พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 (ต่อ)

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday March 31, 1999 07:34 —พรบ.สิทธิบัตร

        มาตรา 29 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 66 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการสิทธิบัตร" ประกอบด้วยปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ
และกรรมการผู้ทรงคุณวิฒิในสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรศาสตร์ เภสัชศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ อีกไม่เกินสิบสองคนซึ่งคณะรัฐมนครีแต่งตั้ง โดยในจำนวนนี้ให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนไม่น้อยกว่าหกคน"
มาตรา 30 ให้ยกเลิกความในมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 70 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้
(2) วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีเกี่ยวกับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 41 มาตรา 45 มาตรา 49 มาตรา 50
มาตรา 55 มาตรา 65 ฉ หรือมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 45 มาตรา 49 มาตรา 50 หรือมาตรา 72
(3) ปฏิบัติการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(4) พิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย"
มาตรา 31 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 72 ในกรณีที่มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีตามมาตรา 12 มาตรา 15 มาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 33 มาตรา 34
มาตรา 49 มาตรา 50 หรือมาตรา 61 หรือมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 12 มาตรา 15 มาตรา 28 มาตรา 33 หรือมาตรา 34 หรือ
มาตรา 65 เบญจ หรือมาตรา 65 ฉ หรือมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 12 มาตรา 15 มาตรา 49 หรือมาตรา 50 ผู้มีส่วนได้เสียตาม
มาตราดังกล่าวมีสิทธิอุทธรณ์ภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีเป็นที่สุด"
มาตรา 32 ให้ยกเลิกความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 73 ในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของอธิบดี หรือพิจารณารายงานการสอบสวนของอธิบดีตามมาตรา 55 หรือ
มาตรา 65 ฉ หรือรายงานของอธิบดีตามมาตรา 43 หรือมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 43 เพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรหรือนุสิทธิบัตร
คณะกรรมการจะให้ผู้คัดค้าน หรือผู้โต้แย้ง หรือผู้ทรงสิทธิบัตร หรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตร หรือผู้ขอให้ตรวจสอบอนุสิทธิบัตร หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้
สิทธิตามสิทธิบัตรหรือตามอนุสิทธิบัตร แล้วแต่กรณี นำพยานหลักฐานมาแสดงหรือแถลงเพิ่มเติมก็ได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด"
มาตรา 33 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 74 เมื่อคณะกรรมการได้วินิจฉัยหรือมีคำสั่งตามมาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา 55 หรือมาตรา 65 ฉ
หรือ มาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 49 มาตรา 50 หรือมาตรา 55 หรือมาตรา 72 แล้ว ให้แจ้งคำวินิจฉัยหรือคำสั่ง
พร้อมพ้วยเหตุผลไปยังอุทธรณ์และคู่กรณี หรือผู้ทรงสิทธิบัตร หรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตร หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรหรือตามอนุสิทธิบัตร แล้วแต่
กรณี คู่กรณีฝ่ายใดไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยหรือคำสั่ง ถ้าไม่ดำเนินคดี
ภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการเป็นที่สุด"
มาตรา 34 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัตสิทธิบัตร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 75 ห้ามมิให้บุคคลใดซึ่งไม่มีสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ใช้คำว่า "สิทธิบัตรไทย" "อนุสิทธิบัตรไทย" หรืออักษร สบท. หรือ อสบท.
