ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2524)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
______________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องตามมาตรา 43 ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องต้องกระทำสำหรับตนเอง จะอุทธรณ์เพื่อผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้
ข้อ 2 อุทธรณ์ตามข้อ 1 ต้องทำเป็นหนังสือ และมีรายการ ดังต่อไปนี้
(1) วัน เดือน ปี ที่ยื่นอุทธรณ์
(2) ชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์
(3) คำชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายพร้อมทั้งความประสงค์ที่ยกขึ้นอ้างอิงในการอุทธรณ์โดยแจ้งชัด
(4) ลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์
ทั้งนี้ ให้แนบสำเนาคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบอุทธรณ์ ถ้ามี
ข้อ 3 การยื่นอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ได้ ในกรณีที่ส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ถือวันที่ปรากฏในหลักฐานทางไปรษณีย์เป็นวันยื่นอุทธรณ์
ข้อ 4 เมื่อได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายออกใบรับอุทธรณ์ให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ไว้เป็นหลักฐาน อุทธรณ์ที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ออกใบรับอุทธรณ์ให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ในวันยื่นอุทธรณ์ ถ้าได้รับอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้ส่งใบอุทธรณ์ให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ภายในสามวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาโดยเร็ว
ข้อ 5 คณะกรรมการจะพิจารณาอุทธรณ์เอง หรือจะมอบหมายให้คณะอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับอุทธรณ์ก่อนก็ได้
กรรมการหรืออุนกรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในอุทธรณ์เรื่องใด จะเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการก็ได้ แต่จะเข้าร่วมประชุมพิจารณาอุทธรณ์นั้นมิได้
ข้อ 6 คณะอนุกรรมการจะแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ หรือให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่อุทธรณ์ ส่งเอกสารหรือข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์ต่อคณะอนุกรรมการก็ได้ในการนี้จะขอให้บุคคลดังกล่าวมาชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการด้วยก็ได้
ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการที่ได้สั่งตามมาตรา 17 โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการ ให้ถือว่าผู้อุทธรณ์ได้ทิ้งอุทธรณ์
ข้อ 8 ถ้าผู้อุทธรณ์ทิ้งอุทธรณ์หรือถอนอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการจำหน่ายอุทธรณ์นั้นเสีย
ข้อ 9 การอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องในเรื่องใดประเด็นใด ถ้าได้ทิ้งอุทธรณ์หรือถอนอุทธรณ์แล้ว ห้ามอุทธรณ์ซ้ำอีก
ข้อ 10 ในกรณีที่คณะกรรมการมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับอุทธรณ์ตามข้อ 5 คณะอนุกรรมการต้องพิจารณาอุทธรณ์และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์จากคณะกรรมการ แต่ถ้ายังพิจารณาไม่เสร็จ ให้คณะอนุกรรมการขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ได้ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันและให้บันทึกเหตุผลที่จำต้องมีการขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ในแต่ละครั้งไว้ด้วย พร้อมทั้งรายงานให้คณะกรรมการทราบตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ 11 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ได้ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน และให้บันทึกเหตุผลที่จำต้องมีการขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ไว้ด้วย
ข้อ 12 เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วให้มีคำวินิจฉัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ถ้าเห็นว่าอุทธรณ์นั้นยื่นเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 44 วรรคหนึ่งหรือถ้าเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อกฏหมายและเห็นว่าปัญหาข้อกฏหมายนั้นไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย หรือถ้าเรื่องที่อุทธรณ์นั้นมีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว ให้ยกอุทธรณ์
(2) ถ้าเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องถูกต้อง ไม่ว่าโดยเหตุเดียวกันหรือโดยเหตุอื่น ให้มีคำวินิจฉัยยื่นตามคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
(3) ถ้าเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องไม่ถูกต้อง ให้กลับคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง และมีคำวินิจฉัยในปัญหาเหล่านั้นใหม่
(4) ถ้าเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ถูกบางส่วนและผิดบางส่วน ให้แก้คำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง โดยมีคำวินิจฉัยยื่นส่วนที่ถูกและมีคำวินิจฉัยแก้ส่วนผิดนั้นใหม่
ข้อ 13 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามข้อ 12 ให้ทำเป็นหนังสือ ระบุเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยโดยชัดแจ้ง และลงลายมือชื่อกรรมการทุกคนที่ร่วมพิจารณาอุทธรณ์เรื่องนั้น
ข้อ 14 ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสามวันนับแต่วันที่คณะกรรมการมีคำวินิจฉัย
ให้ไว้ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2524
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
--ราชกิจจานุเบกษา--
________________________________________
เหตุผลในการประกาศใช้กฏกระทรวงฉบับนี้คือ เนื่องจากมาตรา 44 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 บัญญัติให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องตามมาตรา 43 โดยกฏกระทรวง จึงจำเป็น ต้องออกกฏกระทรวงนี้
