
ข้อ 3 ในกรณีที่ลูกจ้างหลายคนทำการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกัน การขอรับบำเหน็จพิเศษจะทำร่วมกันหรือแยกกันก็ได้
ข้อ 4 ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอรับบำเหน็จพิเศษ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศโฆษณาคำขอนั้นไว้ในที่เปิดเผย ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งส่งสำเนาคำขอรับบำเหน็จพิเศษดังกล่าวไปยังนายจ้างและลูกจ้างอื่นที่ทำการประดิษฐ์หรือออกแบบร่วมกับลูกจ้างซึ่งยื่นคำขอ (ถ้ามี)
ข้อ 5 ในกรณีทีนายจ้างเห็นว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิรับบำเหน็จพิเศษหรือจำนวนบำเหน็จพิเศษที่ลูกจ้างระบุในคำขอไม่สมควรหรือมีข้อทักท้วงประการอื่นเกี่ยวกับคำขอรับบำเหน็จพิเศษ ให้นายจ้างแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งแสดงหลักฐาน (ถ้ามี) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งตามข้อ 4 จากพนักงานเจ้าหน้าที่
ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งตามวรรคหนึ่งจากนายจ้างแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งส่งสำเนาหนังสือของนายจ้างและหลักฐาน (ถ้ามี) ไปยังผู้ยื่นคำขอรับบำเหน็จพิเศษ ถ้าผู้ยื่นคำขอรับบำเหน็จพิเศษไม่เห็นด้วยกับนายจ้าง ก็ให้ยื่นหนังสือชี้แจงแล้ว หรือไม่ยื่นหนังสือชี้แจงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกการนั้นไว้ในคำขอและเสนออธิบดีเพื่อวินิจฉัยต่อไป
ข้อ 6 ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่อาจปฏิบัติได้ทันตามกำหนดระยะเวลาตามข้อ 4 หรือข้อ 5 อธิบดีอาจขยายเวลาได้ไม่เกินสองคราว คราวละไม่เกินสามสิบวัน และให้แสดงเหตุผลในการขยายเวลาไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
ข้อ 7 ในการกำหนดบำเหน็จพิเศษตามมาตรา 12 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ให้อธิบดีพิจารณาเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ลักษณะหน้าที่ของลูกจ้าง
(2) ความอุตสาหะและความชำนาญซึ่งลูกจ้างได้ใช้ในการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น
(3) ความอุตสาหะและความชำนาญซึ่งบุคคลอื่นได้ใช้ในการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นร่วมกับลูกจ้าง รวมทั้งคำแนะนำหรือการให้ความช่วยเหลือของลูกจ้างอื่นซึ่งมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรืออกแบบร่วม
(4) ความช่วยเหลือของนายจ้างในการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยการให้ทรัพย์ ให้คำปรึกษา คำแนะนำ การอำนวยความสะดวก การเตรียมการหรือจัดการในการแสวงหาปัจจัยหรือบริการเพื่อใช้ในการทดลอง พัฒนา หรือทำให้การประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้
(5) ประโยชน์ที่นายจ้างได้รับหรือจะได้รับจากการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้การประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น รวมทั้งการโอนสิทธิบัตรให้แก่บุคคลอื่นด้วย
(6) จำนวนลูกจ้างซึ่งได้ร่วมทำการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์
ข้อ 8 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณากำหนดบำเหน็จพิเศษ อธิบดีจะเรียกผู้ขอรับบำเหน็จพิเศษหรือนายจ้างมาให้ถ้อยคำชี้แจงหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานก็ได้
ให้ไว้ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2524
(ลงชื่อ) ชวน หลีกภัย
(นายชวน หลีกภัย)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
--ราชกิจจานุเบกษา--
—————————————————————————————
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา 12 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 บัญญัติให้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับบำเหน็จพิเศษ และกำหนดเงื่อนไขอื่นในการกำหนดบำเหน็จพิเศษ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2524)
ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522
——————————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 12 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
"ลูกจ้าง" หมายความว่า ลูกจ้าง ข้าราชการ หรือพนักงานองค์การของรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 12 หรือมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 แล้วแต่กรณี
"นายจ้าง" หมายความว่า นายจ้าง ส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 12 หรือมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 แล้วแต่กรณี
