แท็ก
ครอบครัว
บรรพ 5
ครอบครัว
ลักษณะ 1
การสมรส
หมวด 4
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
มาตรา 1465 ถ้าสามีภริยามิได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติในหมวดนี้
ถ้าข้อความใดในสัญญาก่อนสมรสขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือระบุให้ใช้กฎหมายประเทศอื่นบังคับเรื่องทรัพย์สินนั้น ข้อความนั้น ๆ เป็นโมฆะ
มาตรา 1466 สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็นสัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือมิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคนแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้
มาตรา 1467 เมื่อสมรสแล้วจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล
เมื่อได้มีคำสั่งของศาลถึงที่สุดให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสแล้วให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนสมรสเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส
มาตรา 1468 ข้อความในสัญญาก่อนสมรสไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ว่าจะได้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนโดยคำสั่งของศาลหรือไม่ก็ตาม
มาตรา 1469 สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระบทกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต
มาตรา 1470 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส
มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น
มาตรา 1472 สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
มาตรา 1473 สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ
มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส
มาตรา 1475 ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ในมาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้
มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1476/1 สามีและภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1476 ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ตามที่บัญญัติในมาตรา 1465 และมาตรา 1466 ในกรณีดังกล่าวนี้การจัดการสินสมรสให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส
ในกรณีที่สัญญาก่อนสมรสระบุการจัดการสินสมรสไว้แต่เพียงบางส่วนของมาตรา 1476 การจัดการสินสมรสนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสให้เป็นไปตามมาตรา 1476
**มาตรานี้ได้มีการเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่โดยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจาฯ (ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับจากวันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1477 สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรส หรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส หนี้อันเกิดแต่การฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1478 เมื่อฝ่ายใดต้องให้ความยินยอมหรือลงชื่อกับอีกฝ่ายหนึ่งในเรื่องจัดการทรัพย์สินแต่ไม่ให้ความยินยอมหรือไม่ยอมลงชื่อ โดยปราศจากเหตุผล หรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอมได้ อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตแทนได้
มาตรา 1479 การใดที่สามีหรือภริยากระทำ ซึ่งต้องรับความยินยอมร่วมกัน และถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ
มาตรา 1480 การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรส อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1481 สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้
มาตรา 1482 ในกรณีที่สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก็ยังมีอำนาจจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวตามสมควรแก่อัตภาพได้ ค่าใช้จ่ายในการนี้ย่อมผูกพันสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย
ถ้าสามีหรือภริยาจัดการบ้านเรือนหรือจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวเป็นที่เสียหายถึงขนาด อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งห้ามหรือจำกัดอำนาจนี้เสียได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1483 ในกรณีที่สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว ถ้าสามีหรือภริยาจะกระทำหรือกำลังกระทำการอย่างไรอย่างหนึ่งในการจัดการสินสมรส อันพึงเห็นได้ว่าจะเกิดความเสียหายถึงขนาด อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้กระทำการนั้นได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1484 ถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายซึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรส
(1) จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด
(2) ไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง
(3) มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือทำหนี้เกินกึ่งหนึ่งของสินสมรส
(4) ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(5) มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส
อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว หรือสั่งให้แยกสินสมรสได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีคำขอ ศาลอาจกำหนดวิธีคุ้มครองชั่วคราวเพื่อจัดการสินสมรสได้ตามที่เห็นสมควร และหากเป็นกรณีฉุกเฉินให้นำบทบัญญัติเรื่องคำขอในเหตุฉุกเฉินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 14 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1484/1 ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งห้ามหรือจำกัดอำนาจในการจัดการสินสมรสของสามีหรือภริยาตามมาตรา 1482 มาตรา 1483 หรือมาตรา 1484 ถ้าต่อมาเหตุแห่งการนั้นหรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป สามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ห้ามหรือจำกัดอำนาจจัดการสินสมรสนั้นได้ ในการนี้ศาลจะมีคำสั่งใดๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
