คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ที่ 5/2528
เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีการค้ากรณีการประกอบกิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า
---------------------------------
ด้วยกรมสรรพากรได้ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร วินิจฉัยว่ากรณีบริษัทในประเทศไทยประกอบกิจการเป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อซื้อขายสินค้าล่วงหน้า ได้แก่ พืชไร่ทองคำหรือเงินให้กับบริษัทในต่างประเทศแต่ไม่ปรากฏหลักฐานการแต่งตั้งให้ประกอบกิจการดังกล่าวเป็นหนังสือโดยมีวิธีปฏิบัติในการติดต่อซื้อขายสินค้าดังนี้
(1) ลูกค้าที่ประสงค์จะซื้อขายสินค้าล่วงหน้า ต้องทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับบริษัทในประเทศไทย และต้องมอบอำนาจให้บริษัทในประเทศไทยเป็นตัวแทนจัดการทั้งปวงในการติดต่อกับบริษัทในต่างประเทศ หรือตัวแทนนายหน้าหรือบริษัทในเครือของบริษัทในต่างประเทศรวมทั้งการโอนเงินที่ลูกค้าได้รับจากการซื้อขายสินค้าดังกล่าว
(2) ในการสั่งซื้อหรือการสั่งขายสินค้า ลูกค้าจะต้องใช้ใบสั่งตามแบบที่บริษัทในประเทศไทยจัดพิมพ์ และต้องวางเงินมัดจำตามจำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อในอัตราที่กำหนดไว้ สำหรับราคาสินค้าได้กำหนดให้ถือตามราคาตลาดในต่างประเทศ ที่บริษัทในต่างประเทศแจ้งให้บริษัทในประเทศทราบทางโทรพิมพ์โทรศัพท์หรือทางอื่นในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละวันตามความเคลื่อนไหวของราคาสินค้า
(3) การซื้อขายสินค้าดังกล่าว ไม่มีการส่งมอบสินค้าระหว่างกัน เว้นแต่กรณีที่ลูกค้าต้องการสินค้า บริษัทในประเทศไทย จะต้องจัดหาสินค้าให้ตามที่ลูกค้าต้องการ และกรณีเป็นสินค้าที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ลูกค้าต้องดำเนินการนำสินค้าเข้าด้วยตนเอง
(4) บริษัทในประเทศไทย จะบันทึกหนี้สินระหว่างลูกค้ากับบริษัทในต่างประเทศเมื่อมีการขายสินค้าคือ ผลกำไรและขาดทุน ซึ่งลูกค้าจะต้องจ่ายให้บริษัทในต่างประเทศ หรือลูกค้าจะได้รับจากบริษัทในต่างประเทศ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าบริษัทในประเทศไทยส่งเงินค่าขายสินค้าออกไปให้บริษัทในต่างประเทศ ส่วนการบันทึกรายได้ บริษัทในประเทศไทยจะบันทึกรายได้เฉพาะค่านายหน้าที่ได้รับจากลูกค้าเท่านั้น มิได้บันทึกค่านายหน้าที่ได้รับจากบริษัทในต่างประเทศ การประกอบกิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าตามข้อเท็จจริงดังกล่าวบริษัทในประเทศไทยจะต้องรับผิดเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าแทนบริษัทในต่างประเทศหรือไม่และลูกค้าซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าจะต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าหรือไม่ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาแล้วในการประชุมครั้งที่ 12/2528วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2528 มีคำวินิจฉัยดังต่อไปนี้
1. กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าบริษัทในประเทศไทย เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าให้กับบริษัทในต่างประเทศ ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เข้าลักษณะเป็นสาขาตามมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานการตั้งตัวแทนระหว่างกัน และไม่ปรากฏหลักฐานการส่งเงินจากบริษัทในประเทศไทยออกไปให้แก่บริษัทในต่างประเทศ ฉะนั้น บริษัทในประเทศไทย จึงไม่ต้องรับผิดเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าแทนบริษัทในต่างประเทศแต่ประการใด
2. สัญญาซื้อขายสินค้าล่วงหน้าระหว่างบริษัทในประเทศไทยกับลูกค้า เนื่องจากการซื้อขายสินค้าตามสัญญาดังกล่าวยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ของสินค้าระหว่างกัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายและแยกพิจารณาภาระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้ดังนี้
