แท็ก
ครอบครัว
บรรพ 5
ครอบครัว
ลักษณะ 2
บิดามารดากับบุตร
หมวด 3
ความปกครอง
มาตรา 1585 บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้วนั้น จะจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ก็ได้
*ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่านตามมาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ศาลจะตั้งผู้ปกครองในส่วนที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองนั้นก็ได้ หรือในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินตามมาตรา 1582 วรรคสอง ศาลจะตั้งผู้ปกครองเพื่อจัดการทรัพย์สินก็ได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขในวรรค 2 โดยมาตรา 43 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1586 ผู้ปกครองตามมาตรา 1585 นั้น ให้ตั้งโดยคำสั่งศาลเมื่อมีการร้องขอของญาติของผู้เยาว์ อัยการ หรือผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทีหลังได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ปกครอง
ภายใต้บังคับมาตรา 1590 การตั้งผู้ปกครองนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม เว้นแต่พินัยกรรมนั้นไม่มีผลบังคับ หรือบุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนั้นเป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตามมาตรา 1587
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 44 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1587 บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วอาจถูกตั้งเป็นผู้ปกครองได้ เว้นแต่
(1) ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(2) ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
(3) ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่ปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
(4) ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์
*(5) ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง
*มาตรานี้ได้มีการแก้ไขใหม่ใน (5) โดยมาตรา 45 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1588 หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตามมาตรา 1587 อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครอง โดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองนั้นเสียและมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไปตามที่เห็นสมควร
การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต เว้นแต่ในกรณีการเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองที่ต้องห้ามตามมาตรา 1587 (1) หรือ (2) การกระทำของผู้ปกครองไม่ผูกพันผู้เยาว์ไม่ว่าบุคคลภายนอกจะได้กระทำการโดยสุจริตหรือไม่
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 46 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1589 ยกเลิก
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 48 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1590 ผู้ปกครองมีได้คราวหนึ่งเพียงคนเดียว แต่ในกรณีมีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ตั้งผู้ปกครองหลายคน หรือเมื่อมีผู้ร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควร ให้ศาลมีอำนาจตั้งผู้ปกครองได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นว่าจำเป็นในกรณีที่ตั้งผู้ปกครองหลายคน ศาลจะกำหนดให้ผู้ปกครองเหล่านั้นกระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่ง ๆ ก็ได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 48 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1591 ความเป็นผู้ปกครองนั้นเริ่มแต่วันทราบคำสั่งตั้งของศาล
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 48 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1592 ให้ผู้ปกครองรีบทำบัญชีทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองให้เสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันที่ทราบคำสั่งตั้งของศาล แต่ผู้ปกครองจะร้องต่อศาลก่อนสิ้นกำหนดขอให้ยืดเวลาก็ได้
