กฎกระทรวง
ฉบับที่ 225 (พ.ศ. 2542)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
_____________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ทวิ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ
จำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 212 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่าย
หนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 6 ทวิ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้ลูกหนี้ใน
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ข้อ 5 หรือ
ข้อ 6
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(4) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 จัตวา แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ
จำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 218 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่าย
หนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 6 จัตวา การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของเจ้าหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้
ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) ธนาคารออมสิน
(3) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ
อุตสาหกรรม
(5) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(6) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
"เจ้าหนี้อื่น" หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
"ลูกหนี้" หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ด้วย"
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 6 เบญจ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 221 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
""สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการ
เงินถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสืทธิออกเสียง ทั้งนี้ การถือหุ้นโดยอ้อมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(4) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี"
ข้อ 4 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542
พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจอันส่งผลกระทบต่อความ
สามารถในการชำระหนี้ของภาคเอกชน ทำให้สถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่นต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการ
ชำระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่าย
หนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่นที่เจรจาและตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ร่วมกับสถาบันการเงินสามารถจำหน่ายหนี้สูญ
ที่เกิดจากการปลดหนี้จากบัญชีลูกหนี้ได้ แต่โดยที่ในขณะนี้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่นดังกล่าวยังดำเนินการไม่
เสร็จสิ้น จำเป็นต้องขยายระยะเวลาในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อไปอีกระยะหนึ่ง ประกอบกับการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวไม่
ครอบคลุมถึงบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ทำให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของบริษัทบริหาร
สินทรัพย์และเจ้าหนี้อื่นที่เจรจาและตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่ได้รับสิทธิในการจำหน่ายหนี้สูญที่เกิดจากการ
ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อื่น และบริษัท
บริหารสินทรัพย์ สมควรขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่สถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่นในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
ออกไปจนถึงปี พ.ศ. 2544 และสมควรกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์และเจ้าหนี้อื่นที่เจรจาและตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ร่วมกับบริษัท
บริหารสินทรัพย์สามารถจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และสมควรกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถตัดจำหน่ายลูกหนี้จัดชั้นสูงและลูกหนี้
จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละ 100 เป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้เช่นเดียวกับสถาบันการเงิน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 137 ก--
ฉบับที่ 225 (พ.ศ. 2542)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
_____________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ทวิ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ
จำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 212 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่าย
หนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 6 ทวิ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้ลูกหนี้ใน
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ข้อ 5 หรือ
ข้อ 6
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(4) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 จัตวา แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ
จำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 218 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่าย
หนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 6 จัตวา การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของเจ้าหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้
ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) ธนาคารออมสิน
(3) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ
อุตสาหกรรม
(5) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(6) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
"เจ้าหนี้อื่น" หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
"ลูกหนี้" หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ด้วย"
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 6 เบญจ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 221 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
""สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการ
เงินถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสืทธิออกเสียง ทั้งนี้ การถือหุ้นโดยอ้อมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(4) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี"
ข้อ 4 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542
พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจอันส่งผลกระทบต่อความ
สามารถในการชำระหนี้ของภาคเอกชน ทำให้สถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่นต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการ
ชำระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่าย
หนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่นที่เจรจาและตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ร่วมกับสถาบันการเงินสามารถจำหน่ายหนี้สูญ
ที่เกิดจากการปลดหนี้จากบัญชีลูกหนี้ได้ แต่โดยที่ในขณะนี้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่นดังกล่าวยังดำเนินการไม่
เสร็จสิ้น จำเป็นต้องขยายระยะเวลาในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อไปอีกระยะหนึ่ง ประกอบกับการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวไม่
ครอบคลุมถึงบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ทำให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของบริษัทบริหาร
สินทรัพย์และเจ้าหนี้อื่นที่เจรจาและตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่ได้รับสิทธิในการจำหน่ายหนี้สูญที่เกิดจากการ
ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อื่น และบริษัท
บริหารสินทรัพย์ สมควรขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่สถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่นในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
ออกไปจนถึงปี พ.ศ. 2544 และสมควรกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์และเจ้าหนี้อื่นที่เจรจาและตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ร่วมกับบริษัท
บริหารสินทรัพย์สามารถจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และสมควรกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถตัดจำหน่ายลูกหนี้จัดชั้นสูงและลูกหนี้
จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละ 100 เป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้เช่นเดียวกับสถาบันการเงิน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
--ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 137 ก--