(1) ภาษีการค้า
กรณีสินค้าที่ซื้อขายกันเป็นสินค้าตามประเภทการค้า 1. ชนิด 7 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า เช่น ทองคำ หรือเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอดมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.0 ของรายรับ และต้องคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าจากจำนวนเงินที่จะต้องชำระเมื่อถึงกำหนดในเดือนภาษีนั้นๆ ตามมาตรา 79 จัตวา (3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร แต่โดยที่สัญญาจะขายสินค้าดังกล่าวไม่มีการชำระเงินค่าสินค้า และแม้ในวิธีปฏิบัติจะมีการกำหนดให้ลูกค้าเพิ่มหรือลดเงินมัดจำก็ไม่อาจถือว่าวิธีปฏิบัติดังกล่าวเป็นการชำระเงินค่าสินค้า ฉะนั้น ผู้ขายสินค้าดังกล่าวจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 1. ชนิด 7 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า แต่ประการใด
(2) ภาษีเงินได้
กรณีสินค้าที่ซื้อขายกันไม่ว่าจะเป็นสินค้าตามประเภทการค้า 1. ชนิด 7 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า หรือเป็นสินค้าพืชไร่ ผู้ขายสินค้าดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะต้องนำผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขายสินค้าในแต่ละครั้งมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี ส่วนผู้ขายสินค้าที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องนำเงินได้จากการซื้อและขายสินค้ามารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
คำว่า "บริษัทในประเทศไทย" และ "บริษัทในต่างประเทศ" หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
สั่ง ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528
พนัส สิมะเสถียร
(นายพนัส สิมะเสถียร)
ปลัดกระทรวงการคลังประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ที่ 5/2528
เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีการค้ากรณีการประกอบกิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า
---------------------------------
ด้วยกรมสรรพากรได้ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร วินิจฉัยว่ากรณีบริษัทในประเทศไทยประกอบกิจการเป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อซื้อขายสินค้าล่วงหน้า ได้แก่ พืชไร่ทองคำหรือเงินให้กับบริษัทในต่างประเทศแต่ไม่ปรากฏหลักฐานการแต่งตั้งให้ประกอบกิจการดังกล่าวเป็นหนังสือโดยมีวิธีปฏิบัติในการติดต่อซื้อขายสินค้าดังนี้
(1) ลูกค้าที่ประสงค์จะซื้อขายสินค้าล่วงหน้า ต้องทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับบริษัทในประเทศไทย และต้องมอบอำนาจให้บริษัทในประเทศไทยเป็นตัวแทนจัดการทั้งปวงในการติดต่อกับบริษัทในต่างประเทศ หรือตัวแทนนายหน้าหรือบริษัทในเครือของบริษัทในต่างประเทศรวมทั้งการโอนเงินที่ลูกค้าได้รับจากการซื้อขายสินค้าดังกล่าว
(2) ในการสั่งซื้อหรือการสั่งขายสินค้า ลูกค้าจะต้องใช้ใบสั่งตามแบบที่บริษัทในประเทศไทยจัดพิมพ์ และต้องวางเงินมัดจำตามจำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อในอัตราที่กำหนดไว้ สำหรับราคาสินค้าได้กำหนดให้ถือตามราคาตลาดในต่างประเทศ ที่บริษัทในต่างประเทศแจ้งให้บริษัทในประเทศทราบทางโทรพิมพ์โทรศัพท์หรือทางอื่นในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละวันตามความเคลื่อนไหวของราคาสินค้า
(3) การซื้อขายสินค้าดังกล่าว ไม่มีการส่งมอบสินค้าระหว่างกัน เว้นแต่กรณีที่ลูกค้าต้องการสินค้า บริษัทในประเทศไทย จะต้องจัดหาสินค้าให้ตามที่ลูกค้าต้องการ และกรณีเป็นสินค้าที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ลูกค้าต้องดำเนินการนำสินค้าเข้าด้วยตนเอง
