พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐๖)
พ.ศ.๒๕๔๐
____________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๐
เป็นปีที่ ๕๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจได้รับในบางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๔๙๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐๖) พ.ศ.๒๕๔๐
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ที่เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ได้รับจากการเป็นผู้จัดการในการจัดหาเงินกู้ในลักษณะการร่วมให้กู้ รวมตลอดค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับการร่วมให้กู้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) เงินกู้ในลักษณะการร่วมให้กู้ต้องเป็นเงินตราต่างประเทศอันมีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ และต้องเป็นร่วมให้กู้เพื่อนำไปให้กู้ยืมในต่างประเทศ หรือแก่กิจการวิเทศธนกิจอื่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
(๒) ต้องมีผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจซึ่งมีจำนวนตั้งแต่สามรายขึ้นไปเป็นผู้ร่วมให้กู้
(๓) ในการจัดหาเงินกู้ในลักษณะการร่วมให้กู้หากมีผู้จัดการรายเดียว ผู้นั้นต้องประกอบกิจการวิเทศธนกิจ และหากมีผู้จัดการหลายรายผู้จัดการเหล่านั้นต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ
(๔) การดำเนินการด้านธุรการเพื่อนำไปสู่การตกลงทำสัญญาร่วมให้กู้ ตลอดจนการจัดทำสัญญาร่วมให้กู้ต้องกระทำในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
(๕) ค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจได้รับจากการเป็นผู้จัดการในการจัดหาเงินกู้ในลักษณะการร่วมให้กู้ต้องมีเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการลงบัญชีที่พิสูจน์ได้ และอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นอัตราที่เหมาะสม
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
___________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ได้รับจากการเป็นผู้จัดการในการจัดหาเงินกู้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งมีแหล่งที่มาจากต่างประเทศในลักษณะการร่วมให้กู้หรือค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับการร่วมให้กู้ เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการวิเทศธนกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันกับศูนย์กลางทางการเงินอื่นได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๓๙ ก--
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐๖)
พ.ศ.๒๕๔๐
____________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๐
เป็นปีที่ ๕๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจได้รับในบางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๔๙๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐๖) พ.ศ.๒๕๔๐
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ที่เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ได้รับจากการเป็นผู้จัดการในการจัดหาเงินกู้ในลักษณะการร่วมให้กู้ รวมตลอดค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับการร่วมให้กู้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) เงินกู้ในลักษณะการร่วมให้กู้ต้องเป็นเงินตราต่างประเทศอันมีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ และต้องเป็นร่วมให้กู้เพื่อนำไปให้กู้ยืมในต่างประเทศ หรือแก่กิจการวิเทศธนกิจอื่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
(๒) ต้องมีผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจซึ่งมีจำนวนตั้งแต่สามรายขึ้นไปเป็นผู้ร่วมให้กู้
(๓) ในการจัดหาเงินกู้ในลักษณะการร่วมให้กู้หากมีผู้จัดการรายเดียว ผู้นั้นต้องประกอบกิจการวิเทศธนกิจ และหากมีผู้จัดการหลายรายผู้จัดการเหล่านั้นต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ
(๔) การดำเนินการด้านธุรการเพื่อนำไปสู่การตกลงทำสัญญาร่วมให้กู้ ตลอดจนการจัดทำสัญญาร่วมให้กู้ต้องกระทำในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
(๕) ค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจได้รับจากการเป็นผู้จัดการในการจัดหาเงินกู้ในลักษณะการร่วมให้กู้ต้องมีเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการลงบัญชีที่พิสูจน์ได้ และอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นอัตราที่เหมาะสม
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
___________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ได้รับจากการเป็นผู้จัดการในการจัดหาเงินกู้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งมีแหล่งที่มาจากต่างประเทศในลักษณะการร่วมให้กู้หรือค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับการร่วมให้กู้ เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการวิเทศธนกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันกับศูนย์กลางทางการเงินอื่นได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๓๙ ก--