ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2530)
เรื่อง กำหนดสินค้าที่มีทินเนอร์ผสมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
—————————————————
ตามที่ได้มีประกาศ ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2529) กำหนดให้ทินเนอร์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากไว้แล้วนั้น แต่ยังปรากฏว่ามีการนำสินค้าที่มีทินเนอร์ผสมอยู่ด้วยไปใช้สูดดม โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนอันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ สมควรกำหนดสินค้าที่มีทินเนอร์ผสมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก เพื่อควบคุมให้ทำฉลาก โดยระบุคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า "สำหรับส่งออกเท่านั้น" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "For Export Only"
(2) สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิต ผู้ขาย หรือผู้จัดหาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก
ข้อ 3 สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมที่จะนำออกขายต้องจัดให้มีฉลากตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4
ข้อ 4 ฉลากต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ปิดหรือติดไว้ที่ภาชนะบรรจุ และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
(ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการผู้นำเข้า
(ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นหรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้านั้นจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้วจะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) คำเตือนว่า "อันตรายห้ามสูดดม" และคำเตือนอื่นที่เกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากทินเนอร์ในสินค้านั้น
ข้อ 5 ให้สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากขณะนำเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ก่อนที่จะนำออกขาย
ประกาศนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2530
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
--ราชกิจจานุเบกษา--
ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2530)
เรื่อง กำหนดสินค้าที่มีทินเนอร์ผสมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
—————————————————
ตามที่ได้มีประกาศ ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2529) กำหนดให้ทินเนอร์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากไว้แล้วนั้น แต่ยังปรากฏว่ามีการนำสินค้าที่มีทินเนอร์ผสมอยู่ด้วยไปใช้สูดดม โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนอันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ สมควรกำหนดสินค้าที่มีทินเนอร์ผสมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก เพื่อควบคุมให้ทำฉลาก โดยระบุคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า "สำหรับส่งออกเท่านั้น" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "For Export Only"
(2) สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิต ผู้ขาย หรือผู้จัดหาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก
ข้อ 3 สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมที่จะนำออกขายต้องจัดให้มีฉลากตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4
ข้อ 4 ฉลากต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ปิดหรือติดไว้ที่ภาชนะบรรจุ และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
(ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นำเข้าและสถานที่ประกอบการผู้นำเข้า
(ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นหรือเป็นสินค้าที่นำเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้านั้นจะต้องส่งสำเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนำสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้วจะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) คำเตือนว่า "อันตรายห้ามสูดดม" และคำเตือนอื่นที่เกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากทินเนอร์ในสินค้านั้น
ข้อ 5 ให้สินค้าที่มีทินเนอร์ผสมที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากขณะนำเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ก่อนที่จะนำออกขาย
ประกาศนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2530
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
--ราชกิจจานุเบกษา--