ข้อ 2 ในการขอรับบำเหน็จพิเศษ ให้ยื่นหลังจากที่ได้มีการออกสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ลูกจ้างได้ทำการประดิษฐ์หรือออกแบบแล้ว ทั้งนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างรู้ว่ามีการออกสิทธิบัตร ในกรณีที่ลูกจ้างมีเหตุอันสมควรแสดงให้เห็นได้ว่าไม่อาจรู้ว่ามีการออกสิทธิบัตร ให้ยื่นได้ภายในเวลาอายุของสิทธิบัตร
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง ให้ลูกจ้างยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดและจัดพิมพ์ขึ้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ จำนวนสามชุด โดยแสดงเหตุผลพร้อมทั้งหลักฐานประกอบ (ถ้ามี) และให้ระบุจำนวนบำเหน็จพิเศษที่ลูกจ้างเห็นว่าตนสมควรได้รับด้วย
ข้อ 3 ในกรณีที่ลูกจ้างหลายคนทำการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกัน การขอรับบำเหน็จพิเศษจะทำร่วมกันหรือแยกกันก็ได้
ข้อ 4 ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอรับบำเหน็จพิเศษ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศโฆษณาคำขอนั้นไว้ในที่เปิดเผย ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งส่งสำเนาคำขอรับบำเหน็จพิเศษดังกล่าวไปยังนายจ้างและลูกจ้างอื่นที่ทำการประดิษฐ์หรือออกแบบร่วมกับลูกจ้างซึ่งยื่นคำขอ (ถ้ามี)
ข้อ 5 ในกรณีทีนายจ้างเห็นว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิรับบำเหน็จพิเศษหรือจำนวนบำเหน็จพิเศษที่ลูกจ้างระบุในคำขอไม่สมควรหรือมีข้อทักท้วงประการอื่นเกี่ยวกับคำขอรับบำเหน็จพิเศษ ให้นายจ้างแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งแสดงหลักฐาน (ถ้ามี) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งตามข้อ 4 จากพนักงานเจ้าหน้าที่
ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งตามวรรคหนึ่งจากนายจ้างแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งส่งสำเนาหนังสือของนายจ้างและหลักฐาน (ถ้ามี) ไปยังผู้ยื่นคำขอรับบำเหน็จพิเศษ ถ้าผู้ยื่นคำขอรับบำเหน็จพิเศษไม่เห็นด้วยกับนายจ้าง ก็ให้ยื่นหนังสือชี้แจงแล้ว หรือไม่ยื่นหนังสือชี้แจงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกการนั้นไว้ในคำขอและเสนออธิบดีเพื่อวินิจฉัยต่อไป
ข้อ 6 ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่อาจปฏิบัติได้ทันตามกำหนดระยะเวลาตามข้อ 4 หรือข้อ 5 อธิบดีอาจขยายเวลาได้ไม่เกินสองคราว คราวละไม่เกินสามสิบวัน และให้แสดงเหตุผลในการขยายเวลาไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
ข้อ 7 ในการกำหนดบำเหน็จพิเศษตามมาตรา 12 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ให้อธิบดีพิจารณาเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ลักษณะหน้าที่ของลูกจ้าง
(2) ความอุตสาหะและความชำนาญซึ่งลูกจ้างได้ใช้ในการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น
(3) ความอุตสาหะและความชำนาญซึ่งบุคคลอื่นได้ใช้ในการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นร่วมกับลูกจ้าง รวมทั้งคำแนะนำหรือการให้ความช่วยเหลือของลูกจ้างอื่นซึ่งมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรืออกแบบร่วม
(4) ความช่วยเหลือของนายจ้างในการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยการให้ทรัพย์ ให้คำปรึกษา คำแนะนำ การอำนวยความสะดวก การเตรียมการหรือจัดการในการแสวงหาปัจจัยหรือบริการเพื่อใช้ในการทดลอง พัฒนา หรือทำให้การประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้
(5) ประโยชน์ที่นายจ้างได้รับหรือจะได้รับจากการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้การประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น รวมทั้งการโอนสิทธิบัตรให้แก่บุคคลอื่นด้วย
(6) จำนวนลูกจ้างซึ่งได้ร่วมทำการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์
ข้อ 8 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณากำหนดบำเหน็จพิเศษ อธิบดีจะเรียกผู้ขอรับบำเหน็จพิเศษหรือนายจ้างมาให้ถ้อยคำชี้แจงหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานก็ได้
ให้ไว้ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2524
(ลงชื่อ) ชวน หลีกภัย
(นายชวน หลีกภัย)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
--ราชกิจจานุเบกษา--
—————————————————————————————
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา 12 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 บัญญัติให้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับบำเหน็จพิเศษ และกำหนดเงื่อนไขอื่นในการกำหนดบำเหน็จพิเศษ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้