หรืออักษรต่างประเทศที่มีความหมายเช่นเดียวกัน หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกันให้ปรากฏที่ผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อของผลิตภัณฑ์
หรือในการโฆษณา การประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ใด ๆ
มาตรา 76 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้คำว่า "รอรับสิทธิบัตร" หรือ "รอรับอนุสิทธิบัตร" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน ให้ปรากฏที่
ผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อของผลิตภัณฑ์ หรือในการโฆษณา การประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ใด ๆ เว้นแต่เป็นผู้ขอรับสิทธิบัตร หรือ
อนุสิทธิบัตรและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคำขอนั้น"
มาตรา 35 ให้ยกเลิกความในมาตรา 77 มาตรา 77 ทวิ มาตรา 77 ตรี และมาตรา 77 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 77 ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรในกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ฟ้องผู้ฝ่าฝืนสิทธิตามสิทธิบัตรหรือนุสิทธิบัตรของตนเป็น
คดีแพ่ง หากผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรพิสูจน์ได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่จำเลยผลิตมีลักษณะเช่นเดียวกันหรือคล้ายกันกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีของ
ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยได้ใช้กรรมวิธีของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตร เว้นแต่จำเลยจะพิสูจน์ให้เห็น
เป็นอย่างอื่น
มาตรา 77 ทวิ ในกรณีที่มีหลักฐานโดยชัดแจ้งว่ามีผู้กระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร
หรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 36 หรือมาตรา 63 หรือมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 36 ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรอาจขอให้ศาล
มีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวระงับหรือละเว้นการกระทำดังกล่าวนั้นได้ การที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวไม่ตัดสิทธิ ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนสิทธิบัตรที่จะเรียก
ค่าเสียหายตามมาตรา 77 ตรี
มาตรา 77 ตรี ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรตาม มาตรา 36 หรือมาตรา 63 หรือมาตรา 65 ทศ
ประกอบด้วยมาตรา 36 ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร โดยคำนึงถึง
ความร้ายแรงของความเสียหายรวมทั้งการสูญเสียประโยชน์และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรด้วย
มาตรา 77 จัตวา บรรดาสินค้าที่อยู่ในครอบครองของผู้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรตาม
มาตรา 36 หรือมาตรา 63 หรือมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 36 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ในกรณีที่ศาลเห็นสมควรอาจมีคำสั่งให้ทำลายสินค้าดังกล่าว
หรือดำเนินการอย่างอื่นเพื่อป้องกันมิให้มีการนำเอาสินค้าดังกล่าวออกจำหน่ายอีกก็ได้"
มาตรา 36 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 77 เบญจ มาตรา 77 ฉ มาตรา 77 สัตต และมาตรา 77 อัฏฐ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร
พ.ศ.2522
"มาตรา 77 เบญจ บุคคลใดขอรับหรือร่วมขอรับทั้งสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์อย่างเดียวกันโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 65 ตรี
ให้ถือว่าบุคคลนั้นขอรับอนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์นั้น
มาตรา 77 ฉ ในกรณีบุคคลหลายคนต่างทำการประดิษฐ์อย่างเดียวกันโดยไม่ได้ร่วมกัน และมีบุคคลฝ่ายหนึ่งได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร
แต่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งได้ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร
(1) ให้บุคคลซึ่งได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรหรือคำขอรับอนุสิทธิบัตรไว้ก่อนเป็นผู้มีสิทธิรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์นั้น
(2) ถ้ามีการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในวันเดียวกันกับการยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรและผู้ขอรับ
อนุสิทธิบัตรทราบเพื่อให้ทำความตกลงกันว่าจะให้บุคคลใดมีสิทธิแต่ผู้เดียวหรือให้มีสิทธิร่วมกัน และจะให้คำขอรับสิทธิบัตรหรือคำขอรับอนุสิทธิบัตร
เป็นคำขอสำหรับการประดิษฐ์นั้น ถ้าตกลงกันไม่ได้ภายในเวลาที่อธิบดีกำหนด ให้คู่กรณีนำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดระยะ
เวลาที่อธิบดีกำหนด ถ้าไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นละทิ้งคำขอรับสิทธิบัตรและละทิ้งคำขอรับอนุสิทธิบัตร
มาตรา 77 สัตต ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศโฆษณาตามมาตรา 28 หรือวันประกาศโฆษณาการจดทะเบียนการประดิษฐ์และออก
อนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ใด ผู้ขอรับอนุสิทธิบัตร ผู้ทรงอนุสิทธิบัตร ผู้ขอรับสิทธิบัตร หรือผู้ทรงสิทธิบัตรผู้ใดเห็นว่าการจดทะเบียนการประดิษฐ์
และออกสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์นั้นอาจไม่ชอบด้วยมาตรา 65 ตรี เพราะการประดิษฐ์นั้นเป็นการประดิษฐ์อย่างเดียวกันกับ
ของตนและตนได้ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรหรือยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้ในวันเดียวกันกับการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรหรือการยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรดังกล่าว
ผู้นั้นมีสิทธิขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์นั้นได้ยื่นขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 65 ตรี หรือไม่
เมื่อได้รับคำขอให้ตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบเสนออธิบดี
เมื่ออธิบดีพิจารณารายงานการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสองแล้ว เห็นว่าการจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกสิทธิบัตร
หรืออนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์นั้นจะไม่ชอบด้วยมาตรา 65 ตรี เพราะการประดิษฐ์นั้นเป็นการประดิษฐ์อย่างเดียวกัน และวันยื่นคำขอรับ
สิทธิบัตรหรือวันยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเป็นวันเดียวกันกับวันยื่นคำขอรับอนุสิทธิหรือวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตรของผู้ขอให้ตรวจสอบ ให้อธิบดีแจ้งให้
ผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตร และผู้ขอให้ตรวจสอบทราบเพื่อให้ทำความตกลงกันว่าจะให้บุคคลใดมีสิทธิแต่ผู้เดียวหรือให้มีสิทธิร่วมกัน
ถ้าตกลงกันไม่ได้ภายในเวลาที่อธิบดีกำหนด ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นมีสิทธิร่วมกันในการประดิษฐ์นั้น
มาตรา 77 อัฏฐ สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรใดได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 65 ตรี ให้ถือว่าสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์
ความไม่สมบูรณ์ตามวรรคหนึ่ง บุคคลใดจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้
ในกรณีการจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 65 ตรี และได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรและ
อนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์นั้นในวันเดียวกัน ผู้ทรงสิทธิบัตรและผู้ทรงอนุสิทธิบัตร หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นหรือพนักงานอัยการอาจขอให้อธิบดี
เรียกให้ผู้ทรงสิทธิบัตรและผู้ทรงอนุสิทธินั้นทำความตกลงกันว่าจะให้บุคคลใดมีสิทธิแต่ผู้เดียวหรือให้มีสิทธิร่วมกัน และต้องทำความตกลงกันว่าจะ
เลือกให้การประดิษฐ์นั้นเป็นการประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว ถ้าตกลงกันไม่ได้ภายในเวลาที่
อธิบดีกำหนด ให้ถือว่าผู้ทรงสิทธิบัตรและผู้ทรงอนุสิทธิบัตรมีสิทธิร่วมกัน และให้ถือว่าการประดิษฐ์นั้นเป็นการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตร
มาตรา 37 ให้ยกเลิกความในมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 78 สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร หรือใบอนุญาตให้ใช้สิทธิของผู้ใดสูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้เจ้าของขอรับใบแทนสิทธิบัตร
ใบแทนอนุสิทธิบัตร หรือใบแทนใบอนุญาตให้ใช้สิทธินั้นได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง"
มาตรา 38 ให้ยกเลิกความในมาตรา 80 มาตรา 81 มาตรา 82 และมาตรา 83 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 และ
ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 80 บรรดาคำขอรับสิทธิบัตร คำขอรับอนุสิทธิบัตร การประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์
คำคัดค้านการขอรับสิทธิบัตรคำขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร คำขอจดทะเบียนรับโอนสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร
คำขอเปลี่ยนแปลงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร คำขอต่ออายุอนุสิทธิบัตร คำขอบันทึกคำยินยอมให้บุคคลอื่น ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร คำขอ
ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ใบอนุญาตสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ใบแทนใบอนุญาตให้ใช้สิทธิ คำขออื่นๆ การคัดสำเนาเอกสารและการรับรอง
สำเนาเอกสารให้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
มาตรา 81 เจ้าพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 21 หรือมาตรา 23 วรรคสอง หรือมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 21 หรือมาตรา 65 ทศ
ประกอบด้วยมาตรา 21 หรือมาตรา 23 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 82 บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 22 หรือมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 22 หรือมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 22
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 83 บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 23 วรรคสอง หรือมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 23 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา 39 ให้ยกเลิกมาตรา 83 ทวิ มาตรา 83 ตรี และมาตรา 83 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
