พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 454)
พ.ศ. 2549
---------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2549
เป็นปีที่ 61 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา 3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 และมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 454) พ.ศ. 2549"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาสในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) มาตรา 5 เอกาทศ มาตรา 5 ทวาทศ และมาตรา 6 (20) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 259) พ.ศ. 2535
(2) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 260) พ.ศ.2535
(3) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 270) พ.ศ.2537
(4) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 306) พ.ศ.2540
(5) มาตรา 5 เตรส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 307) พ.ศ. 2540
(6) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 308) พ.ศ.2540
มาตรา 4 ในพระราชกฤษฎีกานี้
"ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
"การรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ" หมายความว่า
(1) การรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจากต่างประเทศจากบุคคลดังต่อไปนี้เพื่อนำไปให้กู้ยืมเป็นเงินตราต่างประเทศในต่างประเทศ
(ก) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและมีภูมิลำเนาหรือมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจารในประเทศไทย
(ค) ธนาคารต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาหรือสำนักงานผู้แทนในประเทศไทย
(ง) สาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์
(จ) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาสกำหนด
(2) การรับฝากหรือการกู้ยืมเงินบาทจากธนาคารต่างประเทศในต่างประเทศหรือสาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ เพื่อนำไปให้กู้ยืมเป็นเงินบาทแก่ธนาคารต่างประเทศในต่างประเทศหรือสาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์
มาตรา 5 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ก) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละสิบของกำไรสุทธิ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์สำหรับเงินได้จากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
มาตรา 6 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝากหรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากธนาคารพาณิชย์ เฉพาะการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศให้แก่
(1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
(3) ธนาคารต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาหรือสำนักงานผู้แทนในประเทศไทย
มาตรา 7 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้ดังต่อไปนี้
(1) เงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากเงินกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรที่ธนาคารพาณิชย์จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้เฉพาะที่ได้จากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ
(2) ค่าธรรมเนียมที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากการเป็นผู้จัดการในการจัดหาเงินกู้ในลักษณะการร่วมให้กู้ โดยเงินกู้ดังกล่าวได้จากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับการร่วมให้กู้นั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
มาตรา 8 ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับรายรับจากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่เป็นรายรับตามมาตรา 91/5 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 9 ให้ยกเว้นอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ธนาคารพาณิชย์ เฉพาะกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ที่ต้องเสียอากรแสตมป์จากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ
มาตรา 10 บทบัญญัติมาตรา 5 เอกาทศ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 259) พ.ศ.2535 ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปอีกสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากหรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้รับจากผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2535 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้ เฉพาะการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศซึ่งผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจได้นำไปให้กู้ยืมในต่างประเทศก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
มาตรา 11 พระราชกฤษฎีกาออกตามควาในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 270) พ.ศ. 2537 ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปอีกสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากหรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้รับจากผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้ เฉพาะการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศซึ่งผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจได้นำไปให้กู้ยืมในประเทศก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
มาตรา 12 บทบัญญัติมาตรา 5 เตรส แห่งพระราชกฤษฏีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 307) พ.ศ.2540 ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปอีกสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้รับจากผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้เฉพาะการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศซึ่งผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจได้นำไปให้กู้ยืมแก่รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบในการกู้เงินนั้น ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
มาตรา 13 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2535 แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจึงสมควรปรับปรุงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ โดยยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 แต่ยังคงให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศมาให้กู้ยืมในต่างประเทศ และปรับปรุงการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ธนาคารพาณิชย์สำหรับเงินได้จากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ รวมทั้งปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บุคคลธรรมดา ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่บุคคลดังกล่าวสำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝากหรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์เฉพาะการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 454)
พ.ศ. 2549
---------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2549
เป็นปีที่ 61 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา 3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 และมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 454) พ.ศ. 2549"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาสในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) มาตรา 5 เอกาทศ มาตรา 5 ทวาทศ และมาตรา 6 (20) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 259) พ.ศ. 2535
(2) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 260) พ.ศ.2535
(3) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 270) พ.ศ.2537
(4) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 306) พ.ศ.2540
(5) มาตรา 5 เตรส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 307) พ.ศ. 2540
(6) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 308) พ.ศ.2540
มาตรา 4 ในพระราชกฤษฎีกานี้
"ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
"การรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ" หมายความว่า
(1) การรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจากต่างประเทศจากบุคคลดังต่อไปนี้เพื่อนำไปให้กู้ยืมเป็นเงินตราต่างประเทศในต่างประเทศ
(ก) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและมีภูมิลำเนาหรือมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจารในประเทศไทย
(ค) ธนาคารต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาหรือสำนักงานผู้แทนในประเทศไทย
(ง) สาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์
(จ) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาสกำหนด
(2) การรับฝากหรือการกู้ยืมเงินบาทจากธนาคารต่างประเทศในต่างประเทศหรือสาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ เพื่อนำไปให้กู้ยืมเป็นเงินบาทแก่ธนาคารต่างประเทศในต่างประเทศหรือสาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์
มาตรา 5 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ก) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละสิบของกำไรสุทธิ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์สำหรับเงินได้จากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
มาตรา 6 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝากหรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากธนาคารพาณิชย์ เฉพาะการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศให้แก่
(1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
(3) ธนาคารต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาหรือสำนักงานผู้แทนในประเทศไทย
มาตรา 7 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้ดังต่อไปนี้
(1) เงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากเงินกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรที่ธนาคารพาณิชย์จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้เฉพาะที่ได้จากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ
(2) ค่าธรรมเนียมที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากการเป็นผู้จัดการในการจัดหาเงินกู้ในลักษณะการร่วมให้กู้ โดยเงินกู้ดังกล่าวได้จากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับการร่วมให้กู้นั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
มาตรา 8 ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับรายรับจากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่เป็นรายรับตามมาตรา 91/5 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 9 ให้ยกเว้นอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ธนาคารพาณิชย์ เฉพาะกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ที่ต้องเสียอากรแสตมป์จากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ
มาตรา 10 บทบัญญัติมาตรา 5 เอกาทศ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 259) พ.ศ.2535 ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปอีกสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากหรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้รับจากผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2535 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้ เฉพาะการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศซึ่งผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจได้นำไปให้กู้ยืมในต่างประเทศก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
มาตรา 11 พระราชกฤษฎีกาออกตามควาในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 270) พ.ศ. 2537 ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปอีกสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากหรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้รับจากผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้ เฉพาะการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศซึ่งผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจได้นำไปให้กู้ยืมในประเทศก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
มาตรา 12 บทบัญญัติมาตรา 5 เตรส แห่งพระราชกฤษฏีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 307) พ.ศ.2540 ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปอีกสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้รับจากผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้เฉพาะการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศซึ่งผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจได้นำไปให้กู้ยืมแก่รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบในการกู้เงินนั้น ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
มาตรา 13 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2535 แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจึงสมควรปรับปรุงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ โดยยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 แต่ยังคงให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศมาให้กู้ยืมในต่างประเทศ และปรับปรุงการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ธนาคารพาณิชย์สำหรับเงินได้จากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ รวมทั้งปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บุคคลธรรมดา ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่บุคคลดังกล่าวสำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝากหรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์เฉพาะการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้