กฎกระทรวง
ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2529)
ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522
———————————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 39 (1) มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มาตรา 42 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
"สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร" หมายความว่า ความตกลงที่ผู้ทรงสิทธิบัตรอนุญาตตามมาตรา 38 ให้ผู้รับอนุญาตใช้สิทธิตามมาตรา 36 และมาตรา 37 โดยมีกำหนดระยะเวลา ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือข้อตกลงในเรื่องอื่นใดด้วยหรือไม่ก็ตาม
"ผู้รับอนุญาต" หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร
ข้อ 2 เงื่อนไข ข้อจำกัดสิทธิ หรือค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรดังต่อไปนี้ เป็นเงื่อนไข ข้อจำกัดสิทธิ หรือค่าตอบแทนอันมีลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรมของประเทศ ตามมาตรา 39 (1)
(1) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตจัดหาวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตทั้งหมดหรือบางส่วนจากผู้ทรงสิทธิบัตรหรือจากผู้จำหน่ายที่ผู้ทรงสิทธิบัตรกำหนดหรืออนุญาต ไม่ว่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าจำเป็นต้องกำหนดเช่นนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นได้ผลตามสิทธิบัตร และค่าตอบแทนคำนวณแล้วต้องไม่สูงกว่าราคาวัสดุที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันที่สามารถจัดหาจากผู้อื่นได้
(2) ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตจัดหาวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตทั้งหมดหรือบางส่วนจากผู้จำหน่ายที่ผู้ทรงสิทธิบัตรกำหนด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถ้าไม่กำหนดเช่นนั้นจะเป็นเหตุให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นไม่ได้ผลตามสิทธิบัตร
(3) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตขายหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเกินกว่ากึ่งหนึ่งให้แก่ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือบุคคลที่ผู้ทรงสิทธิบัตรกำหนด
(4) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตมอบอำนาจในการขายหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือบุคคลที่ผู้ทรงสิทธิบัตรกำหนด
(5) จำกัดปริมาณการผลิต การขาย หรือการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผู้รับอนุญาต
(6) ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตส่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ออกไปขายหรือจำหน่ายในประเทศอื่น เว้นแต่ผู้ทรงสิทธิบัตรจะเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรในประเทศดังกล่าว และได้อนุญาตให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีสิทธิขายหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรแต่ผู้เดียวในประเทศนั้นก่อนที่จะทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรกับผู้รับอนุญาต
(7) กำหนดเงื่อนไขหรือจำกัดสิทธิของผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับการว่าจ้างบุคคลเพื่อใช้ในการผลิตโดยใช้การประดิษฐ์ หรือแบบผลิตภัณฑ์ที่อนุญาต เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าจำเป็นต้องกำหนดเช่นนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นได้ผลตามสิทธิบัตร
(8) กำหนดเงื่อนไขหรือจำกัดสิทธิของผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัย หรือพัฒนาการประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์
(9) กำหนดเงื่อนไขหรือจำกัดสิทธิของผู้รับอนุญาตในการใช้การประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ของบุคคลอื่น นอกจากการประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ที่อนุญาต
(10) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตใช้การประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์อื่นของผู้ทรงสิทธิบัตรโดยไม่จำเป็น โดยเรียกค่าตอบแทนสำหรับการใช้ดังกล่าว
(11) กำหนดให้ผู้ทรงสิทธิบัตรมีอำนาจในการกำหนดราคาขายหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตนั้น
(12) ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดชอบของผู้ทรงสิทธิบัตรในกรณีที่การประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ที่อนุญาตให้ใช้นั้นมีส่วนบกพร่องอันไม่อาจตรวจสอบได้โดยง่าย ในเวลาทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร
(13) ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตกล่าวอ้างหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่าสิทธิบัตรของผู้ทรงสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 54 หรือมาตรา 64
(14) กำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรในอัตราที่สูงเกินควร หรือในอัตราที่ไม่เป็นธรรมเมื่อเทียบกับอัตราที่กำหนดในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรที่ผู้ทรงสิทธิบัตรทำกับผู้รับอนุญาตรายอื่น
(15) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตเปิดเผยการประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งผู้รับอนุญาตได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือยอมให้ผู้ทรงสิทธิบัตรหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยไม่ได้กำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมในการหาประโยชน์นั้นให้แก่ผู้รับอนุญาต