มาตรา 40 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ซึ่งถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2535
"มาตรา 86 บุคคลใดกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 36 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงอนุสิทธิบัตร
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา 41 ให้ยกเลิกความในมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 87 บุคคลใดยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์หรืออนุสิทธิบัตร โดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงาน
เจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้ไปซึ่งสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา 42 ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และให้ใช้บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 43 สิทธิบัตรที่ออกให้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 หรือที่ออกให้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ให้ถือว่าเป็นสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัตินี้ แต่ให้สิทธิบัตรมีอายุต่อไปได้เพียงเท่าที่มีเหลืออยู่ตามสิทธิบัตรนั้น
มาตรา 44 คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับและอธิบดียังไม่มีคำสั่งตามมาตรา 33 หรือ
มาตรา 34 ผู้ขอมีสิทธิเปลี่ยนแปลงเป็นคำขอรับอนุสิทธิบัตรได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 45 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลักภัย
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม
1. คำขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ 1,000 บาท
2. คำขอรับสิทธิบัตรสำหรับแบบผลิตภัณฑ์อย่างเดียวกัน
และยื่นขอในคราวเดียวกันตั้งแต่ 10 คำขอขึ้นไป 1,000 บาท
3. การประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร 500 บาท
4. คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ ฉบับละ 500 บาท
5. คำคัดค้านการขอรับสิทธิบัตร ฉบับละ 1,000 บาท
6. สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ 1,000 บาท
7. ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
ปีที่ 5 2,000 บาท
ปีที่ 6 4,000 บาท
ปีที่ 7 6,000 บาท
ปีที่ 8 8,000 บาท
ปีที่ 9 10,000 บาท
ปีที่ 10 12,000 บาท
ปีที่ 11 14,000 บาท
ปีที่ 12 16,000 บาท
ปีที่ 13 18,000 บาท
ปีที่ 14 20,000 บาท
ปีที่ 15 30,000 บาท
ปีที่ 16 40,000 บาท
ปีที่ 17 50,000 บาท
ปีที่ 18 60,000 บาท
ปีที่ 19 70,000 บาท
ปีที่ 20 80,000 บาท
หรือชำระทั้งหมดในคราวเดียว 400,000 บาท
8. ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
ปีที่ 5 1,000 บาท
ปีที่ 6 2,000 บาท
ปีที่ 7 3,000 บาท
ปีที่ 8 4,000 บาท
ปีที่ 9 5,000 บาท
ปีที่ 10 6,000 บาท
หรือชำระทั้งหมดในคราวเดียว 20,000 บาท
9. ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับอนุสิทธิบัตร
ปีที่ 5 2,000 บาท
ปีที่ 6 4,000 บาท
หรือชำระทั้งหมดในคราวเดียว 6,000 บาท
10.ค่าธรรมเนียมการต่ออายุอนุสิทธิบัตร
ครั้งที่ 1 14,000 บาท
ครั้งที่ 2 22,000 บาท
11.คำขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร
หรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ 500 บาท
12.คำขอจดทะเบียนรับโอนสิทธิบัตร
หรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ 500 บาท
13.คำขอเปลี่ยนแปลงคำขอรับ
สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ 500 บาท
14.ใบอนุญาตให้ใช้สิทธิ
ตามสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ 1,000 บาท
15.ใบแทนสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร
หรือใบแทนใบอนุญาตให้ใช้สิทธิ ฉบับละ 100 บาท
16.คำอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดี ฉบับละ 1,000 บาท
17.การคัดสำเนาเอกสาร หน้าละ 10 บาท
18.การรับรองสำเนาเอกสาร
เอกสารเกิน 10 หน้า ฉบับละ 100 บาท
เอกสารไม่เกิน 10 หน้า หน้าละ 10 บาท
19.คำขออื่นๆ ฉบับละ 100 บาท
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยที่นานาประเทศได้ทำความตกลงว่า
ด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าและจัดตั้งองค์การการค้าโลกได้เสร็จสิ้นลงและมีผลใช้บังคับแล้ว ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นภาคี
สมาชิกองค์การการค้าโลก มีพันธกรณีที่จะต้องออกกฎหมายอนุวัติการให้สอดคล้องกับความตกลงดังกล่าว เพื่อให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโดยที่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้นักประดิษฐ์ได้รับผลตอบแทนความมานะ
อุตสาหะอย่างเหมาะสม อันจะทำให้นักประดิษฐ์มีกำลังใจที่จะประดิษฐ์คิดค้นเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่อไป โดย
เฉพาะอย่างยิ่ง การให้มีบทบัญญัติว่าด้วยอนุสิทธิบัตร ซึ่งให้การคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีเทคโนโลยีไม่ถึงขนาดที่จะได้รับสิทธิบัตรนั้นจะเป็น
ประโยชน์ต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สูงขึ้น และแพร่หลายยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