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
______________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องตามมาตรา 43 ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องต้องกระทำสำหรับตนเอง จะอุทธรณ์เพื่อผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้
ข้อ 2 อุทธรณ์ตามข้อ 1 ต้องทำเป็นหนังสือ และมีรายการ ดังต่อไปนี้
(1) วัน เดือน ปี ที่ยื่นอุทธรณ์
(2) ชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์
(3) คำชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายพร้อมทั้งความประสงค์ที่ยกขึ้นอ้างอิงในการอุทธรณ์โดยแจ้งชัด
(4) ลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์
ทั้งนี้ ให้แนบสำเนาคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบอุทธรณ์ ถ้ามี
ข้อ 3 การยื่นอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ได้ ในกรณีที่ส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ถือวันที่ปรากฏในหลักฐานทางไปรษณีย์เป็นวันยื่นอุทธรณ์
ข้อ 4 เมื่อได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายออกใบรับอุทธรณ์ให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ไว้เป็นหลักฐาน อุทธรณ์ที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ออกใบรับอุทธรณ์ให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ในวันยื่นอุทธรณ์ ถ้าได้รับอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้ส่งใบอุทธรณ์ให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ภายในสามวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาโดยเร็ว
ข้อ 5 คณะกรรมการจะพิจารณาอุทธรณ์เอง หรือจะมอบหมายให้คณะอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับอุทธรณ์ก่อนก็ได้
กรรมการหรืออุนกรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในอุทธรณ์เรื่องใด จะเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการก็ได้ แต่จะเข้าร่วมประชุมพิจารณาอุทธรณ์นั้นมิได้
ข้อ 6 คณะอนุกรรมการจะแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ หรือให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่อุทธรณ์ ส่งเอกสารหรือข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์ต่อคณะอนุกรรมการก็ได้ในการนี้จะขอให้บุคคลดังกล่าวมาชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการด้วยก็ได้
ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการที่ได้สั่งตามมาตรา 17 โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการ ให้ถือว่าผู้อุทธรณ์ได้ทิ้งอุทธรณ์
ข้อ 8 ถ้าผู้อุทธรณ์ทิ้งอุทธรณ์หรือถอนอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการจำหน่ายอุทธรณ์นั้นเสีย
ข้อ 9 การอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องในเรื่องใดประเด็นใด ถ้าได้ทิ้งอุทธรณ์หรือถอนอุทธรณ์แล้ว ห้ามอุทธรณ์ซ้ำอีก
ข้อ 10 ในกรณีที่คณะกรรมการมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับอุทธรณ์ตามข้อ 5 คณะอนุกรรมการต้องพิจารณาอุทธรณ์และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์จากคณะกรรมการ แต่ถ้ายังพิจารณาไม่เสร็จ ให้คณะอนุกรรมการขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ได้ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันและให้บันทึกเหตุผลที่จำต้องมีการขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ในแต่ละครั้งไว้ด้วย พร้อมทั้งรายงานให้คณะกรรมการทราบตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ 11 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ได้ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน และให้บันทึกเหตุผลที่จำต้องมีการขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ไว้ด้วย
ข้อ 12 เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วให้มีคำวินิจฉัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ถ้าเห็นว่าอุทธรณ์นั้นยื่นเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 44 วรรคหนึ่งหรือถ้าเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อกฏหมายและเห็นว่าปัญหาข้อกฏหมายนั้นไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย หรือถ้าเรื่องที่อุทธรณ์นั้นมีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว ให้ยกอุทธรณ์
(2) ถ้าเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องถูกต้อง ไม่ว่าโดยเหตุเดียวกันหรือโดยเหตุอื่น ให้มีคำวินิจฉัยยื่นตามคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
(3) ถ้าเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องไม่ถูกต้อง ให้กลับคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง และมีคำวินิจฉัยในปัญหาเหล่านั้นใหม่
(4) ถ้าเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ถูกบางส่วนและผิดบางส่วน ให้แก้คำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง โดยมีคำวินิจฉัยยื่นส่วนที่ถูกและมีคำวินิจฉัยแก้ส่วนผิดนั้นใหม่
ข้อ 13 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามข้อ 12 ให้ทำเป็นหนังสือ ระบุเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยโดยชัดแจ้ง และลงลายมือชื่อกรรมการทุกคนที่ร่วมพิจารณาอุทธรณ์เรื่องนั้น
ข้อ 14 ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสามวันนับแต่วันที่คณะกรรมการมีคำวินิจฉัย
ให้ไว้ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2524
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
--ราชกิจจานุเบกษา--
________________________________________
เหตุผลในการประกาศใช้กฏกระทรวงฉบับนี้คือ เนื่องจากมาตรา 44 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 บัญญัติให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องตามมาตรา 43 โดยกฏกระทรวง จึงจำเป็น ต้องออกกฏกระทรวงนี้