**มาตรานี้ได้มีการเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่โดยมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจาฯ (ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับจากวันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1485 สามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเข้าร่วมจัดการในการนั้นได้ ถ้าการที่จะทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า
มาตรา 1486 เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดตามความในมาตรา 1482 วรรคสอง มาตรา 1483 มาตรา 1484 มาตรา 1484/1 หรือมาตรา 1485 อันเป็นคุณแก่ผู้ร้องขอ หรือตามมาตรา 1491 มาตรา 1492/1 หรือมาตรา 1598/17 หรือเมื่อสามีหรือภริยาพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1487 ในระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน ฝ่ายใดจะยึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ เว้นแต่เป็นการยึดหรืออายัดทรัพย์สินในคดีที่ฟ้องร้องเพื่อการปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาสิทธิระหว่างสามีภริยาตามที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลกฎหมายนี้ หรือที่ประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้โดย เฉพาะให้สามีภริยาฟ้องร้องกันเองได้ หรือเป็นการยึดหรืออายัดทรัพย์สินสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าฤชาธรรมเนียมที่ยังมิได้ชำระตามคำพิพากษาของศาล
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 16 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1488 ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรส ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น
มาตรา 1489 ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย
มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
*(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1491 ถ้าสามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย สินสมรสย่อมแยกจากกันโดยอำนาจกฎหมายนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายนั้น
มาตรา 1492 เมื่อได้แยกสินสมรสตามมาตรา 1484 วรรคสอง มาตรา 1491 หรือมาตรา 1598/17 วรรคสองแล้ว ให้ส่วนที่แยกออกตก เป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยา และบรรดาทรัพย์สินที่ฝ่ายใดได้มาในภายหลังไม่ให้ถือเป็นสินสมรส แต่ให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น และสินสมรสที่คู่สมรสได้มาโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือตามมาตรา 1474(2) ในภายหลังให้ตกเป็นสินส่วนตัวของสามีและภริยาฝ่ายละครึ่ง
ดอกผลของสินส่วนตัวที่ได้มาหลังจากที่ได้แยกสินสมรสแล้วให้เป็นสินส่วนตัว
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 18 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1492/1 ในกรณีที่มีการแยกสินสมรสโดยคำสั่งศาลการยกเลิกการแยกสินสมรสให้กระทำได้เมื่อสามีหรือภริยาร้องขอต่อศาลและศาลได้มีคำสั่งให้ยกเลิก แต่ถ้าภริยาหรือสามีคัดค้านศาลจะสั่งยกเลิกการแยกสินสมรสได้ ต่อเมื่อเหตุแห่งการแยกสินสมรสได้สิ้นสุดลงแล้ว
เมื่อมีการยกเลิกการแยกสินสมรสตามวรรคหนึ่ง หรือการแยกสินสมรสสิ้นสุดลงเพราะสามีหรือภริยาพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายให้ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวอยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่ง หรือในวันที่พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายยังคงเป็นสินส่วนตัวต่อไปตามเดิม
**มาตรานี้ได้มีการเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่โดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจาฯ (ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับจากวันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1493 ในกรณีที่ไม่มีสินสมรสแล้ว สามีและภริยาต้องช่วยกันออกค่าใช้สอยสำหรับการบ้านเรือนตามส่วนมากและน้อยแห่งสินส่วนตัวของตน
--ราชกิจจานุเบกษา--
ครอบครัว
ลักษณะ 1
การสมรส
หมวด 4
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
มาตรา 1465 ถ้าสามีภริยามิได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติในหมวดนี้
ถ้าข้อความใดในสัญญาก่อนสมรสขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือระบุให้ใช้กฎหมายประเทศอื่นบังคับเรื่องทรัพย์สินนั้น ข้อความนั้น ๆ เป็นโมฆะ
มาตรา 1466 สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็นสัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือมิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคนแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้
มาตรา 1467 เมื่อสมรสแล้วจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล
เมื่อได้มีคำสั่งของศาลถึงที่สุดให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสแล้วให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนสมรสเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส
มาตรา 1468 ข้อความในสัญญาก่อนสมรสไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ว่าจะได้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนโดยคำสั่งของศาลหรือไม่ก็ตาม
มาตรา 1469 สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระบทกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต
มาตรา 1470 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส
มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น
มาตรา 1472 สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
มาตรา 1473 สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ
มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส
มาตรา 1475 ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ในมาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้
มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1476/1 สามีและภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1476 ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ตามที่บัญญัติในมาตรา 1465 และมาตรา 1466 ในกรณีดังกล่าวนี้การจัดการสินสมรสให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส
ในกรณีที่สัญญาก่อนสมรสระบุการจัดการสินสมรสไว้แต่เพียงบางส่วนของมาตรา 1476 การจัดการสินสมรสนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสให้เป็นไปตามมาตรา 1476
**มาตรานี้ได้มีการเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่โดยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจาฯ (ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับจากวันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1477 สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรส หรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส หนี้อันเกิดแต่การฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1478 เมื่อฝ่ายใดต้องให้ความยินยอมหรือลงชื่อกับอีกฝ่ายหนึ่งในเรื่องจัดการทรัพย์สินแต่ไม่ให้ความยินยอมหรือไม่ยอมลงชื่อ โดยปราศจากเหตุผล หรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอมได้ อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตแทนได้
มาตรา 1479 การใดที่สามีหรือภริยากระทำ ซึ่งต้องรับความยินยอมร่วมกัน และถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ
มาตรา 1480 การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรส อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1481 สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้
มาตรา 1482 ในกรณีที่สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก็ยังมีอำนาจจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวตามสมควรแก่อัตภาพได้ ค่าใช้จ่ายในการนี้ย่อมผูกพันสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย
ถ้าสามีหรือภริยาจัดการบ้านเรือนหรือจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวเป็นที่เสียหายถึงขนาด อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งห้ามหรือจำกัดอำนาจนี้เสียได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1483 ในกรณีที่สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว ถ้าสามีหรือภริยาจะกระทำหรือกำลังกระทำการอย่างไรอย่างหนึ่งในการจัดการสินสมรส อันพึงเห็นได้ว่าจะเกิดความเสียหายถึงขนาด อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้กระทำการนั้นได้
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1484 ถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายซึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรส
(1) จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด
(2) ไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง
(3) มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือทำหนี้เกินกึ่งหนึ่งของสินสมรส
(4) ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(5) มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส
อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว หรือสั่งให้แยกสินสมรสได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีคำขอ ศาลอาจกำหนดวิธีคุ้มครองชั่วคราวเพื่อจัดการสินสมรสได้ตามที่เห็นสมควร และหากเป็นกรณีฉุกเฉินให้นำบทบัญญัติเรื่องคำขอในเหตุฉุกเฉินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 14 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1484/1 ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งห้ามหรือจำกัดอำนาจในการจัดการสินสมรสของสามีหรือภริยาตามมาตรา 1482 มาตรา 1483 หรือมาตรา 1484 ถ้าต่อมาเหตุแห่งการนั้นหรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป สามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ห้ามหรือจำกัดอำนาจจัดการสินสมรสนั้นได้ ในการนี้ศาลจะมีคำสั่งใดๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
**มาตรานี้ได้มีการเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่โดยมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจาฯ (ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับจากวันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1485 สามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเข้าร่วมจัดการในการนั้นได้ ถ้าการที่จะทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า
มาตรา 1486 เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดตามความในมาตรา 1482 วรรคสอง มาตรา 1483 มาตรา 1484 มาตรา 1484/1 หรือมาตรา 1485 อันเป็นคุณแก่ผู้ร้องขอ หรือตามมาตรา 1491 มาตรา 1492/1 หรือมาตรา 1598/17 หรือเมื่อสามีหรือภริยาพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1487 ในระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน ฝ่ายใดจะยึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ เว้นแต่เป็นการยึดหรืออายัดทรัพย์สินในคดีที่ฟ้องร้องเพื่อการปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาสิทธิระหว่างสามีภริยาตามที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลกฎหมายนี้ หรือที่ประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้โดย เฉพาะให้สามีภริยาฟ้องร้องกันเองได้ หรือเป็นการยึดหรืออายัดทรัพย์สินสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าฤชาธรรมเนียมที่ยังมิได้ชำระตามคำพิพากษาของศาล
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 16 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1488 ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรส ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น
มาตรา 1489 ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย
มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
*(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1491 ถ้าสามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย สินสมรสย่อมแยกจากกันโดยอำนาจกฎหมายนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายนั้น
มาตรา 1492 เมื่อได้แยกสินสมรสตามมาตรา 1484 วรรคสอง มาตรา 1491 หรือมาตรา 1598/17 วรรคสองแล้ว ให้ส่วนที่แยกออกตก เป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยา และบรรดาทรัพย์สินที่ฝ่ายใดได้มาในภายหลังไม่ให้ถือเป็นสินสมรส แต่ให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น และสินสมรสที่คู่สมรสได้มาโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือตามมาตรา 1474(2) ในภายหลังให้ตกเป็นสินส่วนตัวของสามีและภริยาฝ่ายละครึ่ง
ดอกผลของสินส่วนตัวที่ได้มาหลังจากที่ได้แยกสินสมรสแล้วให้เป็นสินส่วนตัว
**มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยมาตรา 18 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่ม 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1492/1 ในกรณีที่มีการแยกสินสมรสโดยคำสั่งศาลการยกเลิกการแยกสินสมรสให้กระทำได้เมื่อสามีหรือภริยาร้องขอต่อศาลและศาลได้มีคำสั่งให้ยกเลิก แต่ถ้าภริยาหรือสามีคัดค้านศาลจะสั่งยกเลิกการแยกสินสมรสได้ ต่อเมื่อเหตุแห่งการแยกสินสมรสได้สิ้นสุดลงแล้ว
เมื่อมีการยกเลิกการแยกสินสมรสตามวรรคหนึ่ง หรือการแยกสินสมรสสิ้นสุดลงเพราะสามีหรือภริยาพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายให้ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวอยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่ง หรือในวันที่พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายยังคงเป็นสินส่วนตัวต่อไปตามเดิม
**มาตรานี้ได้มีการเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่โดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 โดยประกาศในราชกิจจาฯ (ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 107 ตอนที่ 187 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับจากวันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา**
มาตรา 1493 ในกรณีที่ไม่มีสินสมรสแล้ว สามีและภริยาต้องช่วยกันออกค่าใช้สอยสำหรับการบ้านเรือนตามส่วนมากและน้อยแห่งสินส่วนตัวของตน
--ราชกิจจานุเบกษา--