บัญชีนั้นต้องมีพยานรับรองความถูกต้องอย่างน้อยสองคน พยานสองคนนั้นต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและเป็นญาติของผู้อยู่ในปกครอง แต่ถ้าหาญาติไม่ได้จะให้ผู้อื่นเป็นพยานก็ได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 48 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1593 ให้ผู้ปกครองยื่นสำเนาบัญชีทรัพย์สินที่ตนรับรองว่าถูกต้อง ต่อศาลฉบับหนึ่งภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้ทำบัญชีทรัพย์สินแล้ว และศาลจะสั่งให้ผู้ปกครองชี้แจงเพิ่มเติมหรือให้นำเอกสารมาประกอบ เพื่อแสดงให้เห็นว่าบัญชีนั้นถูกต้องแล้วก็ได้
*ถ้าศาลมิได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันยื่นบัญชี หรือวันชี้แจงเพิ่มเติม หรือวันนำเอกสารยื่นประกอบแล้วแต่กรณี ให้ถือว่าศาลยอมรับบัญชีนั้นแล้ว
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขในวรรค 2 โดยมาตรา 49 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1594 ถ้าผู้ปกครองไม่ปฏิบัติเกี่ยวแก่การทำบัญชีทรัพย์สิน หรือการยื่นบัญชีทรัพย์สินให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1592 หรือมาตรา 1593 หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลซึ่งสั่งตามมาตรา 1593 หรือศาลไม่พอใจในบัญชีทรัพย์สินเพราะทำขึ้นด้วยความเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือไม่สุจริต หรือเห็นได้ชัดว่าผู้ปกครองหย่อนความสามารถ ศาลจะสั่งถอนผู้ปกครองนั้นเสียก็ได้
มาตรา 1595 ก่อนที่ศาลยอมรับบัญชีนั้น ห้ามมิให้ผู้ปกครองทำกิจการใด เว้นแต่เป็นการเร่งร้อนและจำเป็น แต่จะยกข้อห้ามดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนไม่ได้
มาตรา 1596 ถ้ามีหนี้เป็นคุณแก่ผู้ปกครองแต่เป็นโทษต่อผู้อยู่ในปกครอง หรือเป็นคุณแก่ผู้อยู่ในปกครองแต่เป็นโทษต่อผู้ปกครอง ให้ผู้ปกครองแจ้งข้อความเหล่านั้นต่อศาลก่อนลงมือทำบัญชีทรัพย์สิน
ถ้าผู้ปกครองรู้ว่ามีหนี้เป็นคุณแก่ตนแต่เป็นโทษต่อผู้อยู่ในปกครอง และมิได้แจ้งข้อความนั้นต่อศาล หนี้ของผู้ปกครองนั้นย่อมสูญไป
ถ้าผู้ปกครองรู้ว่ามีหนี้เป็นโทษต่อตนแต่เป็นคุณแก่ผู้อยู่ในปกครอง และมิได้แจ้งข้อความนั้นต่อศาล ศาลจะสั่งถอนผู้ปกครองก็ได้
มาตรา 1597 เมื่อศาลเห็นสมควรโดยลำพัง หรือเมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรืออัยการร้องขอ ศาลอาจสั่งให้ผู้ปกครอง
(1) หาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น
(2) แถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง
มาตรา 1598 ในระหว่างปกครอง ถ้าผู้อยู่ในปกครองได้ทรัพย์สินอันมีค่ามาโดยทางมรดกหรือการให้โดยเสน่หา ให้นำมาตรา 1592 ถึงมาตรา 1597 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1598/1 ให้ผู้ปกครองทำบัญชีทรัพย์สินส่งต่อศาลปีละครั้งนับแต่วันเป็นผู้ปกครอง แต่เมื่อศาลได้รับบัญชีปีแรกแล้วจะสั่งให้ส่งบัญชีเช่นว่านั้นในระยะเวลาเกินหนึ่งปีก็ได้
มาตรา 1598/2 ผู้ปกครองมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ใช้อำนาจปกครองตามมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1567
มาตรา 1598/3 ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้อยู่ในปกครอง
ให้นำมาตรา 1570 มาตรา 1571 มาตรา 1572 มาตรา 1574 มาตรา 1575 มาตรา 1576 และมาตรา 1577 มาใช้บังคับแก่ผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครองโดยอนุโลม
มาตรา 1598/4 เงินได้ของผู้อยู่ในปกครองนั้น ผู้ปกครองย่อมใช้ได้ตามสมควรเพื่อการอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาของผู้อยู่ในปกครอง ถ้ามีเหลือให้ใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะในเรื่องต่อไปนี้
(1) ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรที่รัฐบาลไทยค้ำประกัน
(2) รับขายฝากหรือรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ในลำดับแรก แต่จำนวนเงินที่รับขายฝากหรือรับจำนอง ต้องไม่เกินกึ่งราคาตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้น
(3) ฝากประจำในธนาคารที่ได้ตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
(4) ลงทุนอย่างอื่นซึ่งศาลอนุญาตเป็นพิเศษ
มาตรา 1598/5 ถ้าผู้อยู่ในปกครองรู้จักผิดชอบและมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ เมื่อผู้ปกครองจะทำกิจการใดที่สำคัญ ให้ปรึกษาหารือผู้อยู่ในปกครองก่อนเท่าที่จะทำได้
การที่ผู้อยู่ในปกครองได้ยินยอมด้วยนั้นหาคุ้มผู้ปกครองให้พ้นจากความรับผิดไม่
มาตรา 1598/6 ความปกครองสิ้นสุดลงเมื่อผู้อยู่ในปกครองตายหรือบรรลุนิติภาวะ
