ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21)
เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
--------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดอากรแสตมป์สำหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ผู้ออกใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใดๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย เสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินตามมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร แทนการปิดแสตมป์บริบูรณ์สำหรับตราสารตามลักษณะแห่งตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
(1) ในกรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นๆ ก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียนดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนำเงินค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับชำระไว้นั้น ส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามระเบียบของทางราชการ
ตราสารดังกล่าวถือว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มีการบันทึกข้อความไว้ในตราสารนั้นว่า "ได้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน................. บาทแล้ว ตามใบเสร็จรับเงินเล่มที่ .... เลขที่ ....... ลงวันที่ .........." แล้วลงลายมือชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์และวันเดือนปีที่บันทึกข้อความดังกล่าว
(2) ในกรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินต่อสมุห์บัญชีเขตก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียนดังกล่าวตามระเบียบของกรมสรรพากร
"(3) ในกรณีขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี ให้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันที่ได้ขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้น และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวนำเงินค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับชำระส่งสมุห์บัญชีอำเภอหรือเขตท้องที่เดือนละ 2 งวด คือ
(ก) งวดแรก ค่าอากรที่ได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นำส่งภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(ข) งวดที่สอง ค่าอากรที่ได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
เมื่อสมุห์บัญชีอำเภอหรือเขตท้องที่ได้รับชำระเงินค่าอากรแสตมป์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ออกใบสลักหลังตราสาร (อ.ส.5) แก่ผู้นำส่งเงินไว้เป็นหลักฐานเพื่อรวมไว้ในสำนวนแต่ละคดี
ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมใช้หนังสือของศาลซึ่งมีรายละเอียดแสดงว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวนั้น "ได้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน.................บาท ไว้แล้ว ตามใบสลักหลังตราสาร (อ.ส.5) เลขที่.......ลงวันที่.........." ที่มีถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นหลักฐานแสดงการชำระค่าอากรแสตมป์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในกรณีดังกล่าวด้วย"(เพิ่มโดยประกาศฯ (ฉบับที่ 31) พ.ย. 32 ใช้บังคับ 30 ธ.ค. 32 เป็นต้นไป)
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2525
พนัส สิมะเสถียร
(นายพนัส สิมะเสถียร)
อธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21)
เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
--------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดอากรแสตมป์สำหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ผู้ออกใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใดๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย เสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินตามมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร แทนการปิดแสตมป์บริบูรณ์สำหรับตราสารตามลักษณะแห่งตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
(1) ในกรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นๆ ก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียนดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนำเงินค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับชำระไว้นั้น ส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามระเบียบของทางราชการ
ตราสารดังกล่าวถือว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มีการบันทึกข้อความไว้ในตราสารนั้นว่า "ได้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน................. บาทแล้ว ตามใบเสร็จรับเงินเล่มที่ .... เลขที่ ....... ลงวันที่ .........." แล้วลงลายมือชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์และวันเดือนปีที่บันทึกข้อความดังกล่าว
(2) ในกรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินต่อสมุห์บัญชีเขตก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียนดังกล่าวตามระเบียบของกรมสรรพากร
"(3) ในกรณีขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี ให้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันที่ได้ขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้น และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวนำเงินค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับชำระส่งสมุห์บัญชีอำเภอหรือเขตท้องที่เดือนละ 2 งวด คือ
(ก) งวดแรก ค่าอากรที่ได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นำส่งภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(ข) งวดที่สอง ค่าอากรที่ได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
เมื่อสมุห์บัญชีอำเภอหรือเขตท้องที่ได้รับชำระเงินค่าอากรแสตมป์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ออกใบสลักหลังตราสาร (อ.ส.5) แก่ผู้นำส่งเงินไว้เป็นหลักฐานเพื่อรวมไว้ในสำนวนแต่ละคดี
ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมใช้หนังสือของศาลซึ่งมีรายละเอียดแสดงว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวนั้น "ได้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน.................บาท ไว้แล้ว ตามใบสลักหลังตราสาร (อ.ส.5) เลขที่.......ลงวันที่.........." ที่มีถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นหลักฐานแสดงการชำระค่าอากรแสตมป์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในกรณีดังกล่าวด้วย"(เพิ่มโดยประกาศฯ (ฉบับที่ 31) พ.ย. 32 ใช้บังคับ 30 ธ.ค. 32 เป็นต้นไป)
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2525
พนัส สิมะเสถียร
(นายพนัส สิมะเสถียร)
อธิบดีกรมสรรพากร