ข้อ 3 ในการขอจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ให้ผู้ทรงสิทธิบัตรยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดและจัดพิมพ์ขึ้นพร้อมด้วยสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือส่งคำขอพร้อมด้วยสัญญาดังกล่าวโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก็ได้
ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรการยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งต้องมอบอำนาจให้ตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับอธิบดีเป็นผู้กระทำแทน โดยยื่นหนังสือมอบอำนาจซึ่งต้องมีคำรับรองลายมือชื่อของทูต กงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศที่ผู้มอบอำนาจมีถิ่นที่อยู่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือมีคำรับรองของบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้นมีอำนาจรับรองลายมือชื่อมาพร้อมกับคำขอ
ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรที่ถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง จะมอบอำนาจให้ตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไวักับอธิบดีเป็นผู้กระทำการแทนก็ได้ โดยยื่นหนังสือมอบอำนาจมาพร้อมกับคำขอ
ข้อ 4 ในการขอจดทะเบียนการโอนสิทธิบัตรให้ผู้รับโอนสิทธิบัตรยื่นคำขอตอบแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดและจัดพิมพ์ขึ้น พร้อมด้วยสัญญาโอนสิทธิบัตร ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือส่งคำขอพร้อมด้วยสัญญาดังกล่าวโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก็ได้
ในการขอจดทะเบียนการรับโอนสิทธิบัตรโดยทางมรดก ให้ทายาทของผู้ทรงสิทธิบัตรยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดและจัดพิมพ์ขึ้นพร้อมด้วยหลักฐานเกี่ยวกับการรับมรดกตามประกาศกรมทะเบียนการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือส่งคำขอพร้อมด้วยหลักฐานดังกล่าวโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก็ได้
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ถ้าผู้ยื่นคำขอมีความประสงค์จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน ให้นำความในข้อ 3 วรรคสอง หรือวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 5 ในการพิจารณาคำขอจดทะเบียนตามข้อ 3 หรือข้อ 4 ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าคำขอรายใดไม่ถูกต้องหรือหลักฐานไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขหรือส่งเอกสารหรือสิ่งใดเพิ่มเติม หรือจะเรียกผู้ยื่นคำขอหรือตัวแทน มาให้ถ้อยคำเพิ่มเติมก็ได้
ถ้าผู้ยื่นคำขอหรือตัวแทนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียนนั้นเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นอธิบดีอาจขยายกำหนดเวลาดังกล่าวให้ตามที่เห็นสมควร
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอจดทะเบียนและหลักฐานต่าง ๆ เห็นว่าถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 3 หรือ ข้อ 4 แล้วให้เสนอรายงานการตรวจสอบคำขอจดทะเบียนต่ออธิบดี
ข้อ 6 ในการขอจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ถ้าอธิบดีพิจารณาเห็นว่าคำขอจดทะเบียนและหลักฐานต่าง ๆ ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 3 และข้อความใดในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 39 หรือกฎหมายอื่น ให้มีคำสั่งรับจดทะเบียน แต่ถ้าอธิบดีพิจารณาเห็นว่าคำขอจดทะเบียนหรือหลักฐานต่าง ๆ ไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน
ในกรณีที่อธิบดีพิจารณาเห็นว่าข้อความใดในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 39 หรือกฎหมายอื่น ให้เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาตามมาตรา 41 วรรคสอง
ในการขอจดทะเบียนการโอนสิทธิบัตร หรือการรับโอนสิทธิบัตรโดยทางมรดก ถ้าอธิบดีพิจารณาเห็นว่าคำขอจดทะเบียนและหลักฐานต่าง ๆ ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 4 ให้มีคำสั่งรับจดทะเบียน แต่ถ้าอธิบดีพิจารณาเห็นว่าคำขอจดทะเบียนหรือหลักฐานต่าง ๆ ไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งคำสั่งของอธิบดีที่รับหรือไม่รับจดทะเบียนให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยไม่ชักช้า
ข้อ 7 บรรดาเอกสารที่จะต้องส่งตามกฎกระทรวงนี้ ถ้าจัดทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ผู้ยื่นคำขอส่งเอกสารนั้นพร้อมด้วยคำแปลเป็นภาษาไทย โดยมีคำรับรองของผู้แปลว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้อง
ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2529
ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
--ราชกิจจานุเบกษา--
————————————————————————————
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา 39 (1) บัญญัติให้ออกกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไข ข้อจำกัดสิทธิหรือค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหัตถกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรม ของประเทศอันกฎหมายห้ามมิให้ผู้ทรงสิทธิบัตรกำหนดในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตามสิทธิบัตร และมาตรา 41 วรรคหนึ่ง กับมาตรา 42 บัญญัติให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรและการโอนสิทธิบัตร รวมทั้งบัญญัติให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอจดทะเบียนการรับโอนสิทธิบัตรโดยทางมรดก โดยกฎกระทรวงโดยจะใช้บังคับกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามมาตรา 65 ด้วย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2529)
ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522
———————————————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 39 (1) มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มาตรา 42 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
"สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร" หมายความว่า ความตกลงที่ผู้ทรงสิทธิบัตรอนุญาตตามมาตรา 38 ให้ผู้รับอนุญาตใช้สิทธิตามมาตรา 36 และมาตรา 37 โดยมีกำหนดระยะเวลา ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือข้อตกลงในเรื่องอื่นใดด้วยหรือไม่ก็ตาม
"ผู้รับอนุญาต" หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร
ข้อ 2 เงื่อนไข ข้อจำกัดสิทธิ หรือค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรดังต่อไปนี้ เป็นเงื่อนไข ข้อจำกัดสิทธิ หรือค่าตอบแทนอันมีลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรมของประเทศ ตามมาตรา 39 (1)
(1) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตจัดหาวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตทั้งหมดหรือบางส่วนจากผู้ทรงสิทธิบัตรหรือจากผู้จำหน่ายที่ผู้ทรงสิทธิบัตรกำหนดหรืออนุญาต ไม่ว่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าจำเป็นต้องกำหนดเช่นนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นได้ผลตามสิทธิบัตร และค่าตอบแทนคำนวณแล้วต้องไม่สูงกว่าราคาวัสดุที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันที่สามารถจัดหาจากผู้อื่นได้
(2) ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตจัดหาวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตทั้งหมดหรือบางส่วนจากผู้จำหน่ายที่ผู้ทรงสิทธิบัตรกำหนด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถ้าไม่กำหนดเช่นนั้นจะเป็นเหตุให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นไม่ได้ผลตามสิทธิบัตร
(3) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตขายหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเกินกว่ากึ่งหนึ่งให้แก่ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือบุคคลที่ผู้ทรงสิทธิบัตรกำหนด
(4) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตมอบอำนาจในการขายหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือบุคคลที่ผู้ทรงสิทธิบัตรกำหนด
(5) จำกัดปริมาณการผลิต การขาย หรือการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผู้รับอนุญาต
(6) ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตส่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ออกไปขายหรือจำหน่ายในประเทศอื่น เว้นแต่ผู้ทรงสิทธิบัตรจะเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรในประเทศดังกล่าว และได้อนุญาตให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีสิทธิขายหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรแต่ผู้เดียวในประเทศนั้นก่อนที่จะทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรกับผู้รับอนุญาต
(7) กำหนดเงื่อนไขหรือจำกัดสิทธิของผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับการว่าจ้างบุคคลเพื่อใช้ในการผลิตโดยใช้การประดิษฐ์ หรือแบบผลิตภัณฑ์ที่อนุญาต เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าจำเป็นต้องกำหนดเช่นนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นได้ผลตามสิทธิบัตร
(8) กำหนดเงื่อนไขหรือจำกัดสิทธิของผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัย หรือพัฒนาการประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์
(9) กำหนดเงื่อนไขหรือจำกัดสิทธิของผู้รับอนุญาตในการใช้การประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ของบุคคลอื่น นอกจากการประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ที่อนุญาต
(10) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตใช้การประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์อื่นของผู้ทรงสิทธิบัตรโดยไม่จำเป็น โดยเรียกค่าตอบแทนสำหรับการใช้ดังกล่าว
(11) กำหนดให้ผู้ทรงสิทธิบัตรมีอำนาจในการกำหนดราคาขายหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตนั้น
(12) ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดชอบของผู้ทรงสิทธิบัตรในกรณีที่การประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ที่อนุญาตให้ใช้นั้นมีส่วนบกพร่องอันไม่อาจตรวจสอบได้โดยง่าย ในเวลาทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร
(13) ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตกล่าวอ้างหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่าสิทธิบัตรของผู้ทรงสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 54 หรือมาตรา 64
(14) กำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรในอัตราที่สูงเกินควร หรือในอัตราที่ไม่เป็นธรรมเมื่อเทียบกับอัตราที่กำหนดในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรที่ผู้ทรงสิทธิบัตรทำกับผู้รับอนุญาตรายอื่น
(15) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตเปิดเผยการประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งผู้รับอนุญาตได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือยอมให้ผู้ทรงสิทธิบัตรหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยไม่ได้กำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมในการหาประโยชน์นั้นให้แก่ผู้รับอนุญาต