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 50 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1598/7 ความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลงเมื่อผู้ปกครอง
(1) ตาย
(2) ลาออกโดยได้รับอนุญาตจากศาล
(3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) ถูกถอนโดยคำสั่งศาล
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 50 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1598/8 ให้ศาลสั่งถอนผู้ปกครองในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ปกครองละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่
(2) ผู้ปกครองประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในหน้าที่
(3) ผู้ปกครองใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
(4) ผู้ปกครองประพฤติมิชอบซึ่งไม่สมควรแก่หน้าที่
(5) ผู้ปกครองหย่อนความสามารถในหน้าที่จนน่าจะเป็นอันตรายแก่ประโยชน์ของผู้อยู่ในปกครอง
(6) มีกรณีดังบัญญัติไว้ในมาตรา 1587 (3) (4) หรือ (5)
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 50 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1598/9 การร้องขอให้ถอนผู้ปกครองตามมาตรา 1598/8 นั้น ผู้อยู่ในปกครองซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือญาติของผู้อยู่ในปกครองหรืออัยการจะเป็นผู้ร้องขอก็ได้
มาตรา 1598/10 ในระหว่างพิจารณาคำร้องขอให้ถอนผู้ปกครอง ศาลจะตั้งผู้จัดการชั่วคราวให้จัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองแทนผู้ปกครองก็ได้
มาตรา 1598/11 ถ้าความปกครองหรือความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลง ให้ผู้ปกครองหรือทายาทรีบส่งมอบทรัพย์สินที่จัดการแก่ผู้อยู่ในปกครอง หรือทายาท หรือผู้ปกครองคนใหม่ และให้ทำบัญชีในการจัดการทรัพย์สินส่งมอบภายในเวลาหกเดือนและถ้ามีเอกสารเกี่ยวกับเรื่องจัดการทรัพย์สินนั้น ก็ให้ส่งมอบพร้อมกับบัญชี แต่เมื่อผู้ปกครองหรือทายาทร้องขอ ศาลจะสั่งให้ยืดเวลาก็ได้
ให้นำมาตรา 1580 และมาตรา 1581 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1598/12 นับแต่วันส่งมอบบัญชี ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินซึ่งผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองจะต้องคืนให้แก่กัน
ถ้าผู้ปกครองใช้เงินของผู้อยู่ในปกครองนอกจากเพื่อประโยชน์ของผู้อยู่ในปกครองแล้ว ให้เสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีในจำนวนเงินนั้นตั้งแต่วันใช้ เป็นต้นไป
มาตรา 1598/13 ผู้อยู่ในปกครองมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ปกครองเพื่อชำระหนี้ซึ่งค้างอยู่แก่ตน
บุริมสิทธินี้ให้อยู่ในลำดับที่หกถัดจากบุริมสิทธิสามัญอย่างอื่นตามมาตรา 253 แห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 1598/14 ผู้ปกครองไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) มีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จเท่าที่กำหนดในพินัยกรรม
(2) ในกรณีที่พินัยกรรมไม่ได้กำหนดบำเหน็จไว้ แต่ไม่มีข้อกำหนดห้ามผู้ปกครองรับบำเหน็จ ผู้ปกครองจะร้องขอต่อศาลให้กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้ ศาลจะกำหนดให้หรือไม่เพียงใดก็ได้
(3) ในกรณีที่ไม่มีคำสั่งตั้งผู้ปกครองไว้ในพินัยกรรม และไม่มีข้อกำหนดห้ามผู้ปกครองรับบำเหน็จ ศาลจะกำหนดบำเหน็จให้แก่ผู้ปกครองในคำสั่งตั้งผู้ปกครองก็ได้ หรือถ้าศาลมิได้กำหนด ผู้ปกครองจะร้องขอต่อศาลให้กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้ ศาลจะกำหนดให้หรือไม่เพียงใดก็ได้
ในการพิจารณากำหนดบำเหน็จ ให้ศาลพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์รายได้และฐานะความเป็นอยู่ของผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครอง
ถ้าผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองแสดงได้ว่า พฤติการณ์รายได้หรือฐานะความเป็นอยู่ของผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปภายหลังที่ได้เข้ารับหน้าที่ผู้ปกครอง ศาลจะสั่งให้บำเหน็จ งด ลด เพิ่ม หรือกลับให้บำเหน็จแก่ผู้ปกครองอีกก็ได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่มีข้อกำหนดห้ามไว้ในพินัยกรรมมิให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จด้วย
