คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 37/2534
เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 89 วรรคสอง และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากรไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเบี้ยปรับนั้น เว้นแต่กรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้งดหรือลดเบี้ยปรับโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมิน ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ หรือในกรณีผู้ประกอบกิจการที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนั้นโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้ถือว่าแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคำร้องตามวรรคหนึ่ง
"ข้อ 2 การลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมาตรา 89 (1) มาตรา 89 (2) มาตรา 89 (3) และมาตรา 89 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการเองและขอชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนั้น โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้เสียเบี้ยปรับ ดังนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 2 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับ
(ค) ถ้าชำระภายหลัง 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
(ง) ถ้าชำระภายหลัง 60 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.71) และผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้มายื่นแบบแสดงรายการ และขอชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้น
(ก) ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือดังกล่าว ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข) พ้นกำหนดในหนังสือดังกล่าว ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
(3) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเอง ไม่ว่าการตรวจพบการกระทำความผิดดังกล่าว จะเกิดจากการตรวจสอบแบบแสดงรายการภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การตรวจปฏิบัติการ หรือการตรวจสอบทั่วไป และได้แจ้งความผิดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบเป็นหนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว ให้เสียเบี้ยปรับ ดังนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
(4) ในกรณีที่ได้มีการตรวจพบการกระทำความผิด ตาม (3) แล้ว แต่เจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการประเมินภาษีให้เสร็จสิ้น และผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้มายื่นแบบแสดงรายการ และขอชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นก่อนที่จะได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ให้ถือว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว และให้เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ ทั้งนี้ ตามอัตราและเงื่อนไขตาม (3)
ข้อ 3 การลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมาตรา 89 (5) และ มาตรา 89 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (5) และมาตรา 89 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับ ดังนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นภายในสองปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (5) และมาตรา 89 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 4 การลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมาตรา 89 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับ ดังนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นภายในสองปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 0.5 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 1 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 5 การลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมาตรา 89 (9) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (9) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
(2) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (9) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 6 การงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีตามมาตรา 89 (6) และมาตรา 89 (7) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ ผู้ออกใบกำกับภาษีมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร หรือบุคคลผู้ขายใบกำกับภาษี เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ 7 การงดหรือลดเบี้ยปรับ นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้ ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
ข้อ 8 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียเบี้ยปรับหลายกรณีตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินสั่งเรียกเก็บเบี้ยปรับ ดังนี้
(1) กรณีที่ต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 2 หลายกรณี ให้สั่งเรียกเก็บเบี้ยปรับได้เพียงกรณีเดียว ซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บได้เงินเป็นจำนวนมาก
(2) กรณีที่ต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 3 หลายกรณี ให้สั่งเรียกเก็บเบี้ยปรับได้เพียงกรณีเดียว ซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บได้เงินเป็นจำนวนมาก
(3) กรณีที่ต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 4 และข้อ 5 หลายกรณี ให้สั่งเรียกเก็บเบี้ยปรับได้เพียงกรณีเดียว ซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บได้เงินเป็น จำนวนมาก
เบี้ยปรับที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจพิจารณาสั่งลดให้ได้อีก ตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 หรือ ข้อ 7 สำหรับ กรณีที่เรียกเก็บนั้น
ข้อ 9 ให้นำความในข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 7 และข้อ 8 มาใช้บังคับสำหรับการงดหรือลดเบี้ยปรับ ตามมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร โดยอนุโลม"
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันออกประกาศนี้เป็นต้นไป(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 45/2536 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2536 เป็นต้นไป)
สั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
(นายบัณฑิต บุณยะปานะ)
อธิบดีกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 37/2534
เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 89 วรรคสอง และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากรไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเบี้ยปรับนั้น เว้นแต่กรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้งดหรือลดเบี้ยปรับโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมิน ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ หรือในกรณีผู้ประกอบกิจการที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนั้นโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้ถือว่าแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคำร้องตามวรรคหนึ่ง
"ข้อ 2 การลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมาตรา 89 (1) มาตรา 89 (2) มาตรา 89 (3) และมาตรา 89 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการเองและขอชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการนั้น โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้เสียเบี้ยปรับ ดังนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 2 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับ
(ค) ถ้าชำระภายหลัง 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
(ง) ถ้าชำระภายหลัง 60 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.71) และผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้มายื่นแบบแสดงรายการ และขอชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้น
(ก) ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือดังกล่าว ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข) พ้นกำหนดในหนังสือดังกล่าว ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
(3) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเอง ไม่ว่าการตรวจพบการกระทำความผิดดังกล่าว จะเกิดจากการตรวจสอบแบบแสดงรายการภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การตรวจปฏิบัติการ หรือการตรวจสอบทั่วไป และได้แจ้งความผิดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบเป็นหนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว ให้เสียเบี้ยปรับ ดังนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
(4) ในกรณีที่ได้มีการตรวจพบการกระทำความผิด ตาม (3) แล้ว แต่เจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการประเมินภาษีให้เสร็จสิ้น และผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้มายื่นแบบแสดงรายการ และขอชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นก่อนที่จะได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ให้ถือว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว และให้เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ ทั้งนี้ ตามอัตราและเงื่อนไขตาม (3)
ข้อ 3 การลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมาตรา 89 (5) และ มาตรา 89 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (5) และมาตรา 89 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับ ดังนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นภายในสองปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (5) และมาตรา 89 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 4 การลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมาตรา 89 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับ ดังนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นภายในสองปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 0.5 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 1 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 5 การลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมาตรา 89 (9) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (9) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
(2) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำฐานภาษีซึ่งได้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 89 (9) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 6 การงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีตามมาตรา 89 (6) และมาตรา 89 (7) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ ผู้ออกใบกำกับภาษีมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร หรือบุคคลผู้ขายใบกำกับภาษี เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ 7 การงดหรือลดเบี้ยปรับ นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้ ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
ข้อ 8 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียเบี้ยปรับหลายกรณีตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินสั่งเรียกเก็บเบี้ยปรับ ดังนี้
(1) กรณีที่ต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 2 หลายกรณี ให้สั่งเรียกเก็บเบี้ยปรับได้เพียงกรณีเดียว ซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บได้เงินเป็นจำนวนมาก
(2) กรณีที่ต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 3 หลายกรณี ให้สั่งเรียกเก็บเบี้ยปรับได้เพียงกรณีเดียว ซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บได้เงินเป็นจำนวนมาก
(3) กรณีที่ต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 4 และข้อ 5 หลายกรณี ให้สั่งเรียกเก็บเบี้ยปรับได้เพียงกรณีเดียว ซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บได้เงินเป็น จำนวนมาก
เบี้ยปรับที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจพิจารณาสั่งลดให้ได้อีก ตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 หรือ ข้อ 7 สำหรับ กรณีที่เรียกเก็บนั้น
ข้อ 9 ให้นำความในข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 7 และข้อ 8 มาใช้บังคับสำหรับการงดหรือลดเบี้ยปรับ ตามมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร โดยอนุโลม"
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันออกประกาศนี้เป็นต้นไป(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 45/2536 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2536 เป็นต้นไป)
สั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
(นายบัณฑิต บุณยะปานะ)
อธิบดีกรมสรรพากร