ข้อ 3 ในการขอจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ให้ผู้ทรงสิทธิบัตรยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดและจัดพิมพ์ขึ้นพร้อมด้วยสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือส่งคำขอพร้อมด้วยสัญญาดังกล่าวโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก็ได้
ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรการยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งต้องมอบอำนาจให้ตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับอธิบดีเป็นผู้กระทำแทน โดยยื่นหนังสือมอบอำนาจซึ่งต้องมีคำรับรองลายมือชื่อของทูต กงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศที่ผู้มอบอำนาจมีถิ่นที่อยู่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือมีคำรับรองของบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้นมีอำนาจรับรองลายมือชื่อมาพร้อมกับคำขอ
ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรที่ถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง จะมอบอำนาจให้ตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไวักับอธิบดีเป็นผู้กระทำการแทนก็ได้ โดยยื่นหนังสือมอบอำนาจมาพร้อมกับคำขอ
ข้อ 4 ในการขอจดทะเบียนการโอนสิทธิบัตรให้ผู้รับโอนสิทธิบัตรยื่นคำขอตอบแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดและจัดพิมพ์ขึ้น พร้อมด้วยสัญญาโอนสิทธิบัตร ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือส่งคำขอพร้อมด้วยสัญญาดังกล่าวโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก็ได้
ในการขอจดทะเบียนการรับโอนสิทธิบัตรโดยทางมรดก ให้ทายาทของผู้ทรงสิทธิบัตรยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดและจัดพิมพ์ขึ้นพร้อมด้วยหลักฐานเกี่ยวกับการรับมรดกตามประกาศกรมทะเบียนการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือส่งคำขอพร้อมด้วยหลักฐานดังกล่าวโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก็ได้
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ถ้าผู้ยื่นคำขอมีความประสงค์จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน ให้นำความในข้อ 3 วรรคสอง หรือวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 5 ในการพิจารณาคำขอจดทะเบียนตามข้อ 3 หรือข้อ 4 ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าคำขอรายใดไม่ถูกต้องหรือหลักฐานไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขหรือส่งเอกสารหรือสิ่งใดเพิ่มเติม หรือจะเรียกผู้ยื่นคำขอหรือตัวแทน มาให้ถ้อยคำเพิ่มเติมก็ได้
ถ้าผู้ยื่นคำขอหรือตัวแทนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียนนั้นเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นอธิบดีอาจขยายกำหนดเวลาดังกล่าวให้ตามที่เห็นสมควร
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอจดทะเบียนและหลักฐานต่าง ๆ เห็นว่าถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 3 หรือ ข้อ 4 แล้วให้เสนอรายงานการตรวจสอบคำขอจดทะเบียนต่ออธิบดี
ข้อ 6 ในการขอจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ถ้าอธิบดีพิจารณาเห็นว่าคำขอจดทะเบียนและหลักฐานต่าง ๆ ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 3 และข้อความใดในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 39 หรือกฎหมายอื่น ให้มีคำสั่งรับจดทะเบียน แต่ถ้าอธิบดีพิจารณาเห็นว่าคำขอจดทะเบียนหรือหลักฐานต่าง ๆ ไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน
ในกรณีที่อธิบดีพิจารณาเห็นว่าข้อความใดในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 39 หรือกฎหมายอื่น ให้เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาตามมาตรา 41 วรรคสอง
ในการขอจดทะเบียนการโอนสิทธิบัตร หรือการรับโอนสิทธิบัตรโดยทางมรดก ถ้าอธิบดีพิจารณาเห็นว่าคำขอจดทะเบียนและหลักฐานต่าง ๆ ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 4 ให้มีคำสั่งรับจดทะเบียน แต่ถ้าอธิบดีพิจารณาเห็นว่าคำขอจดทะเบียนหรือหลักฐานต่าง ๆ ไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งคำสั่งของอธิบดีที่รับหรือไม่รับจดทะเบียนให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยไม่ชักช้า
ข้อ 7 บรรดาเอกสารที่จะต้องส่งตามกฎกระทรวงนี้ ถ้าจัดทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ผู้ยื่นคำขอส่งเอกสารนั้นพร้อมด้วยคำแปลเป็นภาษาไทย โดยมีคำรับรองของผู้แปลว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้อง
ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2529
ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
--ราชกิจจานุเบกษา--
————————————————————————————
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา 39 (1) บัญญัติให้ออกกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไข ข้อจำกัดสิทธิหรือค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหัตถกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรม ของประเทศอันกฎหมายห้ามมิให้ผู้ทรงสิทธิบัตรกำหนดในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตามสิทธิบัตร และมาตรา 41 วรรคหนึ่ง กับมาตรา 42 บัญญัติให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรและการโอนสิทธิบัตร รวมทั้งบัญญัติให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอจดทะเบียนการรับโอนสิทธิบัตรโดยทางมรดก โดยกฎกระทรวงโดยจะใช้บังคับกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามมาตรา 65 ด้วย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้