มาตรา 1598/15 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและภริยาหรือสามีเป็นผู้อนุบาล ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3)
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 51 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1598/16 คู่สมรสซึ่งเป็นผู้อนุบาลของคู่สมรสที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถมีอำนาจจัดการสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งและมี อำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว แต่การจัดการสินส่วนตัวและสินสมรสตามกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง คู่สมรสนั้นจะจัดการไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 51 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1598/17 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและศาลเห็นไม่สมควรให้คู่สมรสเป็นผู้อนุบาล และตั้งบิดาหรือมารดา หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาล ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้อนุบาลเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันกับคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่ถ้ามีเหตุสำคัญอันจะเกิดความเสียหายแก่คนไร้ความสามารถศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่นก็ได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกรณีดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งแยกสินสมรสได้
มาตรา 1598/18 ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้อนุบาลบุตรถ้าบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าบุตรนั้นบรรลุนิติภาวะแล้ว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3)
ในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาลให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าผู้อยู่ในความอนุบาลบรรลุนิติภาวะแล้ว จะใช้สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3) ไม่ได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 52 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
--ราชกิจจานุเบกษา--
ครอบครัว
ลักษณะ 2
บิดามารดากับบุตร
หมวด 3
ความปกครอง
มาตรา 1585 บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้วนั้น จะจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ก็ได้
*ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่านตามมาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ศาลจะตั้งผู้ปกครองในส่วนที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองนั้นก็ได้ หรือในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินตามมาตรา 1582 วรรคสอง ศาลจะตั้งผู้ปกครองเพื่อจัดการทรัพย์สินก็ได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขในวรรค 2 โดยมาตรา 43 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1586 ผู้ปกครองตามมาตรา 1585 นั้น ให้ตั้งโดยคำสั่งศาลเมื่อมีการร้องขอของญาติของผู้เยาว์ อัยการ หรือผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทีหลังได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ปกครอง
ภายใต้บังคับมาตรา 1590 การตั้งผู้ปกครองนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม เว้นแต่พินัยกรรมนั้นไม่มีผลบังคับ หรือบุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนั้นเป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตามมาตรา 1587
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 44 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1587 บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วอาจถูกตั้งเป็นผู้ปกครองได้ เว้นแต่
(1) ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(2) ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
(3) ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่ปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
(4) ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์
*(5) ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง
