กฎกระทรวง
ฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534)
ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี
----------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า หรือได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคาสินค้า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ
ข้อ 2 การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิในสิทธิบัตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า เว้นแต่กรณีได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาสินค้า ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย
(1) โอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือ
(2) ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี
ข้อ 3 การขายสินค้าหรือการให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติโดยชำระราคาด้วยวิธีการหยอดเงิน เหรียญ บัตร หรือด้วยวิธีการในลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อได้นำเงิน เหรียญ บัตร หรือสิ่งอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันออกจากเครื่องอัตโนมัติ
ข้อ 4 การขายสินค้าโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย
(1) โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
(2) เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต หรือ
(3) ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี
ข้อ 5 การให้บริการโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิต หรือในลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต เว้นแต่กรณีที่ได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการออกใบกำกับภาษีนั้น
ข้อ 6 การขายสินค้าตามสัญญาจะขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย
(1) โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
(2) ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
(3) ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี
ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้ประกอบการนำสินค้าไปใช้โดยตนเองหรือบุคคลอื่น โดยมิใช่เพื่อการประกอบกิจการโดยตรงตามมาตรา 77/1 (8) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อนำไปใช้ หรือส่งมอบสินค้าให้บุคคลอื่นเพื่อใช้
ข้อ 8 ในกรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) และมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจพบ
ข้อ 9 ในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ต่อไปเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะหยุดประกอบกิจการตามมาตรา 86/11 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดเป็นไปตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 10 ในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ
(1) ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/10 แห่งประมวลรัษฎากร หรือ
(2) ณ วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/17 แห่งประมวลรัษฎากร
ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ต่อไปเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะหยุดประกอบกิจการตามมาตรา 86/11 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดเป็นไปตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 11 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
สุธี สิงห์เสน่ห์
(นายสุธี สิงห์เสน่ห์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการตามมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพธุรกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
(ร.จ. เล่ม 108 ตอนที่ 235 วันที่ 27 ธันวาคม 2534)
--กรมสรรพากร--
ฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534)
ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี
----------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า หรือได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคาสินค้า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ
ข้อ 2 การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิในสิทธิบัตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า เว้นแต่กรณีได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาสินค้า ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย
(1) โอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือ
(2) ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี
ข้อ 3 การขายสินค้าหรือการให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติโดยชำระราคาด้วยวิธีการหยอดเงิน เหรียญ บัตร หรือด้วยวิธีการในลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อได้นำเงิน เหรียญ บัตร หรือสิ่งอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันออกจากเครื่องอัตโนมัติ
ข้อ 4 การขายสินค้าโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย
(1) โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
(2) เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต หรือ
(3) ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี
ข้อ 5 การให้บริการโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิต หรือในลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต เว้นแต่กรณีที่ได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการออกใบกำกับภาษีนั้น
ข้อ 6 การขายสินค้าตามสัญญาจะขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย
(1) โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
(2) ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
(3) ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี
ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้ประกอบการนำสินค้าไปใช้โดยตนเองหรือบุคคลอื่น โดยมิใช่เพื่อการประกอบกิจการโดยตรงตามมาตรา 77/1 (8) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อนำไปใช้ หรือส่งมอบสินค้าให้บุคคลอื่นเพื่อใช้
ข้อ 8 ในกรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) และมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจพบ
ข้อ 9 ในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ต่อไปเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะหยุดประกอบกิจการตามมาตรา 86/11 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดเป็นไปตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 10 ในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ
(1) ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/10 แห่งประมวลรัษฎากร หรือ
(2) ณ วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/17 แห่งประมวลรัษฎากร
ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ต่อไปเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะหยุดประกอบกิจการตามมาตรา 86/11 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดเป็นไปตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 11 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
สุธี สิงห์เสน่ห์
(นายสุธี สิงห์เสน่ห์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการตามมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพธุรกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
(ร.จ. เล่ม 108 ตอนที่ 235 วันที่ 27 ธันวาคม 2534)
--กรมสรรพากร--