ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 20)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การวางประกันและการถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/8แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการวางประกันและการถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การนำเข้าสินค้าเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ผู้นำเข้าจะวางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มที่พึงชำระแทนการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ สำหรับวิธีการวางประกันและการถอนประกันให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ข้อ 2 การนำเข้าเครื่องจักรหรือการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผู้นำเข้าจะวางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระหรือพึงชำระ แทนการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ สำหรับวิธีการวางประกันให้กระทำโดยการยื่นหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่ออธิบดีกรมศุลกากร ณ กรมศุลกากร หรือ ณ ด่านศุลกากรที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดพร้อมกับหนังสือของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งแจ้งขอให้ผู้นำเข้าใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม และการถอนประกันดังกล่าวให้กระทำได้เมื่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากรรับรองว่าเครื่องจักร และขอให้สั่งถอนประกันดังกล่าว
ข้อ 3 การวางประกันและการถอนประกันตามข้อ 2 ผู้นำเข้าจะใช้หนังสือของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นเสมือนหนังสือค้ำประกันแทนหนังสือค้ำประกันของธนาคาร และใช้หนังสือดังกล่าวเป็นหลักฐานในการถอนประกันด้วยก็ได้ ในกรณีดังกล่าว หนังสือของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะต้องรับรองว่า เครื่องจักรหรือวัตถุดิบดังกล่าวเป็นของที่ได้รับอนุมัติให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน และขอให้สั่งถอนประกันดังกล่าวด้วย
ข้อ 4 สำหรับเครื่องจักรหรือวัตถุดิบตามข้อ 2 จะต้องเป็นเครื่องจักรหรือวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนและต้องนำ
(1) กรณีเครื่องจักร ต้องนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตหรือการให้บริการ
(2) กรณีวัตถุดิบ ต้องนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้น กรณีวัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อใช้ทั้งในการผลิตเพื่อการส่งออกและเพื่อขายในราชอาณาจักรด้วย ให้วางประกันและถอนประกันได้เฉพาะวัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกตามจำนวนที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรับรองเท่านั้น
ข้อ 5 คำว่า "อธิบดีกรมศุลกากร" ตามข้อ 2 ให้หมายความรวมถึงผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายด้วย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
(นายบัณฑิต บุณยะปานะ)
อธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 20)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การวางประกันและการถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/8แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการวางประกันและการถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การนำเข้าสินค้าเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ผู้นำเข้าจะวางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มที่พึงชำระแทนการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ สำหรับวิธีการวางประกันและการถอนประกันให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ข้อ 2 การนำเข้าเครื่องจักรหรือการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผู้นำเข้าจะวางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระหรือพึงชำระ แทนการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ สำหรับวิธีการวางประกันให้กระทำโดยการยื่นหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่ออธิบดีกรมศุลกากร ณ กรมศุลกากร หรือ ณ ด่านศุลกากรที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดพร้อมกับหนังสือของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งแจ้งขอให้ผู้นำเข้าใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม และการถอนประกันดังกล่าวให้กระทำได้เมื่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากรรับรองว่าเครื่องจักร และขอให้สั่งถอนประกันดังกล่าว
ข้อ 3 การวางประกันและการถอนประกันตามข้อ 2 ผู้นำเข้าจะใช้หนังสือของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นเสมือนหนังสือค้ำประกันแทนหนังสือค้ำประกันของธนาคาร และใช้หนังสือดังกล่าวเป็นหลักฐานในการถอนประกันด้วยก็ได้ ในกรณีดังกล่าว หนังสือของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะต้องรับรองว่า เครื่องจักรหรือวัตถุดิบดังกล่าวเป็นของที่ได้รับอนุมัติให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน และขอให้สั่งถอนประกันดังกล่าวด้วย
ข้อ 4 สำหรับเครื่องจักรหรือวัตถุดิบตามข้อ 2 จะต้องเป็นเครื่องจักรหรือวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนและต้องนำ
(1) กรณีเครื่องจักร ต้องนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตหรือการให้บริการ
(2) กรณีวัตถุดิบ ต้องนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้น กรณีวัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อใช้ทั้งในการผลิตเพื่อการส่งออกและเพื่อขายในราชอาณาจักรด้วย ให้วางประกันและถอนประกันได้เฉพาะวัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกตามจำนวนที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรับรองเท่านั้น
ข้อ 5 คำว่า "อธิบดีกรมศุลกากร" ตามข้อ 2 ให้หมายความรวมถึงผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายด้วย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
(นายบัณฑิต บุณยะปานะ)
อธิบดีกรมสรรพากร