*มาตรานี้ได้มีการแก้ไขใหม่ใน (5) โดยมาตรา 45 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1588 หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตามมาตรา 1587 อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครอง โดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองนั้นเสียและมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไปตามที่เห็นสมควร
การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต เว้นแต่ในกรณีการเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองที่ต้องห้ามตามมาตรา 1587 (1) หรือ (2) การกระทำของผู้ปกครองไม่ผูกพันผู้เยาว์ไม่ว่าบุคคลภายนอกจะได้กระทำการโดยสุจริตหรือไม่
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 46 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1589 ยกเลิก
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 48 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1590 ผู้ปกครองมีได้คราวหนึ่งเพียงคนเดียว แต่ในกรณีมีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ตั้งผู้ปกครองหลายคน หรือเมื่อมีผู้ร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควร ให้ศาลมีอำนาจตั้งผู้ปกครองได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นว่าจำเป็นในกรณีที่ตั้งผู้ปกครองหลายคน ศาลจะกำหนดให้ผู้ปกครองเหล่านั้นกระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่ง ๆ ก็ได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 48 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1591 ความเป็นผู้ปกครองนั้นเริ่มแต่วันทราบคำสั่งตั้งของศาล
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 48 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1592 ให้ผู้ปกครองรีบทำบัญชีทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองให้เสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันที่ทราบคำสั่งตั้งของศาล แต่ผู้ปกครองจะร้องต่อศาลก่อนสิ้นกำหนดขอให้ยืดเวลาก็ได้
บัญชีนั้นต้องมีพยานรับรองความถูกต้องอย่างน้อยสองคน พยานสองคนนั้นต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและเป็นญาติของผู้อยู่ในปกครอง แต่ถ้าหาญาติไม่ได้จะให้ผู้อื่นเป็นพยานก็ได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 48 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1593 ให้ผู้ปกครองยื่นสำเนาบัญชีทรัพย์สินที่ตนรับรองว่าถูกต้อง ต่อศาลฉบับหนึ่งภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้ทำบัญชีทรัพย์สินแล้ว และศาลจะสั่งให้ผู้ปกครองชี้แจงเพิ่มเติมหรือให้นำเอกสารมาประกอบ เพื่อแสดงให้เห็นว่าบัญชีนั้นถูกต้องแล้วก็ได้
*ถ้าศาลมิได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันยื่นบัญชี หรือวันชี้แจงเพิ่มเติม หรือวันนำเอกสารยื่นประกอบแล้วแต่กรณี ให้ถือว่าศาลยอมรับบัญชีนั้นแล้ว
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขในวรรค 2 โดยมาตรา 49 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1594 ถ้าผู้ปกครองไม่ปฏิบัติเกี่ยวแก่การทำบัญชีทรัพย์สิน หรือการยื่นบัญชีทรัพย์สินให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1592 หรือมาตรา 1593 หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลซึ่งสั่งตามมาตรา 1593 หรือศาลไม่พอใจในบัญชีทรัพย์สินเพราะทำขึ้นด้วยความเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือไม่สุจริต หรือเห็นได้ชัดว่าผู้ปกครองหย่อนความสามารถ ศาลจะสั่งถอนผู้ปกครองนั้นเสียก็ได้
มาตรา 1595 ก่อนที่ศาลยอมรับบัญชีนั้น ห้ามมิให้ผู้ปกครองทำกิจการใด เว้นแต่เป็นการเร่งร้อนและจำเป็น แต่จะยกข้อห้ามดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนไม่ได้
มาตรา 1596 ถ้ามีหนี้เป็นคุณแก่ผู้ปกครองแต่เป็นโทษต่อผู้อยู่ในปกครอง หรือเป็นคุณแก่ผู้อยู่ในปกครองแต่เป็นโทษต่อผู้ปกครอง ให้ผู้ปกครองแจ้งข้อความเหล่านั้นต่อศาลก่อนลงมือทำบัญชีทรัพย์สิน
ถ้าผู้ปกครองรู้ว่ามีหนี้เป็นคุณแก่ตนแต่เป็นโทษต่อผู้อยู่ในปกครอง และมิได้แจ้งข้อความนั้นต่อศาล หนี้ของผู้ปกครองนั้นย่อมสูญไป
ถ้าผู้ปกครองรู้ว่ามีหนี้เป็นโทษต่อตนแต่เป็นคุณแก่ผู้อยู่ในปกครอง และมิได้แจ้งข้อความนั้นต่อศาล ศาลจะสั่งถอนผู้ปกครองก็ได้
มาตรา 1597 เมื่อศาลเห็นสมควรโดยลำพัง หรือเมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรืออัยการร้องขอ ศาลอาจสั่งให้ผู้ปกครอง