(4) บริษัทในประเทศไทย จะบันทึกหนี้สินระหว่างลูกค้ากับบริษัทในต่างประเทศเมื่อมีการขายสินค้าคือ ผลกำไรและขาดทุน ซึ่งลูกค้าจะต้องจ่ายให้บริษัทในต่างประเทศ หรือลูกค้าจะได้รับจากบริษัทในต่างประเทศ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าบริษัทในประเทศไทยส่งเงินค่าขายสินค้าออกไปให้บริษัทในต่างประเทศ ส่วนการบันทึกรายได้ บริษัทในประเทศไทยจะบันทึกรายได้เฉพาะค่านายหน้าที่ได้รับจากลูกค้าเท่านั้น มิได้บันทึกค่านายหน้าที่ได้รับจากบริษัทในต่างประเทศ การประกอบกิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าตามข้อเท็จจริงดังกล่าวบริษัทในประเทศไทยจะต้องรับผิดเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าแทนบริษัทในต่างประเทศหรือไม่และลูกค้าซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าจะต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าหรือไม่ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาแล้วในการประชุมครั้งที่ 12/2528วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2528 มีคำวินิจฉัยดังต่อไปนี้
1. กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าบริษัทในประเทศไทย เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าให้กับบริษัทในต่างประเทศ ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เข้าลักษณะเป็นสาขาตามมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานการตั้งตัวแทนระหว่างกัน และไม่ปรากฏหลักฐานการส่งเงินจากบริษัทในประเทศไทยออกไปให้แก่บริษัทในต่างประเทศ ฉะนั้น บริษัทในประเทศไทย จึงไม่ต้องรับผิดเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าแทนบริษัทในต่างประเทศแต่ประการใด
2. สัญญาซื้อขายสินค้าล่วงหน้าระหว่างบริษัทในประเทศไทยกับลูกค้า เนื่องจากการซื้อขายสินค้าตามสัญญาดังกล่าวยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ของสินค้าระหว่างกัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายและแยกพิจารณาภาระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้ดังนี้
(1) ภาษีการค้า
กรณีสินค้าที่ซื้อขายกันเป็นสินค้าตามประเภทการค้า 1. ชนิด 7 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า เช่น ทองคำ หรือเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอดมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.0 ของรายรับ และต้องคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าจากจำนวนเงินที่จะต้องชำระเมื่อถึงกำหนดในเดือนภาษีนั้นๆ ตามมาตรา 79 จัตวา (3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร แต่โดยที่สัญญาจะขายสินค้าดังกล่าวไม่มีการชำระเงินค่าสินค้า และแม้ในวิธีปฏิบัติจะมีการกำหนดให้ลูกค้าเพิ่มหรือลดเงินมัดจำก็ไม่อาจถือว่าวิธีปฏิบัติดังกล่าวเป็นการชำระเงินค่าสินค้า ฉะนั้น ผู้ขายสินค้าดังกล่าวจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 1. ชนิด 7 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า แต่ประการใด
(2) ภาษีเงินได้
กรณีสินค้าที่ซื้อขายกันไม่ว่าจะเป็นสินค้าตามประเภทการค้า 1. ชนิด 7 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า หรือเป็นสินค้าพืชไร่ ผู้ขายสินค้าดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะต้องนำผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขายสินค้าในแต่ละครั้งมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี ส่วนผู้ขายสินค้าที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องนำเงินได้จากการซื้อและขายสินค้ามารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
คำว่า "บริษัทในประเทศไทย" และ "บริษัทในต่างประเทศ" หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
สั่ง ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528
พนัส สิมะเสถียร
(นายพนัส สิมะเสถียร)
ปลัดกระทรวงการคลังประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร