คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 11/2529
เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้และภาษีการค้า ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี และมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 ทวิ วรรคสอง มาตรา 67 ตรี วรรคสอง และมาตรา 89 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้และภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากรไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท. 604/2525 ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2525
(2) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 3/2528 ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2528
ข้อ 2 ให้บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี และมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร ทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเบี้ยปรับ หรือลดเงินเพิ่มนั้น เว้นแต่กรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้งดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมิน ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป
"ในกรณีผู้ประกอบการค้าได้ยื่นแบบแสดงรายการและขอชำระภาษีการค้าพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนั้นโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้ถือว่าแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคำร้องตามวรรคหนึ่ง"(เพิ่มโดยคำสั่งที่ ท.ป. 24/2532 ใช้บังคับ 25 ก.ค. 2532 เป็นต้นไป)
ข้อ 3 เจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับ หรือลดเงินเพิ่มให้ได้เฉพาะกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าบุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี
สำหรับกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรมาเอง และผู้เสียภาษีได้จำนนต่อหลักฐานนั้น ไม่ให้ลดหรืองดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นสมควรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ 4 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 22 หรือมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจสั่งลดได้ แต่ต้องให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 5 การลดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจสั่งลดได้ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีบุคคลที่จะต้องเสียเงินเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือให้ลดเงินเพิ่มได้ แต่ต้องให้เสียในอัตราและตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้เสียร้อยละ 3.0 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ แต่ไม่เกินเงินเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 6 (ยกเลิกโดย พ.ร.บ. (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 (ดู ท.ป. 37/2534) เนื่องจากมีการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า)
ข้อ 7 การงดหรือลดเบี้ยปรับ หรือการลดเงินเพิ่ม นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้ ให้ทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
ข้อ 8 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2529 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2529
วิโรจน์ เลาหะพันธุ์
(นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์)
อธิบดีกรมสรรพากร
(ร.จ. เล่ม 103 ตอนที่ 161 วันที่ 18 กันยายน 2529)
ที่ ท.ป. 11/2529
เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้และภาษีการค้า ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี และมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 ทวิ วรรคสอง มาตรา 67 ตรี วรรคสอง และมาตรา 89 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้และภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากรไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท. 604/2525 ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2525
(2) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 3/2528 ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2528
ข้อ 2 ให้บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี และมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร ทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเบี้ยปรับ หรือลดเงินเพิ่มนั้น เว้นแต่กรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้งดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมิน ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป
"ในกรณีผู้ประกอบการค้าได้ยื่นแบบแสดงรายการและขอชำระภาษีการค้าพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนั้นโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้ถือว่าแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคำร้องตามวรรคหนึ่ง"(เพิ่มโดยคำสั่งที่ ท.ป. 24/2532 ใช้บังคับ 25 ก.ค. 2532 เป็นต้นไป)
ข้อ 3 เจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับ หรือลดเงินเพิ่มให้ได้เฉพาะกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าบุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี
สำหรับกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรมาเอง และผู้เสียภาษีได้จำนนต่อหลักฐานนั้น ไม่ให้ลดหรืองดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นสมควรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ 4 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 22 หรือมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจสั่งลดได้ แต่ต้องให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 5 การลดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจสั่งลดได้ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีบุคคลที่จะต้องเสียเงินเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือให้ลดเงินเพิ่มได้ แต่ต้องให้เสียในอัตราและตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้เสียร้อยละ 3.0 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ แต่ไม่เกินเงินเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 6 (ยกเลิกโดย พ.ร.บ. (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 (ดู ท.ป. 37/2534) เนื่องจากมีการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า)
ข้อ 7 การงดหรือลดเบี้ยปรับ หรือการลดเงินเพิ่ม นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้ ให้ทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
ข้อ 8 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2529 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2529
วิโรจน์ เลาหะพันธุ์
(นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์)
อธิบดีกรมสรรพากร
(ร.จ. เล่ม 103 ตอนที่ 161 วันที่ 18 กันยายน 2529)