พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 436)
พ.ศ. 2548
--------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2548
เป็นปีที่ 60 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน เพื่อการปรับเปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 และมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 436) พ.ศ.2548"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่ง ประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานเพื่อการปรับเปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม เป็นจำนวนร้อยละยี่สิบห้าของค่าใช้จ่ายนั้น เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ให้แก่บุคคลธรรมดาเฉพาะในส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) และบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพกรประกาศกำหนด
ทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานตามวรรคหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินที่ไม่เคยผ่านการใช้งาน ซึ่งต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ในระหว่างวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2549
มาตรา 4 การยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี สำหรับระยะเวลาห้าปีภาษีหรือห้ารอบระยะเวลาบัญชีนับแต่ปีภาษีแรก หรือรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้ทรัพย์สินดังกล่าวมาและพร้อมใช้งานได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มีการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานให้แก่ผู้ที่ดำเนินการเปลี่ยนทรัพย์สินประแภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานแทนอุปกรณ์เดิม เพื่อสนับสนุนให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานในระยะยาว และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของรัฐ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 436)
พ.ศ. 2548
--------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2548
เป็นปีที่ 60 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน เพื่อการปรับเปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 และมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 436) พ.ศ.2548"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่ง ประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานเพื่อการปรับเปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม เป็นจำนวนร้อยละยี่สิบห้าของค่าใช้จ่ายนั้น เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ให้แก่บุคคลธรรมดาเฉพาะในส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) และบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพกรประกาศกำหนด
ทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานตามวรรคหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินที่ไม่เคยผ่านการใช้งาน ซึ่งต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ในระหว่างวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2549
มาตรา 4 การยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี สำหรับระยะเวลาห้าปีภาษีหรือห้ารอบระยะเวลาบัญชีนับแต่ปีภาษีแรก หรือรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้ทรัพย์สินดังกล่าวมาและพร้อมใช้งานได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มีการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานให้แก่ผู้ที่ดำเนินการเปลี่ยนทรัพย์สินประแภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานแทนอุปกรณ์เดิม เพื่อสนับสนุนให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานในระยะยาว และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของรัฐ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้