พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐๗)
พ.ศ.๒๕๔๐
____________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๐
เป็นปีที่ ๕๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศที่ได้รับจากผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจในบางกรณี และยกเว้นอากรแสตมป์แก่ผู้โอนหุ้นในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๔๙๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐๗) พ.ศ.๒๕๔๐"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕ เตรส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๘๕) พ.ศ.๒๕๓๘
"มาตรา ๕ เตรส ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินกู้ยืมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป นำมาให้กู้แก่รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบในการกู้เงินนั้น"
มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๒๔) ของมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๘๕) พ.ศ.๒๕๓๘
"(๒๔) ผู้โอน เฉพาะการโอนหุ้นในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์"
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
___________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศให้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ที่ได้รับจากเงินกู้ยืมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ เพื่อการให้กู้ยืมในประเทศตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป นำมาให้กู้แก่รัฐวิสาหกิจ เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการวิเทศธนกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันกับศูนย์กลางทางการเงินอื่นได้ รวมทั้งยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่ผู้โอนหุ้นในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อส่งเสริมให้มีการซื้อขายหุ้นในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๓๙ ก--
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐๗)
พ.ศ.๒๕๔๐
____________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๐
เป็นปีที่ ๕๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศที่ได้รับจากผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจในบางกรณี และยกเว้นอากรแสตมป์แก่ผู้โอนหุ้นในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๔๙๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐๗) พ.ศ.๒๕๔๐"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕ เตรส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๘๕) พ.ศ.๒๕๓๘
"มาตรา ๕ เตรส ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินกู้ยืมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป นำมาให้กู้แก่รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบในการกู้เงินนั้น"
มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๒๔) ของมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๘๕) พ.ศ.๒๕๓๘
"(๒๔) ผู้โอน เฉพาะการโอนหุ้นในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์"
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
___________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศให้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ที่ได้รับจากเงินกู้ยืมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ เพื่อการให้กู้ยืมในประเทศตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป นำมาให้กู้แก่รัฐวิสาหกิจ เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการวิเทศธนกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันกับศูนย์กลางทางการเงินอื่นได้ รวมทั้งยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่ผู้โอนหุ้นในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อส่งเสริมให้มีการซื้อขายหุ้นในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๓๙ ก--