คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 5/2527
เรื่อง การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด เพื่อทำการตรวจสอบภาษีอากรตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร และสั่งให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานทำการตรวจสอบด้วย หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลมามอบให้ตามหมายเรียก และเพียงพอแก่การตรวจสอบเพื่อหากำไรสุทธิได้แล้ว เจ้าพนักงานประเมินจะทำการประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะเหตุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นไม่นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบไม่ได้
ข้อ 2 กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถูกไฟไหม้หรือประสบภัยธรรมชาติเป็นเหตุให้ไม่สามารถนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลมามอบให้เจ้าพนักงานประเมินเพียงพอที่จะทำการตรวจสอบการเสียภาษี หรือไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกที่ออกตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ทั้งนี้เจ้าพนักงานประเมินไม่ควรใช้วิธีการประเมินดังกล่าวในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการขายสินค้าบางอย่างซึ่งสามารถหาหลักฐานเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการขายส่งสุรา เบียร์ ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง ปูนซีเมนต์ เป็นต้น หรือกิจการค้าที่มีสาขาทั่วโลก
ข้อ 3 กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระตามมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร หรือจะทำการประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากรก็ได้ แล้วแต่ว่าภาษีตามวิธีการประเมินวิธีใดจะมีจำนวนมากกว่า
ข้อ 4 กรณีตามข้อ 3 เจ้าพนักงานประเมินจะไม่ประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากรก็ได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า
(1) เจ้าพนักงานประเมินมีความเห็นว่ากรณีมีเหตุอันสมควรที่จะไม่ประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นแต่ละกรณีไป หรือ
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้พ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่เกิน 90 วัน
ข้อ 5 คำสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำสั่งนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527
วิทย์ ตันตยกุล
(นายวิทย์ ตันตยกุล)
อธิบดีกรมสรรพากร
ที่ ป. 5/2527
เรื่อง การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด เพื่อทำการตรวจสอบภาษีอากรตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร และสั่งให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานทำการตรวจสอบด้วย หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลมามอบให้ตามหมายเรียก และเพียงพอแก่การตรวจสอบเพื่อหากำไรสุทธิได้แล้ว เจ้าพนักงานประเมินจะทำการประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะเหตุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นไม่นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบไม่ได้
ข้อ 2 กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถูกไฟไหม้หรือประสบภัยธรรมชาติเป็นเหตุให้ไม่สามารถนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลมามอบให้เจ้าพนักงานประเมินเพียงพอที่จะทำการตรวจสอบการเสียภาษี หรือไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกที่ออกตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ทั้งนี้เจ้าพนักงานประเมินไม่ควรใช้วิธีการประเมินดังกล่าวในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการขายสินค้าบางอย่างซึ่งสามารถหาหลักฐานเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการขายส่งสุรา เบียร์ ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง ปูนซีเมนต์ เป็นต้น หรือกิจการค้าที่มีสาขาทั่วโลก
ข้อ 3 กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระตามมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร หรือจะทำการประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากรก็ได้ แล้วแต่ว่าภาษีตามวิธีการประเมินวิธีใดจะมีจำนวนมากกว่า
ข้อ 4 กรณีตามข้อ 3 เจ้าพนักงานประเมินจะไม่ประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากรก็ได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า
(1) เจ้าพนักงานประเมินมีความเห็นว่ากรณีมีเหตุอันสมควรที่จะไม่ประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นแต่ละกรณีไป หรือ
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้พ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่เกิน 90 วัน
ข้อ 5 คำสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำสั่งนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527
วิทย์ ตันตยกุล
(นายวิทย์ ตันตยกุล)
อธิบดีกรมสรรพากร