พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๒๕)
พ.ศ.๒๕๔๑
__________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๑
เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๔๙๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๒๕) พ.ศ. ๒๕๔๑"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน และบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
"ลูกหนี้" หมายความว่า ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ด้วย
มาตรา ๔ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ และส่วน ๓ หมาวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ลูกหนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินนั้นได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒
ในกรณีที่สถาบันการเงินได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปก่อนวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง หากได้ดำเนินการในลักษณะเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย
มาตรา ๕ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ และส่วน ๓ หมวด ๓ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด ๔ ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด ๕ และอากรแสตมป์ตามหมวด ๖ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ลูกหนี้และสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และสำหรับการกระทำตราสาร อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒
ในกรณีที่สถาบันการเงินได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปก่อนวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง หากได้ดำเนินการในลักษณะเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
______________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจอันส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของภาคเอกชน โดยเฉพาะการชำระหนี้ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินต่างๆ ทำให้สถาบันการเงินต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน และหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของสถาบันการเงิน เพื่อให้เป็นแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหาของสถาบันการเงิน และเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่มีแนวโน้มว่าสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่เนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวมีกิจกรรมบางอย่างที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน สมควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการที่สถาบันการเงินได้ปลดหนี้ให้ และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการและการกระทำตราสาร อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ หรือในลักษณะเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๕๘ ก--
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๒๕)
พ.ศ.๒๕๔๑
__________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๑
เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๔๙๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๒๕) พ.ศ. ๒๕๔๑"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน และบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
"ลูกหนี้" หมายความว่า ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ด้วย
มาตรา ๔ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ และส่วน ๓ หมาวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ลูกหนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินนั้นได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒
ในกรณีที่สถาบันการเงินได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปก่อนวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง หากได้ดำเนินการในลักษณะเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย
มาตรา ๕ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ และส่วน ๓ หมวด ๓ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด ๔ ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด ๕ และอากรแสตมป์ตามหมวด ๖ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ลูกหนี้และสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และสำหรับการกระทำตราสาร อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒
ในกรณีที่สถาบันการเงินได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปก่อนวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง หากได้ดำเนินการในลักษณะเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
______________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจอันส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของภาคเอกชน โดยเฉพาะการชำระหนี้ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินต่างๆ ทำให้สถาบันการเงินต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน และหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของสถาบันการเงิน เพื่อให้เป็นแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหาของสถาบันการเงิน และเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่มีแนวโน้มว่าสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่เนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวมีกิจกรรมบางอย่างที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน สมควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการที่สถาบันการเงินได้ปลดหนี้ให้ และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการและการกระทำตราสาร อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ หรือในลักษณะเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๕๘ ก--