แท็ก
ประมวลรัษฎากร
ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีการค้า สำหรับสำนักงานผู้แทนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่กระทำกิจการในประเทศไทย
---------------
ด้วยสำนักงานผู้แทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทยบางรายยังไม่ทราบเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับภาระและหน้าที่ในการเสียภาษีอากรของสำนักงานผู้แทนดังกล่าว ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ของสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย ให้ถือว่าการส่งสินค้าออกไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งออกไปเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออกไปนั้น เว้นแต่กรณีตามข้อ 2 ทั้งนี้ตามมาตรา 70 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
"ข้อ 2 การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่สำนักงานใหญ่ของสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย ถ้าสำนักงานใหญ่ของสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย ก็ไม่ถือว่าสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยเป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในประเทศไทย สำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ โดยนัยความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ"
(แก้โดยประกาศกรมสรรพากรลงวันที่ 24 ตุลาคม 2531)
ข้อ 3 การที่สำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยให้บริการต่างๆ แก่สำนักงานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่สั่งซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทย การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่ รวมทั้งการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจที่กระทำกิจการในประเทศไทย รายรับหรือรายได้ที่สำนักงานผู้แทนดังกล่าวที่กระทำกิจการในประเทศไทยให้แก่สำนักงานใหญ่ โดยมิได้ให้บริการแก่ผู้อื่นเลย และสำนักงานผู้แทนดังกล่าวได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานใหญ่เฉพาะเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสำนักงานผู้แทนในประเทศไทยได้รับจากสำนักงานใหญ่ไม่ถือเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าแต่ประการใด
ข้อ 4 ถ้าสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยตามข้อ 3 ได้ให้บริการแก่ผู้อื่น ไม่ว่าการให้บริการนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ถือว่าสำนักงานผู้แทนดังกล่าวประกอบกิจการในประเทศไทย และมีหน้าที่ต้องนำรายได้หรือรายรับที่ได้รับจากการให้บริการทุกประเภทมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร และต้องนำรายรับเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.0 ของรายรับตามประเภทการค้า 4. การรับจ้างทำของ แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้ากับต้องเสียภาษีส่วนท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของภาษีการค้าที่ต้องชำระด้วย
ข้อ 5 (ยกเลิก)
ข้อ 6 (ยกเลิก)
ข้อ 7 คนต่างด้าวที่ทำงานในสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ตามระยะเวลาที่ทำงานในประเทศไทย และสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินได้ตามนัยมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
จึงประกาศมาเพื่อทราบทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2529
วิโรจน์ เลาหะพันธุ์
(นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์)
อธิบดีกรมสรรพากร
หมายเหตุ
ภาษีการค้ายกเลิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ข้อ 4 ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้า ข้อ 5 ข้อ 6 จึงยกเลิกไปโดยปริยาย
เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีการค้า สำหรับสำนักงานผู้แทนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่กระทำกิจการในประเทศไทย
---------------
ด้วยสำนักงานผู้แทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทยบางรายยังไม่ทราบเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับภาระและหน้าที่ในการเสียภาษีอากรของสำนักงานผู้แทนดังกล่าว ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ของสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย ให้ถือว่าการส่งสินค้าออกไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งออกไปเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออกไปนั้น เว้นแต่กรณีตามข้อ 2 ทั้งนี้ตามมาตรา 70 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
"ข้อ 2 การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่สำนักงานใหญ่ของสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย ถ้าสำนักงานใหญ่ของสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย ก็ไม่ถือว่าสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยเป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในประเทศไทย สำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ โดยนัยความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ"
(แก้โดยประกาศกรมสรรพากรลงวันที่ 24 ตุลาคม 2531)
ข้อ 3 การที่สำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยให้บริการต่างๆ แก่สำนักงานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่สั่งซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทย การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่ รวมทั้งการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจที่กระทำกิจการในประเทศไทย รายรับหรือรายได้ที่สำนักงานผู้แทนดังกล่าวที่กระทำกิจการในประเทศไทยให้แก่สำนักงานใหญ่ โดยมิได้ให้บริการแก่ผู้อื่นเลย และสำนักงานผู้แทนดังกล่าวได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานใหญ่เฉพาะเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสำนักงานผู้แทนในประเทศไทยได้รับจากสำนักงานใหญ่ไม่ถือเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าแต่ประการใด
ข้อ 4 ถ้าสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยตามข้อ 3 ได้ให้บริการแก่ผู้อื่น ไม่ว่าการให้บริการนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ถือว่าสำนักงานผู้แทนดังกล่าวประกอบกิจการในประเทศไทย และมีหน้าที่ต้องนำรายได้หรือรายรับที่ได้รับจากการให้บริการทุกประเภทมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร และต้องนำรายรับเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.0 ของรายรับตามประเภทการค้า 4. การรับจ้างทำของ แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้ากับต้องเสียภาษีส่วนท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของภาษีการค้าที่ต้องชำระด้วย
ข้อ 5 (ยกเลิก)
ข้อ 6 (ยกเลิก)
ข้อ 7 คนต่างด้าวที่ทำงานในสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ตามระยะเวลาที่ทำงานในประเทศไทย และสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินได้ตามนัยมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
จึงประกาศมาเพื่อทราบทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2529
วิโรจน์ เลาหะพันธุ์
(นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์)
อธิบดีกรมสรรพากร
หมายเหตุ
ภาษีการค้ายกเลิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ข้อ 4 ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้า ข้อ 5 ข้อ 6 จึงยกเลิกไปโดยปริยาย