(1) หาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น
(2) แถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง
มาตรา 1598 ในระหว่างปกครอง ถ้าผู้อยู่ในปกครองได้ทรัพย์สินอันมีค่ามาโดยทางมรดกหรือการให้โดยเสน่หา ให้นำมาตรา 1592 ถึงมาตรา 1597 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1598/1 ให้ผู้ปกครองทำบัญชีทรัพย์สินส่งต่อศาลปีละครั้งนับแต่วันเป็นผู้ปกครอง แต่เมื่อศาลได้รับบัญชีปีแรกแล้วจะสั่งให้ส่งบัญชีเช่นว่านั้นในระยะเวลาเกินหนึ่งปีก็ได้
มาตรา 1598/2 ผู้ปกครองมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ใช้อำนาจปกครองตามมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1567
มาตรา 1598/3 ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้อยู่ในปกครอง
ให้นำมาตรา 1570 มาตรา 1571 มาตรา 1572 มาตรา 1574 มาตรา 1575 มาตรา 1576 และมาตรา 1577 มาใช้บังคับแก่ผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครองโดยอนุโลม
มาตรา 1598/4 เงินได้ของผู้อยู่ในปกครองนั้น ผู้ปกครองย่อมใช้ได้ตามสมควรเพื่อการอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาของผู้อยู่ในปกครอง ถ้ามีเหลือให้ใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะในเรื่องต่อไปนี้
(1) ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรที่รัฐบาลไทยค้ำประกัน
(2) รับขายฝากหรือรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ในลำดับแรก แต่จำนวนเงินที่รับขายฝากหรือรับจำนอง ต้องไม่เกินกึ่งราคาตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้น
(3) ฝากประจำในธนาคารที่ได้ตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
(4) ลงทุนอย่างอื่นซึ่งศาลอนุญาตเป็นพิเศษ
มาตรา 1598/5 ถ้าผู้อยู่ในปกครองรู้จักผิดชอบและมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ เมื่อผู้ปกครองจะทำกิจการใดที่สำคัญ ให้ปรึกษาหารือผู้อยู่ในปกครองก่อนเท่าที่จะทำได้
การที่ผู้อยู่ในปกครองได้ยินยอมด้วยนั้นหาคุ้มผู้ปกครองให้พ้นจากความรับผิดไม่
มาตรา 1598/6 ความปกครองสิ้นสุดลงเมื่อผู้อยู่ในปกครองตายหรือบรรลุนิติภาวะ
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 50 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1598/7 ความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลงเมื่อผู้ปกครอง
(1) ตาย
(2) ลาออกโดยได้รับอนุญาตจากศาล
(3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) ถูกถอนโดยคำสั่งศาล
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 50 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1598/8 ให้ศาลสั่งถอนผู้ปกครองในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ปกครองละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่
(2) ผู้ปกครองประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในหน้าที่
(3) ผู้ปกครองใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
(4) ผู้ปกครองประพฤติมิชอบซึ่งไม่สมควรแก่หน้าที่
(5) ผู้ปกครองหย่อนความสามารถในหน้าที่จนน่าจะเป็นอันตรายแก่ประโยชน์ของผู้อยู่ในปกครอง
(6) มีกรณีดังบัญญัติไว้ในมาตรา 1587 (3) (4) หรือ (5)
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 50 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1598/9 การร้องขอให้ถอนผู้ปกครองตามมาตรา 1598/8 นั้น ผู้อยู่ในปกครองซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือญาติของผู้อยู่ในปกครองหรืออัยการจะเป็นผู้ร้องขอก็ได้
มาตรา 1598/10 ในระหว่างพิจารณาคำร้องขอให้ถอนผู้ปกครอง ศาลจะตั้งผู้จัดการชั่วคราวให้จัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองแทนผู้ปกครองก็ได้
มาตรา 1598/11 ถ้าความปกครองหรือความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลง ให้ผู้ปกครองหรือทายาทรีบส่งมอบทรัพย์สินที่จัดการแก่ผู้อยู่ในปกครอง หรือทายาท หรือผู้ปกครองคนใหม่ และให้ทำบัญชีในการจัดการทรัพย์สินส่งมอบภายในเวลาหกเดือนและถ้ามีเอกสารเกี่ยวกับเรื่องจัดการทรัพย์สินนั้น ก็ให้ส่งมอบพร้อมกับบัญชี แต่เมื่อผู้ปกครองหรือทายาทร้องขอ ศาลจะสั่งให้ยืดเวลาก็ได้
ให้นำมาตรา 1580 และมาตรา 1581 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1598/12 นับแต่วันส่งมอบบัญชี ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินซึ่งผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองจะต้องคืนให้แก่กัน
ถ้าผู้ปกครองใช้เงินของผู้อยู่ในปกครองนอกจากเพื่อประโยชน์ของผู้อยู่ในปกครองแล้ว ให้เสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีในจำนวนเงินนั้นตั้งแต่วันใช้ เป็นต้นไป
มาตรา 1598/13 ผู้อยู่ในปกครองมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ปกครองเพื่อชำระหนี้ซึ่งค้างอยู่แก่ตน
บุริมสิทธินี้ให้อยู่ในลำดับที่หกถัดจากบุริมสิทธิสามัญอย่างอื่นตามมาตรา 253 แห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 1598/14 ผู้ปกครองไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) มีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จเท่าที่กำหนดในพินัยกรรม
(2) ในกรณีที่พินัยกรรมไม่ได้กำหนดบำเหน็จไว้ แต่ไม่มีข้อกำหนดห้ามผู้ปกครองรับบำเหน็จ ผู้ปกครองจะร้องขอต่อศาลให้กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้ ศาลจะกำหนดให้หรือไม่เพียงใดก็ได้
(3) ในกรณีที่ไม่มีคำสั่งตั้งผู้ปกครองไว้ในพินัยกรรม และไม่มีข้อกำหนดห้ามผู้ปกครองรับบำเหน็จ ศาลจะกำหนดบำเหน็จให้แก่ผู้ปกครองในคำสั่งตั้งผู้ปกครองก็ได้ หรือถ้าศาลมิได้กำหนด ผู้ปกครองจะร้องขอต่อศาลให้กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้ ศาลจะกำหนดให้หรือไม่เพียงใดก็ได้
ในการพิจารณากำหนดบำเหน็จ ให้ศาลพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์รายได้และฐานะความเป็นอยู่ของผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครอง
ถ้าผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองแสดงได้ว่า พฤติการณ์รายได้หรือฐานะความเป็นอยู่ของผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปภายหลังที่ได้เข้ารับหน้าที่ผู้ปกครอง ศาลจะสั่งให้บำเหน็จ งด ลด เพิ่ม หรือกลับให้บำเหน็จแก่ผู้ปกครองอีกก็ได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่มีข้อกำหนดห้ามไว้ในพินัยกรรมมิให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จด้วย
มาตรา 1598/15 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและภริยาหรือสามีเป็นผู้อนุบาล ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3)
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 51 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1598/16 คู่สมรสซึ่งเป็นผู้อนุบาลของคู่สมรสที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถมีอำนาจจัดการสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งและมี อำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว แต่การจัดการสินส่วนตัวและสินสมรสตามกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง คู่สมรสนั้นจะจัดการไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 51 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1598/17 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและศาลเห็นไม่สมควรให้คู่สมรสเป็นผู้อนุบาล และตั้งบิดาหรือมารดา หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาล ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้อนุบาลเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันกับคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่ถ้ามีเหตุสำคัญอันจะเกิดความเสียหายแก่คนไร้ความสามารถศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่นก็ได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกรณีดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งแยกสินสมรสได้
มาตรา 1598/18 ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้อนุบาลบุตรถ้าบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าบุตรนั้นบรรลุนิติภาวะแล้ว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3)
ในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาลให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าผู้อยู่ในความอนุบาลบรรลุนิติภาวะแล้ว จะใช้สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3) ไม่ได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 52 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
--ราชกิจจานุเบกษา--